หลังจากไทยเปิดประเทศแล้ว หลายคนคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว แต่ก็ยังอยู่ในสภาวะเปราะบาง ไม่มีความแน่นอน สถาบันการเงินก็ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ แล้วจะทำอย่างไรดีให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินต่อไปได้
ธปท. หรือธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกมาตรการปลดล็อกมาตรการ LTV เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้วยอสังหาริมทรัพย์ แล้วการคลายล็อก LTV แบบนี้จะดีจริงไหม ช่วยเศรษฐกิจได้จริงหรือเปล่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับหน้าที่หลักให้คนไทยมีบ้านตอบรับมาตรการนี้อย่างไร ผมรวบรวมข้อมูลมาบอกเล่ากันครับ
การผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. ในครั้งนี้ เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวถึงสิ้นปี 65 หรือ 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้นนะครับ สามารถสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ครับ
ในปี พ.ศ.2562 ธปท. ได้ประกาศใช้มาตรการ LTV (Loan-to-value) หรือมาตรการกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ป้องการเก็งกำไร ป้องกันการเกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ทำให้คนที่จะขอสินเชื่อบ้านหลังที่ 2 หรือบ้านเกิน 10 ล้านขึ้นไปจะต้องวางดาวน์ขั้นต่ำ 70-90%
แต่เมื่อทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ระบาด นอกจากด้านสาธารณสุขจะได้รับผลกระทบหนัก สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงไทยก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นเดียวกัน แม้ตอนนี้ไทยจะเริ่มเปิดประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในภาวะเปราะบาง จึงได้คลายล็อกมาตรการ LTV เพื่อให้ผู้ที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์สัญญากู้หลังที่ 2 รวมถึงบ้านที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปสามารถกู้ได้เต็ม 100% ของราคาหลักประกัน โดยสามารถวางเงินดาวน์ได้ต่ำสุด 0%
มาตรการคลายล็อคล็อก LTV นี้ใช้ได้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (สินเชื่อ Top-up), สินเชื่อรีไฟแนนซ์กับทั้ง สง. และ SFIs หรือโครงการรวมหนี้ (debt consolidation) เพื่อเสริมสภาพคล่องด้วยนะครับ
การคลายล็อก LTV นี้ไม่ใช่การยกเลิกมาตรการ แต่เป็นการคลายล็อกชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้นครับ
อีกเรื่องสำคัญก็คือการคลายล็อกมาตรการ LTV ชั่วคราวนี้ จะไม่มีผลย้อนหลังกับผู้กู้ที่ทำสินเชื่อไปแล้วนะครับ จะมีผลต่อผู้ที่ขอกู้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้นครับ
ธปท. คาดว่าการปลดล็อก LTV นี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญและมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสองเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5.6 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 5-7% ของการคาดการณ์มูลค่าการโอนที่อยู่อาศัยในปี 2564 ที่ 8 แสนล้านบาท ซึ่งยอดนี้ยังไม่รวมการซื้อที่อยู่อาศัยด้วยเงินสดด้วยนะครับ นอกจากนี้คาดว่าจะช่วยลดความเสี่ยงให้บริษัทต่างๆ และการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ได้บ้างไม่มากก็น้อย
สำหรับคนที่จะได้รับผลดีเต็มๆ จากการคลายล็อก LTV ชั่วคราว มี 4 กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน
1. คนที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้กู้ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ตั้งแต่สัญญาที่ 2 ขึ้นไป
2. คนที่ต้องการกู้ร่วม ทั้งคนกู้ร่วมที่กำลังผ่อนบ้านเดิมอยู่ และต้องการได้บ้านหลังใหม่ รวมถึงคนที่กำลังตัดสินใจจะกู้ร่วม
3. คนที่จะซื้อบ้านราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เพราะสามารถกู้ได้ 100% จากเมื่อก่อนตอนมาตรการ LTV ที่จะต้องวางดาวน์ขั้นต่ำ 10% ของมูลค่าหลักประกัน
4. คนที่จะขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์, สินเชื่อ Top-up หรือผู้กู้ที่เข้าร่วมโครงการรวมหนี้ (debt consolidation)
โอกาสดี ๆ มาถึงแบบนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ผู้รับหน้าที่ทำให้คนไทยมีบ้านในฝัน จึงไม่พลาดตอบรับมาตรการปลดล็อก LTV จัดโปรโมชันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแบบเต็ม 100%* มาให้ เท่านั้นไม่พอยังมีโปรฯ สินเชื่อบ้านอีกเพียบ
1. อนุมัติไว
2. วงเงินสูง
3. เงินงวดผ่อนชำระต่ำ
4. ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี
เรียกได้ว่า ธอส. เขาจัดเต็มโปรฯ สินเชื่อบ้าน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ที่สำคัญช่วยให้คนที่อยากมีบ้านให้ได้มีบ้านได้สมดังใจมากขึ้นอีกด้วย ใครที่สนใจขอสินเชื่อบ้านของ ธอส. คลิก แต่หากใครมีข้อสงสัยหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ นะครับ
การปลดล็อก LTV ชั่วคราว ถือเป็นโอกาสทองของคนที่อยากขยายพื้นที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านที่มีอยู่เล็กไป คอนโดที่อยู่พื้นที่ไม่พอ ถึงเวลาซื้อบ้านหลังที่สองขยับขยายตอบโจทย์ Next Normal หรือใครที่อยากจะซื้อบ้าน ซื้อคอนโดราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป รวมถึงคนที่จะกู้ร่วม หรือรีไฟแนนซ์ด้วย ใครที่สนใจจะขอสินเชื่อในช่วงนี้ อย่าลืมติดต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์นะครับ เพราะกู้เต็ม วงเงินสูง อนุมัติไว ผ่อนน้อย และผ่อนนาน
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ขอบคุณข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย