กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด ห้องครัวก็เปรียบเสมือนท้องประจำบ้านฉันนั้น หากห้องครัวมีการจัดวาง Layout ห้องครัว หรือการวางแปลนห้องครัว ย่อมทำให้สมาชิกภายในบ้านอิ่มหนำสำราญ เมื่อท้องอิ่ม สมองปลอดโปร่ง กายใจย่อมมีพลัง
ตำแหน่งสำคัญในการวาง Layout ห้องครัว 3 จุดแรกที่ควรนำมาพิจารณา ได้แก่ ตู้เย็น, อ่างล้างจาน และเตาแก๊ส เนื่องจาก 3 ส่วนนี้ เปรียบเสมือนลำดับขั้นตอนในการเก็บ, เตรียมและปรุงอาหาร ให้จัดวางให้เป็น "สามเหลี่ยม" โดยมีผู้ใช้งานอยู่ตรงกลาง ความยาวรอบเส้นสามเหลี่ยมที่เหมาะสมอยู่ที่ 3.6-7 ม. จะทำให้มีระยะช่องว่างทางเดินพอเหมาะ
สำหรับครัวขนาดเล็กที่มีพื้นที่จำกัด ใช้งาน 1-2 คน จัดวางตำแหน่งให้อยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งอ่างล้างจาน, เตาแก๊ส, ตู้เย็น เรียงจากซ้ายไปขวา
ควรเผื่อระยะสำหรับเปิดตู้ลิ้นชัก >1.20 ม. เวลาก้มหยิบของจะได้สะดวก ช่องเปิดควรอยู่ที่อ่างล้างจาน ส่วนพื้นที่อีกฝั่งสำหรับเตรียมอาหารและวางเครื่องปรุง
เป็นครัวที่มีพื้นที่ใช้งานมากที่สุด และตรงกับหลักสามเหลี่ยมมากที่สุด โดยเตาแก๊ส, ตู้เย็น และอ่างล้างจานจะอยู่คนละฝั่ง แต่ก็ไม่ควรให้แต่ละจุดห่างกันเกินไป
ต่อเนื่องจากครัวรูปตัวยู ใช้งานคล้ายคลึงกัน โดยเพิ่มเคาน์เตอร์กลางห้องสำหรับรับประทานอาหารเล็กๆ น้อยๆ หรือใช้เป็นมินิบาร์ขนาด 2-4 ที่นั่ง
เป็นครัวที่เน้นความสะดวกสบาย พื้นที่กว้างขวาง และกระจายตัว มีพื้นที่ทำครัวส่วนตัวโดยไม่ถูกรบกวนจากการสัญจรไปมา พื้นที่ยืดหยุ่นกับอุปกรณ์เครื่องครัวได้มาก
นอกจากตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ใช้งานที่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทำให้เกิด Work Flow ที่เหมาะสมแล้ว ต้องไม่ลืมเรื่องระยะห่างระหว่างส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ระยะห่างระหว่างเตาแก๊สกับที่ดูดควัน หรือฝ้า ต้องมีระยะพอเหมาะ ไม่ใกล้เกินไปจะเป็นอันตรายจากความร้อนหรือเปลวไฟ
หลายกรณีที่เราจะรู้สึกเมื่อยเวลานั่งที่โต๊ะและเก้าอี้นอกบ้าน สาเหตุมาจากสัดส่วนร่างกายของเราไม่เหมาะกับเฟอร์นิเจอร์ตัวนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนสูง ระยะต้นขา พนักพิงหลัง เนื่องจากผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่อ้างอิงสัดส่วนร่างกายจากมาตรฐานสากล โดยมากจะเป็นข้อมูลจากฝั่งยุโรปและอเมริกา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยร่างกายใหญ่โตกว่าคนฝั่งเอเชีย และอย่าลืมลบขอบมุมชั้น และเคาน์เตอร์ เพื่อลดการบาดเจ็บจากการชน หรือโขกขอบมุมต่างๆ ทั้งยังสะดวก ปลอดภัยขณะใช้งานอีกด้วยครับ
หวังว่าแนวทางการจัดวาง Layout ห้องครัว เหล่านี้จะทำให้คุณผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้กับครัวที่บ้านกันได้นะครับ หากลองทำแล้วอย่าลืมมาแชร์กันว่าทำแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
เขียนโดย: ตุลย์ เล็กอุทัย / Tul Lekutai
สถาปนิก, Life&Design คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์, ศิลปินนักวาดบทสนทนาเป็นภาพ (Graphic Recorder), ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Deco Moda Studio, กรรมการบริหาร (IFVP) International Forum of Visual Practitioners ประเทศสหรัฐอเมริกา, อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ก่อตั้ง "แซงซ้าย" Graphic Recording Team