ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง แต่มุ้งลวดก็ยังเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ควรมีติดไว้ทุกบ้าน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ขนาดเล็กอย่าง ยุง หนู แมลงสาบ หรืองู เข้ามาย่างกรายบ้านของเราแล้ว ยังช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศขั้นต้นที่มุ้งลวด เมื่อเราปิดบานหน้าต่างหรือปิดบานประตูด้านใน ฝุ่นก็จะยังคงกักอยู่นอกหน้าต่างและประตู ไม่เข้ามาก่อกวนและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้รวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจ
มุ้งลวดยังเป็นตัวกรองแสงแดดก่อนเข้าสู่ตัวบ้านชั้นดี จากแดดจัด ๆ ให้ดูอ่อนลงได้ ไม่จ้าจนเกินไป ทำให้บ้านร้อนน้อยลงอีกด้วย มุ้งลวดที่มีคุณประโยชน์มากขนาดนี้ แต่ครั้นมาถึงตอนที่จะหามุ้งลวดที่เก็บไว้มาใช้ หรือเหลือบไปเห็นว่ามุ้งลวดของบ้านท่านอยู่ในสภาพแย่ที่ขาดเป็นรูโบ๋ แถมยังมีฝุ่นละอองที่เกาะมุ้งลวดเต็มไปหมด จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะลุกขึ้นมาทำความสะอาดและซ่อมมุ้งลวดแบบง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องตามช่าง
มุ้งลวดมีหลากหลายแบบให้เลือกซื้อ ซึ่งแต่ละแบบก็มีประสิทธิภาพและความทนทานในระดับที่แตกต่างกัน อีกทั้งราคาก็ยังไม่เท่ากัน เราจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดก่อน เพื่อให้ได้วัสดุที่มีความเหมาะสมตามสภาพการใช้งานมากที่สุด โดยมีวัสดุชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เวลาขึงจะเรียบตรึง แข็งแรง เงางาม มีความดึงตัวสูง และอากาศถ่ายเทได้ดี ข้อเสียเวลาขาด อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ถ้าเกิดใช้กับบ้านพักอาศัยที่อยู่ติดกับทะเล อายุการใช้งานมักจะสั้นลง เพราะตัวมุ้งลวดอะลูมิเนียมจะเกิดการผุกร่อนจากไอเกลือ ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีเพื่อป้องกันการเกิดสนิมโลหะ มุ้งลวดแบบอะลูมิเนียม จึงเหมาะกับบ้านที่พักอาศัยอยู่ในตัวเมืองมากกว่า และถ้าไม่หมั่นล้างทำความสะอาดก็จะกรอบแข็งและหมดอายุการใช้งานเร็ว
มีหลากหลายขนาดจึงทำให้เหมาะในการนำไปใช้กับบานประตูหรือหน้าต่างมากกว่ามุ้งลวดประเภทอื่น มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ ลดปัญหาการสะท้อนแสงและการเกิดสนิท ลดการผุกร่อนได้ดีกว่ามุ้งลวดแบบอะลูมิเนียม เนื้อสัมผัสไม่มีความคมก่อให้เกิดการระคายผิว จึงเหมาะสำหรับกับบ้านพักอาศัยที่อยู่ติดกับทะเล แต่มีข้อเสียคือ เมื่อสัมผัสจะมีความอ่อนนุ่ม เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะฉีกขาดง่ายกว่ามุ้งลวดแบบอะลูมิเนียม หรือถ้าโดนแรงกระแทกจังๆ ก็อาจเสียรูปทรงในการใช้งานไป
จากวัสดุพลาสติก ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวมุ้งลวดด้วยการเติมสารป้องกันรังสี Ultraviolet หรือรังสี UV เพื่อช่วยป้องกันความร้อนให้ดีขึ้น ประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศได้ดี
เรียออีกอย่างว่ามุ้งใยสังเคราะห์ มีความดึงตัวสูง เนื้อพลาสติกมีความทนทาน แต่มีข้อเสียคือ หนา ไม่โปร่ง จึงทำให้ถ่ายเทอากาศได้ไม่สะดวกมากนัก วิสัยทัศน์ในการมองก็ค่อนข้างต่ำ ไม่สบายตา ฉะนั้นจึงไม่เหมาะกับการมาติดบานหน้าต่าง
