ปัญหาพื้นแตก ถือเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับคนมีบ้าน หรือ ตัวอาคาร สถานที่ ที่ได้ปรับแต่งพื้นที่ด้วยการเทปูนทำพื้น และทุกครั้งเมื่อมีปัญหา พื้นแตก มักมีปัญหาอื่นค่อยคืบคลานตามมา ถ้าไม่รีบทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จากปัญหาเล็กน้อยในตอนแรก อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังขนาดใหญ่ในภายหลังได้ ดังนั้น การซ่อมพื้นแตก หรือ รอยร้าวคอนกรีต ที่ตรวจพบ จึงเป็นความจำเป็นเร่งด้วยที่ต้องแก้ไข และซ่อมแซมโดยเร็ว
ปัญหาพื้นแตก สามารถทำการซ่อมแซมแก้ไขได้ด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบ การเตรียมอุปกรณ์ ขั้นตอนการซ่อมแซมแก้ไข ทั้งในส่วนของพื้นคอนกรีต และการซ่อมพื้นปูนขัดมัน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาช่าง เป็นการลดเวลาการมองหาช่าง การประหยัดค่าใช้จ่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เทคนิคงานช่างปูนเบื้องต้น ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อน สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและปฏิบัติได้เอง ก่อนที่ปัญหาพื้นแตกจะลุกลามมากไปกว่านี้
ข้อมูลเบื้องต้นที่ถือเป็นข้อมูลสำคัญก่อนการทำการซ่อมแซมพื้นแตกร้าว รวมไปถึงการซ่อมรอยร้าวคอนกรีตที่ตรวจพบบนอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงการซ่อมพื้นปูนขัดมัน นั่นคือ การมองหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการแตกตัวของชิ้นงานปูน จนกลายเป็นปัญหาพื้นแตกร้าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพโครงสร้างของตัวอาคาร รวมไปถึงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้พักอาศัยที่อาจไปเดินสะดุด หรือ ล้มลงไปในพื้นที่ปูนแตกร้าว เกิดอาการบาดเจ็บต่อร่างกายได้
สาเหตุที่พบเป็นประจำที่ก่อให้เกิดปัญหาพื้นแตก รวมไปถึง รอยร้าวคอนกรีต ตามตัวอาคารหรือฝาผนัง มักเกิดจากสาเหตุหลักอยู่ 2 ประการ ดังต่อไปนี้
ถือเป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาในงานปูนทุกชนิด ความชื้นสะสมในชิ้นงานปูน ก่อให้เกิดปัญหาการขยับตัว เลื่อนตัว และการขยายหรือหดตัวของเนื้อปูน หรือ ซีเมนต์ ส่งผลต่อแบบงานที่ใช้วางเพื่อหล่อพื้นปูน เมื่อแบบเกิดการขยับเนื่องจากการขยายตัวของปูน ทำให้เกิดภาวะ พื้นแตกได้ง่าย โดยทั่วไป ช่างผู้ชำนาญงานจะทำการตรวจสภาพพื้นที่และแบบสำหรับการหล่อก่อนการเริ่มงานทุกครั้ง แต่ถึงกระนั้น ความชื้นที่ทำให้พื้นปูนแตก มักเป็นปัญหาหลักที่พบเป็นประจำเสมอ
ปัญหาหดหรือยุบตัวของปูนซีเมนต์ที่ก่อให้เกิดปัญหาพื้นแตกตามมา โดยส่วนใหญ่เกิดจากการผสมปูนที่เหลวจนเกินไป เมื่อทำการเทแล้ว ส่วนผสมที่หนักกว่า เช่น ทราย หรือ กรวด จะตกตะกอนลงไปด้านล่าง เกิดภาวะทางช่างที่เรียกว่า “ปูนเปรี้ยว” ทำให้พื้นที่ผิวหน้ามีเนื้อปูนมากเกินไปจนเกิดอาการแตกของพื้นปูนขึ้นมา รวมไปถึง พื้นปูนขัดมันก็มีปัญหาในรูปแบบนี้เช่นกัน
แม้ว่าในทางช่างปัญหาพื้นแตกบางครั้งไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างของตัวอาคารหรือพื้นที่เทปูนทำพื้น แต่ความสวยงาม เรียบร้อยของเนื้องานถูกลดทอนลงจากรอยแตกเหล่านี้ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นหน้างานระหว่างการควบคุมการก่อสร้าง ก็สามารถแจ้งให้ช่างทำการแก้ไขได้ แต่ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นหลังจากผ่านการรับงานไปแล้ว ปัญหาพื้นปูนแตกร้าวเหล่านี้ สามารถทำการแก้ไขได้เอง โดยสามารถแบ่งรูปแบบการซ่อมแซมพื้นแตก ออกเป็นสองส่วนคือซ่อม รอยร้าวคอนกรีต และซ่อมพื้นปูนขัดมัน
พื้นคอนกรีตที่เกิดการแตก หรือมีรอยร้าวในจุดต่าง ๆ สามารถทำการซ่อมแซมได้โดยมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้
ให้ตรวจสอบรอยแตกของเนื้องานทั้งความกว้าง ความลึกของแผลพื้นแตก เพื่อประเมินว่าจะต้องใช้วัสดุในการซ่อมแซมรูปแบบใด โดยส่วนใหญ่มักใช้น้ำยาประสาน หรือปูนผสมสำเร็จในการซ่อมแซมพื้นผิวที่เกิดอาการแตก
โดยการทำความสะอาดให้พื้นที่ซ่อมแซมปลอดจากวัสดุต่าง ๆ ที่จะทำให้ปูนขยายตัวและทำให้เกิดการขยับตัวจนพื้นแตกอีกครั้ง อาทิ หิน ทราย หรือ วัสดุขนาดเล็กอื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อการยึดเกาะของปูน จัดการเซาะร่อง เตรียมพื้นที่ให้รองรับปูนสำหรับการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
โดยปูนที่นำมาใช้เพื่องานแก้ไขพื้นแตก ต้องมีความเหลวพอสมควรเพื่อแทรกซึมเข้าไปได้ทุกจุดของชิ้นงาน หรือเพื่อความสะดวก สามารถใช้ปูนผสมสำเร็จ น้ำยาหยอดรอยร้าวประเภท Self Levering อัดเข้าไปตามร่องที่แตกจนเต็ม แล้วทำการฉาบ เก็บงานให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการแก้ไขพื้นแตกด้วยตัวเอง
สำหรับการซ่อมพื้นปูนขัดมัน ในกรณีเกิดปัญหาหาแตกร้าวของพื้นผิว อาจดูเหมือนเป็นงานที่ยากกว่าการซ่อมแซมพื้นผิวที่แตกร้าวทั่วไป เนื่องจากเกรงว่าเมื่อซ่อมแล้วจะเกิดเป็นรอยด่างของพื้นผิวจากการใช้วัสดุที่ไม่เหมือนกัน และไม่ชำนาญหรือทราบเทคนิคการขัดมันเพื่อให้พื้นผิวเรียบเสมอกันดังเดิม ทาง Baania จึงมีวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถ ซ่อมพื้นปูนขัดมัน ให้กลับมาสวยงามดังเดิม โดยมีขั้นตอนการแก้ไขเนื้องานดังนี้
การตรวจสอบเนื้องานและการเตรียมพื้นที่สำหรับการเทปูนเพื่อการแก้ไข ให้ทำในรูปแบบเดียวกับการเตรียมการเพื่อการซ่อมพื้นปูนแตกทั่วไป ทั้งการทำความสะอาด การเซาะร่อง เพื่อให้เนื้อปูนยึดเข้ากับชิ้นงานได้ดี
ที่มาในรูปแบบของน้ำยาหยอดรอยร้าว เพราะมีความสะดวกในการหยอดและทำความสะอาด ไม่ทิ้งคราบบนเนื้องานมากจนแก้ไขลำบาก หยอดลงพื้นที่รอยแตกบนพื้นปูนขัดมันให้เต็มพื้นที่
ตรวจสอบการยุบตัวของเนื้อปูน และทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบโดยใช้เกรียงและฟองน้ำเช็ดคราบปูนที่เลาะออกมาจากรอยแตกจนมองดูชิ้นงานเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ปูนยาแนวเก็บงาน แล้วทำการขัดน้ำด้วยฟองน้ำให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้ งานพื้นปูนขัดที่ได้รับการซ่อมแซมก็กลายเป็นเนื้องานชิ้นเดียวกันกับงานเดิมก่อนหน้า
สำหรับการแก้ไขปัญหาพื้นแตก รอยร้าวคอนกรีต รวมไปถึงการซ่อมพื้นปูนขัดมัน ต้องมีอุปกรณ์ประจำในการทำงานดังนี้
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการแก้ไขปัญหาพื้นแตก คือ ความชื้นของปูนที่ใช้แก้ไขงาน ควรเน้นประเภทปูนที่มีความแห้งเร็ว เพราะสามารถตรวจสอบความเรียบร้อยของงานได้ไว สามารถแก้ปัญหาหรือเพิ่มเนื้อปูนได้ทันท่วงที อีกทั้งส่วนผสมของปูนต้องเรียบลื่นแทรกซึมเข้าพื้นผิวได้ดี เพราะการมีโพรงอากาศในชิ้นงาน จะทำให้เกิดปัญหารอยแตกใหม่ตามมาอีกได้
การซ่อมแซมพื้นแตก รอยร้าวคอนกรีต รวมไปถึงการ ซ่อมพื้นปูนขัดมัน ไม่ได้เป็นงานที่ยากเกินไป สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ต้องพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำงาน โดยเฉพาะ การแต่งพื้นที่รับปูนหล่อที่ต้องเรียบเนียน ไร้ซึ่งวัสดุใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการแตกรอบใหม่ รวมไปถึงปูนที่ใช้ที่สามารถเซ็ตตัวได้อย่างรวดเร็ว เพียงเท่านี้ ไม่ว่าจะพบเจอพื้นแตกครั้งไหน ๆ ก็สามารถรับมือได้ตลอดเวลา