เทคนิคการสร้างบ้านยุคใหม่ แทบทั้งหมดเน้นการสร้างในรูปแบบของการก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากความแข็งแรงทนทานในการก่อสร้าง งานก่ออิฐฉาบปูน จำเป็นต้องมีทักษะในการทำงานที่เชี่ยวชาญ มิฉะนั้นแล้ว แทนที่จะได้โครงสร้างของบ้านหรือตัวอาคารที่แข็งแกร่ง กลับกลายเป็นมีปัญหาที่ต้องคอยตามแก้ตลอด วิธีการก่ออิฐ ผสมปูน ก่อ และฉาบ จึงต้องผสานกันได้อย่างลงตัว วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่าผนังอิฐเหมาะกับงานแบบไหน มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้ในการก่ออิฐด้วย
การก่อผนังอิฐ เป็นงานสำคัญในส่วนของงานโครงสร้าง หลังจากการเทพื้นขึ้นเสา การก่ออิฐ คือการสร้างบ้านหรือตัวอาคาร ตามรูปแบบที่วาดไว้ ด้วยการอาศัยการขึ้นรูปด้วยการก่ออิฐ โดยหลักแล้ว ผนังอิฐเหมาะสำหรับการก่อสร้างกำแพง ก่อสร้างกำแพงห้อง รวมไปถึงการก่อเพื่อการตกแต่งผนังห้องให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม แม้งานอิฐ ถือเป็นงานพื้นฐานของการก่อโครงสร้าง แต่ยังสามารถเพิ่มเติมลูกเล่นต่างๆ เข้าไปในชิ้นงาน
แต่ถึงกระนั้น วิธีการก่ออิฐ ยังคงเป็นหัวใจหลักของการทำงาน ทั้งในเรื่องของการเลือกอิฐ และการผสมปูนเพื่อก่ออิฐ ที่ต้องผสานกันได้อย่างลงตัว
โครงสร้างสำหรับงานก่ออิฐ เริ่มต้นจากอิฐก้อนเล็ก ๆ การให้ความใส่ใจต่อคุณภาพของอิฐ รวมไปถึง คุณสมบัติของอิฐประเภทต่าง ๆ มีผลต่อโครงสร้าง และคุณภาพของตัวอาคาร เพราะอิฐแต่ละแบบมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างกันไป ในงานก่อสร้าง ได้มีการแบ่งอิฐออกเป็นสองประเภทจากวัสดุที่นำมาทำเป็นอิฐ ดังนี้
นับว่าเป็นอิฐที่คุ้นเคยกันมากที่สุด มีขนาดโดยทั่วไปประมาณ สูง 2.5-6 ซม. * กว้าง 5-6.5 ซม. * ยาว 14-16 ซม. ลักษณะของอิฐมอญ เป็นอฺบที่ทำจากดินเหนียวผสมทรายและแกลบ เผาให้สุก จนได้เป็นก้อนอิฐสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะ มีทั้งอิฐมอญแบบตัน มักทำเป็นแผ่นใหญ่ สำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานอาคาร และอิฐขนาด 2 รู หรือ 4 รู มีไว้เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการถ่ายน้ำหนัก อิฐมอญเหมาะสำหรับการทำผนังกำแพงภายนอกบ้าน หรือ พื้นที่ต้องการทำหน้าต่าง ประตู และพื้นที่ต่อเติมต่างๆ เพราะตัดตกแต่งได้ง่าย
อิฐขนาดใหญ่ สีเทา มักมีผิวสัมผัสที่ขรุขระ ทำจากซีเมนต์ บางครั้งจึงเรียกว่าคอนกรีตบล็อก มีขนาดโดยทั่วไปประมาณ สูง 19 ซม. * กว้าง 6.5-19 ซม. * ยาว 30-39 ซม. การผลิตส่วนมากมาจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีขนาดเบา ระบายความร้อนได้ดี แต่เก็บกักความชื้นได้ง่าย รับน้ำหนักสำหรับการแขวนได้ไม่มาก นิยมใช้อิฐบล็อกสำหรับงานก่อสร้างผนังอาคารที่ต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง และระบายความร้อนได้ดี
