Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

รู้ก่อนเลือกใช้กับประเภทของหลอดไฟภายในบ้าน!

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หลายคนยังไม่รู้ว่ามีการแบ่งประเภทของหลอดไฟไปได้หลากหลายประเภท เพราะว่าหลอดไฟฟ้าสำหรับให้แสงสว่างที่เห็นอย่างชินตานั้นได้ผ่านการพัฒนาอย่างไม่หยุดยิ่งเป็นเวลามากกว่า 100 ปี และเข้ามาส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ทุกคนอย่างปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากหลอดไฟนั้นก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นลองมาดูกันว่าวิวัฒนาการของหลอดนั้นมีที่ที่ไปอย่างไร และในปัจจุบันหลอดไฟมีกี่ประเภท

จุดเริ่มต้นของหลอดไฟ

จากข้อมูลในวิถีพีเดียระบุว่าหลอดไฟถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า เซอร์ โจเซฟ สวอน แต่ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความยุ่งยากในการใช้งาน จนเมื่อ ทอมัส เอดิสัน ได้พัฒนาหลอดไฟแบบได้ไส้ขึ้นมาได้บ้าง และยังพัฒนาระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าทำให้หลอดไฟแบบไส้ของ เอดิสัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในอีก 34 ปีต่อมาได้มีการคิดค้นหลอดนีออนขึ้นมาได้สำเร็จซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาหลอดไฟเลยก็ว่าได้

จุดเริ่มต้น

หลอดไฟมีกี่ประเภท?

หลังจากที่หลอดไฟได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อให้แสงสว่างแทนตะเกียง และประสบความสำเร็จเนื่องจากมีการใช้หลอดไฟแพร่หลายออกไปทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว นับตั้งแต่นั้นมาการพัฒนาของหลอดไฟก็ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการสร้างหลอดไฟประเภทต่างๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้นออกมาตลอดเวลา ทำให้ในปัจจุบันมีหลอดไฟประเภทต่างๆ ด้วยกระบวนการที่ทำให้เกิดแสงสว่างได้ดังนี้

ประเภท

1. หลอดไส้ (Incandescent Lamp)

หลอดไส้ถือว่าเป็นหลอดไฟชนิดแรกของโลกเลยก็ว่าได้ จัดว่าเป็นต้นแบบของงหลอดทุกประเภทที่มีอยู่ในขณะนี้ และหลอดไฟชนิดนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเริ่มเสื่อมความนิยมลงไปเรื่อยๆ ก็ตาม เนื่องจากมีการพัฒนาวัสดุที่นำมาทำไส้ของหลอดไฟอยู่เสมอ เพื่อให้มีการใช้งานได้นานขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้น โดยหลอดไส้นั้นจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือแบบแก้ว และแบบฝ้า

หลักการทำงานของหลอดไส้เพื่อให้เกิดแสงสว่างนั้นก็คือการนำกระแสไฟฟ้าผ่านไปที่ไส้หลอด ทำให้ไส้หลอดเกิดความร้อน และเมื่อไส้หลอดร้อนก็จะเปล่งแสงสว่างออกมานั่นเอง โดยในตัวหลอดไส้นั้นจะบรรจุกาซเฉื่อยเอาไว้เพื่อไม่ให้ไส้ของหลอดไฟสัมผัสกับอากาศ ส่วนข้อเสียของหลอดไส้นั้นคือเป็นหลอดที่มีความร้อนสะสมสูง และเป็นหลอดไฟชนิดที่ไม่ประหยัดไฟมากนัก

 หลอดไส้

2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube)

หรือที่เรียกกันติดปากว่าหลอดนีออน เป็นหลอดไฟประเภทที่ใช้การเรืองแสงในการให้แสงสว่าง โดยมีไส้หลอดที่ทำจากทังแสตนติดไว้ที่ขั้วหลอดทั้ง 2 ข้าง และภายในหลอดฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง และไอปรอท เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วหลอดจะทำให้ไอปรอทนั้นสร้างรังสีอัลตร้าไวโอเลตขึ้นมา และเมื่อรังสีไปกระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบอยู่ก็จะเกิดเป็นแสงสว่างอย่างที่เราเห็นนั่นเอง

กระบวนการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ใช้หลักการเรืองแสงแทนการใช้ความร้อน ทำให้หลอดไฟชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ แต่หลอดฟลูออเรสเซนต์นั้นต้องทำงานร่วมกับบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ เพราะว่าต้องใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงสำหรับการจุดให้หลอดติดในครั้งแรก และยังต้องอุ่นไส้หลอดให้ร้อนอีกด้วย 

 หลอดฟลูออเรสเซนต์

3. หลอดฮาโลเจน (Halogen)

เป็นหลอดไส้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้น โดยภายในตัวหลอดนอกจากจะบรรจุกาซเฉื่อย แล้วยังมีการบรรจุก๊าซฮาโลเจนเข้าไปด้วย ทำให้หลอดไฟชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไส้แบบปกติ แต่สามารถให้แสงสว่างได้มากกว่า และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า 

หลอดฮาโลเจน

4. หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide)