ส่วนสีของมุ้งลวด มีทั้งสีขาว สีดำ และสีอื่น ๆ ซึ่งมุ้งลวดสีขาวนั้นจะกระจายแสงได้ตลอดทั้งผืน จึงทำให้ดูมัว ๆ เสียทัศนียภาพในการมองเห็น มองทะลุได้ไม่ชัด ส่วนมุ้งลวดสีดำนั้นมีคุณสมบัติช่วยให้แสงลอดทะลุผ่านได้ดีกว่ามุ้งลวดสีขาวและดูสกปรกน้อยกว่านั่นเอง
ก่อนลงมือซ่อมมุ้งลวด สิ่งที่จะต้องเริ่มต้นก่อนเป็นลำดับแรก ๆ เลยก็คือขั้นตอนของการเตรียมอุปกรณ์ในการซ่อมมุ้งลวด โดยอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้น ก็สามารถหาได้ใกล้ตัวของท่าน หรืออุปกรณ์บางชิ้นก็อาจจะต้องซื้อเพิ่มเติม ซึ่งก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุทั่วไป แต่ขอแนะนำว่าให้ท่านเลือกซื้อวัสดุที่มีคุณภาพ และได้รับการรับรองมาตรฐานเท่านั้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาว โดยมีวัสดุที่จำเป็นต้องใช้งานดังต่อไปนี้
1. ลูกกลิ้งสำหรับอัดยางมุ้งลวด
2. กรรไกร หรือมีดคัตเตอร์
3. ไขควงปากแบน
4. ค้อนยาง
5. มุ้งลวด
6. ขอบยาง
7. เทปกาวซ่อมมุ้งลวด
1. เริ่มต้นด้วยการรื้อมุงเดิมออกมา แล้วใช้ไขควงปากแบน แงะขอบเส้นยางเก่าที่กดมุ้งลวด ดึงออกให้หมดทั้ง 4 ด้านจากนั้นนำแผ่นมุ้งลวดเก่าออกมา
2. ปัดฝุ่นทำความสะอาดตามขอบร่องต่าง ๆ แล้วตัดมุ้งลวดใหม่ให้มีขนาดใกล้เคียงกับตัวบาน ซึ่งวัดขนาดมุ้งลวดใหม่อย่างง่าย ๆ ด้วยการทาบไปบนกรอบของบานที่มีอยู่โดยกะขนาด ให้เผื่อขอบทั้ง 4 ด้าน เหลือไว้ประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว
3. ใช้ที่รีดขอบยางกดมุ้งลวด หรือลูกกลิ้งสำหรับอัดยางกลิ้งไปตามมุ้งลวด กดให้มุ้งลวดสนิทกับขอบบานทั้ง 4 ด้าน จากนั้นใส่ยางลงบนขอบบานมุ้งลวด และใช้ลูกกลิ้งรีดขอบยาง ค่อย ๆ กดลงไปให้แน่นอีกครั้ง หรืออาจจะใช้ค้อนยาง กดย้ำให้ขอบยาง ติดสนิทกับมุ้งลวดและขอบบานก็ได้
4. ตัดและตกแต่งขอบมุ้งลวดที่เหลือออกทิ้งให้เรียบร้อย ด้วยมีดคัตเตอร์ หรือกรรไกรเป็นอันเสร็จสิ้น
วิธีซ่อมมุ้งลวด แบบรูรั่วขนาดเล็ก หรือบริเวณที่ขาดเป็นแนวยาว หรือขอบที่ติดกับกรอบ
1. นำเทปกาวซ่อมมุ้งลวด ที่มีคุณสมบัติ ซ่อมมุ้งลวดโดยเฉพาะ ให้ลองวัดตำแหน่งของความยาว แล้วใช้กรรไกรตัด
2. เมื่อได้ขนาดเทปกาวซ่อมมุ้งลวดที่มีขนาดใหญ่กว่ารูที่ขาดแล้ว ให้ลอกฟิล์มกาวออก แล้วนำไปติดลงบริเวณที่ขาดเป็นรูได้เลย
3. นำค้อนยางค่อย ๆ กดด้านหลังของมุ้งลวด เพื่อให้เทปกาวยึดติดกับมุ้งลวดให้แนบสนิท
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการซ่อมมุ้งลวดแบบง่าย ๆ ที่เราเองก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องง้อช่าง แค่ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไปไม่กี่อย่าง เพียงเท่านี้มุ้งลวดของเราก็ฟื้นคืนชีพมาทำหน้าที่ป้องกันสัตว์ขนาดเล็กได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง และจะช่วยป้องกัน สะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้านได้ แต่ถ้าหากในอนาคตมีเหตุให้มุ้งลวดต้องขาดอีกครั้ง ไม่ว่าจะเหตุใดก็ตาม ก็อย่าลืมใช้เทคนิคเหล่านี้ในการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ต้องตามช่างให้วุ่นวายกันอีกต่อไป