เมื่อรู้จักอิฐในรูปแบบต่างๆ แล้ว สิ่งสำคัญในลำดับถัดมาคือ ตัวประสานอิฐ หรือในภาษาช่างเรียกขั้นตอนนี้ว่า การก่ออิฐ ซึ่งตัวประสานอิฐในอดีต มักใช้การก่ออิฐ ขึ้นรูปจนเสร็จแล้วเผาให้ประสานกัน แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อและเชื่อมอิฐให้ติดกันเป็นผนัง และในขั้นตอนนี้ เมื่อทำการก่ออิฐจนเป็นผนังอาคารเรียบร้อยแล้ว มักทำการฉาบปิดทับอิฐอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อก่ออาคารด้วยอิฐบล็อค ส่วนอิฐมอญจะฉาบปิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการออกแบบตัวอาคาร
การผสมปูนสำหรับก่ออิฐ โดยทั่วไปจะผสมในอัตราส่วน ปูน 1 ส่วน ต่อ ทรายหยาบ 3 ส่วน ผสมกันน้ำให้มีความข้นหนืด ไม่เหลวจนเกินไป ตรวจดูได้ ถ้าปูนสามารถปั้นเป็นตัวไม่เละไหล หรือ หลุดร่วนสามารถนำไปก่ออิฐได้ โดยทั่วไปในการก่ออิฐ ผนังอิฐ หรือ ชิ้นงานจะใช้เวลาเซตตัวประมาณ 1-2 วัน และการผสมปูนเพื่อประสานอิฐสูตรนี้สามารถใช้ได้ทั้งงานก่อที่ทำจากอิฐมอญ และอิฐบล็อก
สำหรับวิธีการก่ออิฐนั้น ถือเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ควรทำความเข้าใจไว้ แม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือทำหน้าที่เป็นช่างก่ออิฐก็ตาม แต่เมื่อใดที่ท่านซื้อบ้าน ความมีความรู้เกี่ยวกับการก่ออิฐ เพื่อจะช่วยในการตรวจสอบบ้านว่าสร้างตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ งานก่ออิฐที่ออกมานั้นเรียบร้อยมากน้อยเพียงใด หรือมีจุดใดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม วิธีการก่ออิฐที่ถูกต้องพร้อมเทคนิค มีรูปแบบการทำงาน ดังนี้
สำหรับวิธีก่ออิฐในส่วนของอิฐบล็อก นิยมใช้ทำกำแพง หรือ ฝาผนังเป็นหลัก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ด้านในกลวง แตกหักได้ง่าย ไม่เหมาะในการสร้างเพื่อการแขวนวัสดุสิ่งของเพื่อรับน้ำหนัก การก่อและการวางตัว มักเน้นการก่อสร้างให้มั่นคง มีการก่อในแบบสลับบ้าง แต่ไม่ค่อยมีลูกเล่น หรือก่อเพื่อเป็นลวดลาย หลักจากการก่ออิฐบล็อคในชั้นนี้ มักฉาบปูนทับอีกชั้นเพื่อความสวยงาม สำหรับการก่อในพื้นที่หนึ่งตารางเมตรจะใช้อิฐบล็อกประมาณ 12.5 ก้อน
ในการก่อสร้างประเภทงานก่ออิฐ ควรพิจารณาอิฐและรูปแบบการก่อสร้างให้ชัดเจน จึงจะสามารรถเลือกใช้อิฐตามรูปแบบการทำงานที่เหมาะสม สร้างชิ้นงานที่สวยงาม สะดุดตา เป็นที่ประทับใจของเจ้าของบ้าน การก่ออิฐมี วิธีการก่ออิฐ การเลือกใช้รูปแบบของอิฐในการก่อสร้าง ทั้ง อิฐมอญ อิฐบล็อก หรือ อิฐคอนกรีต รวมไปถึงส่วนผสมเพื่อการก่ออิฐให้คงตัว ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อช่างและเจ้าของบ้านในการรับและตรวจงานอาคารของตนเอง