ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป การให้เช่าที่อยู่อาศัย ก็จะกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกควบคุมสัญญา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 โดยภาครัฐให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการปกป้องผู้เช่าที่อยู่อาศัยจากเงื่อนไขสัญญาเช่าที่ไม่เป็นธรรม
กฎหมายใหม่นี้ ออกมาเพื่อใช้บังคับกับธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยที่มีจำนวนห้องให้เช่าตั้งแต่ 5 ห้องขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ห้องพัก บ้าน คอนโดฯ และอพาร์ตเม้นต์ หรือที่พักอาศัยรูปแบบอื่นๆ แต่ยกเว้น หอพัก และโรงแรม เนื่องจากอสังหาฯ ให้เช่า สองประเภทหลังนี้ มีกฎหมายควบคุมเฉพาะของตัวเองอยู่แล้ว
ข้อกำหนดที่เข้มงวด ตามประกาศฉบับใหม่นี้ นอกจากจะส่งผลให้ความเสี่ยงในฝั่งผู้ให้เช่าเพิ่มขึ้นทันที ยังกระทบถึงรายได้และผลตอบแทนในการลงทุนให้ลดน้อยถอยลงอีกด้วย จนแทบพูดได้ว่า ต่อจากนี้ไป คนที่เป็น “แลนด์ลอร์ด (Landlord)” จะไม่ใช่เสือนอนกินอีกต่อไปแล้ว สำหรับการคุมเข้มสัญญาเช่า ในส่วนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อนักลงทุนหรือผู้ให้เช่า และ กำลังเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีอยู่ 6 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้
แต่ตามประกาศควบคุมสัญญาฉบับใหม่ กำหนดไว้ว่า สัญญาเช่า จะเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่าหนึ่งเดือนไม่ได้ เช่นเดียวกับเงินประกัน ก็จะเรียกเกินกว่าค่าเช่าหนึ่งเดือนไม่ได้เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องคืนเงินประกันที่ได้รับจากผู้เช่าทันที กรณีต้องตรวจสอบความเสียหาย จะต้องคืนเงินประกันภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาเช่าอาคารสิ้นสุด
ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ชัดว่า เงื่อนไขการทำสัญญาใหม่นี้ นอกจากเป็นการบั่นทอนรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าให้ลดน้อยถอยลงแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ให้เช่ามีข้อจำกัดในการใช้สัญญาควบคุมและบริหารความเสี่ยง พูดง่ายๆ ก็คือการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า นับจากนี้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นกว่าเดิมมาก และบริหารยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีเจอผู้เช่าไม่ดี หรือผู้เช่าหัวหมอขึ้นมา
สำหรับทางออกแบบกำปั้นทุบดินเบื้องต้น ง่ายสุดก็คือให้เลี่ยงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่าไม่เกิน 5 หน่วยแทน เพื่อจะได้ไม่เข้าข่ายถูกควบคุมสัญญาตามกฎหมายฉบับนี้
ส่วนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า ขนาดกลาง และรายใหญ่ ที่ไม่อาจเลี่ยงถูกควบคุมสัญญาเช่าจากกฎหมายฉบับนี้ได้ วิธีบริหารจัดการที่พึงต้องให้ความสำคัญพิเศษเป็นลำดับต้นๆ ก็คือ การคัดกรองผู้เช่าอย่างระมัดระวัง ก่อนทำสัญญาเช่า ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเยียวยาปัญหา และความเสี่ยงลงได้ทางหนึ่ง
เขียนโดย: อนุชา กุลวิสุทธิ์
กูรูด้านการเงินและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาอิสระ วิทยากรและอาจารย์พิเศษ
มีพ็อกเก็ตบุ๊คด้านการเงิน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์