ใครรู้จักสถาปัตยกรรมสีเขียวบ้าง ยกมือขึ้นหน่อยคร้าบ!!! แต่ถ้าบ้านคุณทาสีเขียวทั้งหลังอย่ายกมือนะครับ เพราะนั่นไม่ใช่สถาปัตยกรรมสีเขียว ฮ่าๆ เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะขอแบ่งปันข้อมูลว่า สถาปัตยกรรมสีเขียวคืออะไร ดีต่อโลกอย่างไร และทำไมเราถึงควรมีสถาปัตยกรรมสีเขียวกันเยอะๆ
ที่มาของรูป : http://www.volano.com.vn/router_eng/leed-226.html
หรือที่เรียกง่ายๆว่า อาคารเขียว ตามนิยามของมาตรฐานอเมริกาที่เรียกว่า Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) หมายถึง อาคารที่มีความรับผิดชอบในการรักษา สิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดวงจรอายุอาคาร ซึ่งเค้ากำหนด เกณฑ์ต่างๆ ไว้ดังนี้
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มงงๆ ก็เป็นเรื่องปกตินะครับ เพราะเกณฑ์ต่างๆที่ว่ามาถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบให้กับสถาปนิกและวิศวกร เอาเป็นว่าผมจะอธิบายให้พวกเราเข้าใจง่ายๆ โดยการยกตัวอย่าง บ้านเรือนไทยสมัยก่อนดีกว่าครับ
บ้านเรือนไทยในสมัยก่อนออกแบบและก่อสร้างโดยให้ความสำคัญกับวัสดุที่นำมาใช้ คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ลม การถ่ายเทอากาศ ทำให้คนสมัยก่อนสามารถอยู่บ้านได้โดยไม่ต้องใช้พลังงาน มาก ไม่มีแอร์ ไม่มีพัดลม ก็สามารถอยู่ได้ ไม่ร้อน บ้านเรือนไทยเป็นตัวอย่างของอาคารพื้นถิ่นที่ออกแบบให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไป ทำให้บ้านเรือนไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ รูปแบบของอาคารก็เปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีการบริโภค มีการใช้พลังงานมากขึ้น อาคารเขียวก็คือการนำหลักการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสอดคล้องกับสภาพอากาศ ความสบาย และการใช้พลังงานจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้กับอาคารในยุคนี้นั่นเองครับ*
ที่มาของรูป https://goo.gl/0pB3Pp
แล้วอาคารเขียวดีต่อโลกอย่างไรล่ะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่าโลกเรากำลังประสบปัญหาใหญ่ คือ สภาวะ โลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งก็มากจากมนุษย์เรานี่แหละที่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ตัดไม้ทำลายป่า และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นมนุษย์ก็ควรรับผิดชอบด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดี ใช้พลังงานอย่างเหมาะสม และพัฒนาพลังงานทางเลือกให้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ ในส่วนของอาคารเขียว หาก มีการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวในโลกมากยิ่งขึ้นเท่าใด เราก็จะช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมของโลกได้ มากขึ้นเท่านั้น เพราะเราคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างเหมาะสม การใช้วัสดุที่คิดมาเพื่อโลก และอื่นๆตามเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นนี้ คือสาเหตุว่าทำไมเราควรมีอาคารเขียวเกิดขึ้นในโลกให้มากขึ้นไงล่ะครับพี่น้อง
ที่มาของรูป : http://credit-help.biz/insurance/8695
มีคนเคยถามผมบ่อยๆว่า แล้วอาคารเขียวแพงไหม เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจบ้านเราที่เจริญฮวบๆ ไหม 555 เจริญยังไง เจริญฮวบๆ ผมก็บอกตามตรงนะครับว่าถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่ ก็ต้องลงทุนสูง กว่าค่าก่อสร้างปรกติแน่นอน เพราะมีเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มากเกี่ยวข้องมากมาย อย่างไรก็ตามหากไม่ใช่ อาคารหรือโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้นว่าบ้านพักอาศัยของเราๆท่านๆ ผมบอกได้เลยว่าไม่ได้แพงกว่าเลย เพราะวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ต่างพากันผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกมาขายกันมากมาย ตั้งแต่งาน ฐานราก งานโครงสร้าง งานผนัง ฝ้าเพดาน วัสดุปูพื้น สี หลังคา และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งสำคัญอยู่ที่เราใน ฐานะผู้บริโภคจะรู้หรือไม่ว่าอาคารเขียวสามารถช่วยโลกได้ และหากรู้แล้ว เราอยากสนับสนุนการออกแบบและ ก่อสร้างอาคารเขียวให้มากขึ้นหรือไม่
ตอนเด็กๆผมเคยดูการ์ตูนซุปเปอร์แมน และฝันว่าอยากเป็นฮีโร่ช่วยโลกแบบนั้น ผมคิดว่าพวกเรา หลายๆคนก็คงเคยคิดเช่นกัน วันนี้พวกเราสามารถเป็นฮีโร่ช่วยโลก (ร้อน) ได้ด้วยการสนับสนุนให้เกิดอาคาร เขียวมากขึ้น เท่านี้ความฝันในวัยเยาว์ของพวกเราก็เป็นจริงได้แล้วครับ
*ข้อมูลบางส่วน อ้างอิงจากบทความที่เขียนโดย
ผศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
...........................................................
บทความแนะนำ
เขียนโดย: ปวรรธน์ ตันตยานุสรณ์
จบการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ รังสิต ปริญญาโทสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นสถาปนิก บจก.นิวัตร อาร์คิเทค มีผลงานที่โดดเด่น อาทิ เซ็นทารา คุ้มพญา รีสอร์ต แอนด์ สปา เชียงใหม่, ยางคำวิลเลจ , คชสีห์ธานี , อีโค่ รีสอร์ต , มารดาดี เฮอริเทจ ริเวอร์ วิลเลจ เป็นต้น สำหรับมุมมองในวิชาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่สร้างฝันของลูกค้าให้เป็นจริงขณะเดียวกันสถาปนิกควรสอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้าไปในผลงานที่ออกแบบด้วย เพื่อให้งานออกแบบยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน ยกระดับจิตใจให้เกิดความสงบสุข รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป
Contact Info:
www.niwatarchitects.com
www.facebook.com/Niwatarchitects