HIGHLIGHTS:
มันก็จะแน่นๆ หน่อยอ่ะเนาะ
สวัสดีพนักงานออฟฟิศผู้ใช้เวลาเกือบสามชั่วโมงของทุกวันใช้ชีวิตอยู่ในรถไฟฟ้า พบเจอกับคนแปลกหน้า บางทีก็เจอกันบ่อยจนเริ่มคุ้นตา รถไฟฟ้าที่พวกเราใช้เดินทางกันทุกวันในชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้า (7.30-8.30) เปรียบเสมือน “เครื่องอัดปลากระป๋อง” ให้คุณ “แนบเนื้อ” ไปกับเพื่อนร่วมทางยามเช้าของทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และหนึ่งในปัจจัยที่สามารถทำให้คุณจำเป็นต้องใช้เวลาการเดินทางมากขึ้นก็คือความ “แนบเนื้อ” นี่แหละครับ
ดัชนีความแนบเนื้อ
ด้วยปัจจุบัน จำนวนขบวนรถไฟฟ้าและพื้นที่นั่ง (บางคนอาจเรียกยืน+เบียด) มีพื้นที่จำกัด ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน หลายคนจึงพยายามที่จะเบียดตัวเองเข้าไปเพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา จึงเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า แล้วอะไรล่ะคือ คำจำกัดความว่ารถไฟฟ้าขบวนนี้เต็มแล้ว หรือเต็มแค่ไหน??
เพื่อให้เห็นภาพความแน่นที่เกิดขึ้น Baania จึงคิด “ดัชนีความแนบเนื้อ” ขึ้นมาครับ (อยากทราบที่มาที่ไปเลื่อนไปอ่านเพิ่มเติมได้ท้ายบทความครับ)
ดัชนีความแนบเนื้อนี้จะบ่งบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ ถึงความเบียด ความแนบแน่นที่คุณกำลังจะพบเจอหากขึ้นรถไฟฟ้าขบวนนั้นๆ ในแต่ละสถานีครับ แต่เนื่องด้วยแต่ละสถานีมีปริมาณคนขึ้นและลงจากชานชาลาไม่เท่ากัน จึงทำให้ดัชนีความแนบเนื้อนั่นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในบางสถานี
ระดับความแนบเนื้อ เหมือนเราไปอยู่เอง
แน่นอนว่า หาก คุณเป็นผู้ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ย่อมรับรู้ถึง สภาพการถูกอัดเป็นปลาป๋องทุกวัน แต่ถ้าหากคุณกำลังสนใจที่อยู่อาศัยในย่าน หรือพื้นที่ต่างๆ โดยอ้างอิง หรือหวังว่า จะใช้ประโยชน์จากรถไฟฟ้าแล้ว ทีมงานBaania จึงได้ทำสรุปออกมาให้ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
สำหรับคนกรุงเทพที่ใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำ อาจจะตั้งข้อสังเกตว่ารถไฟฟ้าของบ้านเรายังมีบางสถานีที่มีความแน่นเพียงบริเวณประตูทางเข้า-ออก หากมีวิธีการกระจายผู้โดยสารเข้าส่วนกลางขบวนได้อย่างเป็นระเบียบและรวดเร็ว ก็อาจจะช่วยเพิ่มจำนวนการโดยสารได้มากขึ้นและลดความหนาแน่นลง ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เราจะเห็นได้ในอนาคตครับ
วิเคราะห์ค่าของดัชนีความแนบเนื้อ
สถานีที่มีความแนบเนื้อสูงสามารถบ่งบอกถึงความแอดอัดของพื้นที่แต่ละเขตได้เช่นกัน แม้ในบางที่จะมีการอยู่ใกล้สถานีที่ทำงานของคุณมากกว่า แต่ก็อาจจะแลกมาด้วยความแนบเนื้อในยามเช้าของคุณทุกวัน นอกจากสภาพแวดล้อมตอนเช้าแล้ว การเดินทางในแต่ละที่ย่อมส่งผลให้คุณรอขบวนนานขึ้น และใช้เวลาต่างกัน (ติดตามในบทความถัดไป) สถานีที่มีความแนบเนื้อน้อยนั้นจะแสดงถึงความสะดวกในการใช้รถไฟฟ้า หากคุณต้องการที่จะใช้ในชั่วโมงเร่งด่วนครับ
ที่มาของดัชนีแนบเนื้อ
ความแน่นในระบบขนส่งสาธารณะนั้นมีอยู่ในทุกประเทศ ซึ่งในหลายประเทศได้มีงานวิจัยเพื่อศึกษามากมาย แต่หลักๆ แล้วสามารถแบ่งงานวิจัยได้เป็นสองประเภท คือ การวัดความหนาแน่นตามหลัก objective และ subjective [1] objective จะเป็นการเก็บข้อมูลและประเมินจากปัจจัย เช่น จำนวนคน จำนวนที่นั่ง หรือความจุของรถไฟ เป็นต้น แต่ข้อมูลไม่สามารถสื่อถึงความรู้สึกของผู้ใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นอีกมิติที่มีความสำคัญต่อผู้ใช้ระบบโดยตรง ดังนั้น จึงมีงานวิจัยที่มุ่งเน้นเก็บข้อมูลแบบ subjective ขึ้น [2],[3],[4] เพราะสามารถสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตได้ด้วย (บางเมืองมีการทำแบบสำรวจ เช่น เมือง Melbourne [5])
นี่จึงเป็นที่มาของดัชนีความแนบเนื้อ ที่ Baania ต้องการให้ผู้ใช้ประโยชน์ หรือวางแผนเพื่อใช้รถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปทำงาน ได้เห็นภาพก่อนที่จะมาอยู่จริงครับ
การคำนวณเวลาจากดัชนีความแนบเนื้อ
ปัจจัยหลักที่ผู้คนเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ คือ ระยะเวลาในการเดินทาง, ความน่าเชื่อถือในการเดินทาง, และความหนาแน่นของผู้โดยสาร [6]
หากสถานีไหนมีดัชนีความแนบเนื้อที่สูงระดับ 200% จะทำให้ผู้โดยสารเลือกที่จะหยุดรอขบวนถัดไป เราจึงเลือกอ้างอิงดัชนีความแนบเนื้อจากงานสำรวจของประเทศญี่ปุ่น [7] ที่มีการแสดงถึงลักษณะทางกายภาพที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความแนบเนื้อที่ระดับต่างๆ แต่ทั้งนี้ ทีมงาน Baania ได้มีการปรับค่าลงมาเพื่อให้เหมาะกับลักษณะและพฤติกรรมของผู้ใช้รถไฟฟ้าในบริบทของประเทศไทย [4],[8]
ส่วนอนาคตเราจะมีค่าดัชนีความแนบเนื้อที่แน่นเหมือนประเทศญี่ปุ่น คือสูงสุดในระดับ 250% ต้องมีพนักงานช่วยดันที่ชานชลาหรือไม่ อันนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยอีกหลายๆ ด้านครับ สามารถอ่านเพิ่มเติมงานวิจัยบทนีเพิ่มเติมได้ที่ [8]
อ้างอิง
[5] Canstar Blue. (2017). City Trains Australia | Passenger Reviews - Canstar Blue.
ดาวน์โหลดแผนภาพรถไฟฟ้ารอบกทม. กับดัชนีความแนบเนื้อได้ที่นี่