ตงไม้ เป็นสิ่งหลายท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เมื่อพูดถึงบ้าน งานโครงสร้างถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเสา คาน พื้น และหลังคา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากโครงสร้างไม่ดี บ้านก็จะทรุดตัว เกิดรอยแตกร้าว และพังทลายลงมาในที่สุด ทำให้ผู้ที่พักอาศัยได้รับผลกระทบทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน
ตง หรือไม้คาน คือส่วนประกอบโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นพื้นน้ำหนักเบา เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไม้อัด แผ่นเหล็ก ไม้จริง หรือไม้เทียม แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน ซึ่งทั้งแผ่นพื้น ตงไม้ถูกจัดเป็นระบบพื้นโครงเบาประเภทหนึ่งนั่นเอง
ตงไม้ จะทำหน้าที่รับน้ำหนักพื้น ซึ่งมักจะใช้ไม้ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 - 2 นิ้ว ส่วนความกว้างจะมีหลายขนาดตั้งแต่ 4, 6, 8, 10 และ 12 นิ้ว โดยขนาดที่นิยม คือ 2 X 6 นิ้ว, 2/2 X 6 นิ้ว, 2 X 8 นิ้ว หรือประมาณ 0.5 เมตร แนวในการวางจะวางตั้ง โดยวางตามความยาวของไม้พื้นเข้ากับไม้ตง โดยมีหลายลักษณะ ทั้งการวางชิดธรรมดา วางเว้นช่อง วางเข้าลิ้น หรือวางบังใบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงความเหมาะสมจากช่างผู้ดำเนินงาน หรือวิศวกร
มาต่อกันที่วัสดุสำหรับทำตงไม้ อาทิเช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้พื้นสังเคราะห์ หรือไม้เบญจพรรณ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ผลัดใบ ที่มีทั้งไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็ง แต่สำหรับไม้ที่นำมาทำตงไม้นั้น ต้องมีการพิจารณาถึงคุณสมบัติอื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งเรื่องการผ่านมาตรฐานรับรองคุณภาพสำหรับอาคารไม้ รูปทรงไม่บิดงอ หรือต้องมีข้อบกพร่องของเนื้อไม้ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด และมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อให้วัสดุที่นำมาใช้นั้นมีประสิทธิภาพที่ดี และมีคุณภาพนั่นเอง
หัวข้อถัดมา คือ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง นั้นประกอบด้วย เครื่องเจียร ค้อนยาง เกรียงหวี ไขควง ตลับเมตร สีโป๊ว โพลียูรีเทนชีลเลนท์ สกรู และไม้พื้น ถัดมาในส่วนของการติดตั้งโครงสร้างพื้นไม้เข้ากับตง นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดระยะ โครงตงเข้ากับพื้นไม้ ถ้าหน้า 4 นิ้ว ให้มีระยะห่าง 25 เซนติเมตร ส่วนไม้พื้นที่หน้า 6, 8, 10 หรือ 12 นิ้ว ให้ใช้ระยะห่าง 30 เซนติเมตร
กรณีเป็นโครงสร้างเหล็ก ให้ยิงยึดด้วยสกรูปลายสว่าน ปีกผีเสื้อ
กรณีเป็นโครงสร้างไม้ ให้ยิงด้วยสกรูปลายแหลม ยาวอย่างน้อย 1.5 นิ้ว
2. การยิงยึดสกรู ควรยิงห่างจากขอบแผ่นไม้ อย่างน้อย 2 เซนติเมตร ยิง 1 จุดสำหรับไม้หน้า 4 นิ้ว สำหรับหน้าไม้ 6, 8, 10 หรือ 12 นิ้ว ควรยิงยึด 2 จุดทุก ๆ ระยะโครงตง
3. บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น ให้วางคู่ตงเพื่อรองรับปลายไม้แต่ละด้าน แล้วลงยาแนวรอยต่อด้วยโพลียูรีเทนชีลแลนท์ เก็บหัวตะปูด้วยสีโป๊ว และสีอะคริลิก ทาทับด้วยสีทาไม้สังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติสำหรับงานพื้นโดยเฉพาะ
4. การติดตั้ง ควรติดตั้งพื้นตามแนวยาวก่อน เพื่อความสะดวกในการต่อ หรือปรับระดับหัวไม้พื้นให้เท่ากัน
5. กรณีไม้พื้นไม่เสมอ ให้เสริมด้วยเศษวัสดุ รองด้านใต้เพื่อปรับระดับ แต่หากไม้นูนสูงให้ทำการใช้กบไสไม้ให้เสมอ ตามด้วยการขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ได้พื้นที่เสมอ
สำหรับการยิงสกรู ควรยิงให้จมเสมอกับผิวไม้ หรือจมต่ำกว่า 1-2 มิลลิเมตร เพื่อให้ได้งานที่ดูละเอียด และเรียบร้อย
6 สิ่งที่ต้องระวังกับการใช้งานไม้ตง เพื่อช่วยให้พื้นบ้านดูดี และไม่มีปัญหาตามมาภายหลังติดตั้งแล้วเสร็จ เริ่มกันที่
เคล็ดลับเกี่ยวกับการทาสีย้อมไม้ เพื่อช่วยในการป้องกันไม้จากฝน ความชื้น และ UV จากแสงแดด เพื่อยืดอายุของสีไม้ ควรปฏิบัติคำแนะนำของบริษัทผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้อง และปลอดภัย
จบลงไปแล้ว กับ ตงไม้ วัสดุโครงพื้นที่หลายท่านเกิดข้อสงสัยว่าคืออะไร และมีส่วนสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับงานพื้น ตอนนี้ ทุกท่านคงได้คำตอบกันไปแล้ว ทั้งความหมาย การใช้งาน ประเภทวัสดุ ตลอดจนข้อควรระวัง เพื่อให้ท่านได้นำไปปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนก่อสร้างพื้นบ้าน หรือพูดคุยตกลงกับผู้รับเหมาได้อย่างเข้าใจ และตรงจุด Baania หวังว่าบทความนี้ จะถูกใจทั้งเหล่าบรรดานักตกแต่งบ้าน รวมถึงผู้ที่สนใจ หรือกำลังมองหาไอเดียเกี่ยวกับบ้าน