หลอดไฟประเภทนี้เป็นหลอดไฟที่ให้ความเข้มข้นของแสงสูงมาก แต่ตัวของหลอดไฟนั้นมีขนาดเล็ก ซึ่งในตอนแรกเริ่มนั้นถูกผลิตมาเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมีการนำมาใช้งานในที่พักอาศัยมากขึ้น สามารถทำงานได้ภายใต้ความดัน และอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ อีกทั้งยังเป็นหลอดไฟที่ให้แสงได้อย่างเข้มข้นจึงนิยมนำมาใช้เป็นหลอดไฟเพื่อส่องสว่างในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬา พิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงพื้นที่ภายนอกอาคารอีกด้วย 

การทำงานของหลอดหลอดเมทัลฮาไลด์นั้นเกิดจากการที่นำกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังก๊าซต่างๆ ที่บรรจุอยู่ในตัวหลอดไฟ ทำให้เกิดเป็นแสงขึ้นมา แต่ด้วยความหลากหลายของก๊าซที่อยู่ในหลอดทำให้หลอดเมทัลฮาไลด์มีประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานเหนือกว่าหลอดไฟทั่วไป

 หลอดเมทัลฮาไลด์

5. หลอดแสงจันทร์ หรือหลอดไฟไอปรอท (mercury-vapor lamp)

หลอดแสงจันทร์เป็นหลอดไฟรูปแบบหนึ่งที่ทำงานโดยใช้การปล่อยประจุความเข้มข้นสูงออกมาด้วยการใช้ไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปผ่านไอปรอทที่บรรจุอยู่ภายในหลอดไฟเพื่อให้เกิดแสงสว่างนั่นเอง แต่ในปัจจุบันหลอดไฟชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในการใช้งานมากนัก เนื่องจากเป็นหลอดไฟที่มีส่วนผสมของสารปรอทค่อนข้างสูง ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีหลอดไฟชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้งานทดแทนได้นั่นเอง

หลอดแสงจันทร์

6. หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent Lamp)

หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือที่เรียกกันติดปากว่าหลอดตะเกียบนั้น เป็นหลอดไฟที่ถูกพัฒนามาเพื่อทดแทนหลอดไส้ในรูปแบบเดิม ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้ถูกพัฒนาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ประหยัดไฟมากขึ้น และมีสีที่ครบทั้ง 3 โทนสีคือ Warm white, Cool white และ Day light เช่นเดียวกันกับหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบปกติ โดยหลอดตะเกียบนั้นได้รับการพัฒนาจนมีหลากหลายรูปทรง หลากหลายขนาด และมีขั้วหลอดในรูปแบบต่างให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ

  • หลอดแบล็กไลต์ ( black light) 

หลอดแบล็กไลต์เป็นหลอดไฟชนิดพิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างจากหลอดไฟทั่วไป หลอดไฟชนิดนี้จะเปล่งรังสียูวีออกมา โดยแสงที่ออกนั้นจะเป็นสีม่วง ซึ่งหลอดแบล็กไลต์นั้นจะใช้สำหรับการตรวจลายน้ำเพื่อความถูกต้องในเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ถูกพิมพ์ด้วยวิธีการพิเศษจะเห็นได้ต่อเมื่อใช้แสงจากหลอดไฟแบล็คไลต์ส่องนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ธนบัตร หนังสือเดินทาง สมุดธนาคาร บัตรเครดิต ซึ่งนอกจากใช้ในการตรวจเอกสารแล้วยังมีการประยุกต์มาใช้ในการตกแต่งห้องในรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย

  • ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode) 

ไดโอดเปล่งแสงจัดว่าเป็นหลอดไฟขนาดเล็กประเภทหนึ่งที่ส่วนมากจะติดอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าเพื่อแสดงผล หรือแสดงสถานะในการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ โดยไดโอดเปล่งนั้นจะให้แสงสว่างเมื่อมีกระแสฟ้าผ่านมายังขาทั้งสองข้าง ซึ่งไดโอดเปล่งแสงนั้นคือต้นตระกูลของหลอดไฟแบบ LED ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนั่นเอง 

หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์

7. หลอดไฟ LED

หลอดไฟนั้นคือหลอดไฟที่ได้รับการพัฒนามาจากไดโอดเปล่งแสง จนกลายมาเป็นหลอดไฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นประเภทของหลอดไฟที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากหลอดไฟ LED นั้นเป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถดัดแปลงเพื่อนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ มีค่าความสว่างตั้งแต่น้อยมากไปจนถึงสว่างมาก และสามารถเปล่งแสงออกมาได้ทุกสี ทำให้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ และยังเป็นหลอดไฟที่มีอายุการงานยาวนาน กินไฟน้อยมาก

หลอดไฟ LED

จะเห็นได้ว่าประเภทของหลอดไฟต่างๆ นั้นมีความเป็นมาที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการเกิดแสงที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการเลือกซื้อหลอดไฟเพื่อที่จะนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเพื่อให้แสงสว่างภายในบ้าน หรือภายนอกอาคาร ต้องเลือกผลอดไฟให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน รวมไปถึงการติดตั้งหลอดไฟทุกครั้งต้องทำด้วยความระมัดระวังอีกด้วย  

ที่มาภาพประกอบ :

https://www.pfm.in.th

https://www.sangchai.com

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร