Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วิธีคำนวณภาระหนี้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

คนที่วางแผนจะกู้เงินซื้อบ้านเรื่องภาระหนี้สิน เป็นเรื่องที่ต้องระวัง หากเรามีภาระหนี้มากเกินไป โอกาสในการกู้ผ่านก็จะยากมากขึ้น เรามาดูกันครับว่า ภาระหนี้สินที่ปลอดภัย โอกาสกู้ผ่านได้อย่างสบายๆ คือเท่าไร แล้วจะต้องคำนวณอย่างไรบ้าง

DSR คืออะไร

หากเราจะต้องคำนวณภาระหนี้ด้วยตัวเอง เราจะต้องมาทำความรู้จักกับ DSR กันก่อนครับ โดย DSR มาจาก Debt Service Ratio หมายถึง อัตราส่วนเงินสำหรับใช้ผ่อนชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าสุขภาพการเงินที่ดี DSR ต้องไม่ควรเกิน 40%

วิธีคำนวณภาระหนี้

ในส่วนวิธีการคำนวณภาระหนี้นั้นจะใช้สูตรการคำนวณ  DSR = ( ภาระหนี้ต่อเดือน ÷ รายได้ต่อเดือน ) x 100

ตัวอย่างเช่น

นายปลอดหนี้ เป็นพนักงานประจำมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท มีภาระผ่อนรถเดือนละ 8,500 บาท เมื่อมาลองคำนวณภาระหนี้แล้วก็จะได้ดังนี้ (8,500  ÷ 50,000) x 100 = 17 ซึ่งหมายความว่านายปลอดหนี้มีภาระหนี้อยู่ที่ 17% นั่นเองครับ

ภาระหนี้เท่าไร ถึงจะเรียกสุขภาพการเงินดี

ที่จริงต้องบอกว่าการไม่มีหนี้เลยจะเป็นการดีที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องมีหนี้ล่ะ มีหนี้เท่าไหนที่จะไม่รบกวนชีวิต หรือมีหนี้เท่าไรถึงจะไม่ถูกธนาคารหรือสถาบันการเกินมองว่าภาระหนี้ของเรามากเกินไป จนอาจอนุมัติไม่ผ่านได้ โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยแนะนำไว้ว่า

  • DSR น้อยกว่า 15% = มีหนี้อยู่ในเกณฑ์ “ดี”
  • DSR ระหว่าง 15% - 40% = มีหนี้อยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสม”
  • DSR ระหว่าง 40% - 50% = หนี้เกินตัว
  • DSR มากกว่า 50% = หนี้เกินตัวขั้นอันตราย

ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารหรือสถาบันการเงินจะอนุมัติเงินกู้โดยพิจารณาส่วนหนค่งจากค่า DSR ซึ่งไม่ควรเกิน 40% ครับ ฉะนั้นใครที่คำนวณแล้วเห็นว่าภาระหนี้ของเราเกินแนะนำให้ทำการโปะหนี้ให้ได้มากที่สุดก่อนการยื่นกู้ทั้งหมดนะครับ เพื่อให้ค่า DSR ต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้นอีกด้วย

คำนวณภาระหนี้

ส่วนใครที่ไม่อยากคำนวณเงินกู้เอง หรือคำนวณภาระหนี้ที่มีว่าธนาคารจะให้กู้เท่าไร ก็สามารถมาใช้ระบบคำนวณสินเชื่อและดอกเบี้ยของ baania ได้นะครับ คลิกที่นี่เลย

ขอบคุณข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร