หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าผู้จัดการมรดก บางคนอาจจะเข้าใจความหมาย หรือไม่เข้าใจความหมายก็ดี แต่ผู้จัดการมรดกนั้นถือว่าเป็นคนสำคัญที่จะช่วยจัดการเรื่องต่างๆ ภายหลังจากที่เกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักภายในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อผู้ล่วงลับนั้นไม่ได้จัดการสิ่งต่างๆ ไว้ให้ผู้ที่ยังอยู่ สำหรับบทความนี้จะมาอธิบายถึงความสำคัญของผู้จัดการมรดกว่ามีความจำเป็นอย่างไร ทำไมถึงต้องมีผู้จัดการมรดก และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกสามารถทำได้อย่างไร
ความหมายของคำว่ามรดกนั้นไม่ได้หมายถึงทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่า ซึ่งผู้ตายเหลือไว้ให้ทายาทเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงความรับผิดชอบต่างๆ ที่ผู้ตายได้ทำขึ้นก่อนเสียชีวิตอีกด้วย ซึ่งความรับผิดชอบนั้นยังหมายถึง หนี้สิน ภาระผู้พันทางการเงินต่างๆ ที่ยังคงมีผลอยู่เนื่องจากผู้ตายยังไม่ได้จัดการให้หมดสิ้นก่อนที่จะเสียชีวิตนั่นเอง นั่นหมายความว่ามรดกนั้นคือทุกสิ่งของผู้ตายไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือหนี้สินนั่นเอง
ตามกฎหมายของประเทศไทยนั้นทายาทโดยชอบธรรมตามกฎหมายจะมีด้วยกัน 6 ลำดับ โดยความสำคัญของทายาทก็จะเรียกลำดับดังนี้ (1) ผู้สืบสันดาน หรือบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม. (2) บิดา - มารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา
ในส่วนของสามีภรรยานั้นต้องเป็นการจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเป็นผู้รับมรดก โดยมีลำดับเท่ากับทายาทโดยธรรมอย่างเช่นบุตรตามกฎหมายนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีทายาทโดยพินัยกรรม นั่นคือเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกนั้นโดยที่ผู้ตายได้กำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งทายาทโดยพินัยกรรมจะเป็นผู้ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรม
ผู้จัดการมรดกนั้นมีความหมายตรงตามชื่อเรียก คือผู้ที่มีอำนาจในการจัดการกับมรดกต่างๆ ที่ผู้เสียชีวิตมีอยู่ก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งมรดกนั้นๆ ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือมอบให้กับทายาท ทำให้การจัดการทรัพย์สิน หรือการโอนกรรมสิทธิ์ต่างๆ ต้องทำโดยผู้จัดการมรดก ซึ่งการโอนทรัพย์สินต่างๆ ให้กับทายาทนั้นผู้จัดการมรดกจะดำเนินการตามพินัยกรรมของผู้เสียชีวิต หรือดำเนินการตามความถูกต้อง และเหมาะสมในด้านต่างๆ นั่นเอง
นอกจากจัดการแบ่ง และโอนทรัพย์สินต่างๆ ให้กับทายาทแล้ว ผู้จัดการมรดกยังต้องเป็นผู้ที่จัดการกับหนี้สิน หรือภาระผูกพันทางการเงินต่างๆ ของผู้เสียชีวิตให้เรียบร้อยอีกด้วย ซึ่งหนี้สินนั้นผู้จัดการมรดกจะชำระให้หมดในทันทีโดยใช้เงินมรดกที่มีอยู่ หรือมอบให้ทายาทเป็นผู้รับช่วงต่อหนี้สินก็ได้ ส่วนหนี้สินที่มีผู้อื่นติดค้างผู้เสียชีวิตนั้นผู้จัดการมรดกก็ต้องเป็นคนจัดการให้หนี้สินเหล่านั้นได้รับการชำระคืนมาอย่างต่อเนื่อง หรือโอนลูกหนี้นั้นไปให้แก่ทายาท
การที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นต้องถูกแต่งตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมของผู้เสียชีวิต ที่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งการเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะเป็นทายาท หรือไม่ได้เป็นก็ได้ แล้วแต่เจตจำนงของผู้เสียชีวิต โดยที่ทายาทจะเป็นผู้ร้องต่อศาลขอให้บุคคลตามที่ผู้เสียชีวิตระบุไว้ในพินัยกรรมได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ในบางกรณีถ้าศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่ออยู่ในพินัยกรรมไม่มีความเหมาะสม และมีผู้ยื่นคัดค้าน ศาลอาจจะแต่งตั้งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกแทนก็ได้
ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ได้มีการระบุตัวผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม ทางทายาทจะเป็นผู้ยื่นเรื่องขอให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเห็นว่าเหมาะสมขึ้นเป็นผู้จัดการมรดกได้ ซึ่งอาจจะเป็นตัวทายาทเอง หรือบุคคลอื่นๆ ซึ่งศาลจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องความถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่ออยู่ในพินัยกรรมไม่มีความเหมาะสม และมีผู้ยื่นคัดค้าน ศาลอาจจะแต่งตั้งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกแทนก็ได้
ขั้นตอนในการแต่ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวพันกับกฎหมายโดยตรง และเมื่อมีผู้จัดการมรดกแล้วจะช่วยให้การจัดการมรดกต่างๆ ของผู้ตายทำได้อย่างสะดวกขึ้นนั่นเอง ซึ่งขั้นตอนในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมีดังนี้
หน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามองกว้างๆ ก็คือมีหน้าที่จัดการมรดกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือหนี้สินให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกมากพอสมควร ซึ่งหน้าที่ต่างๆ ของผู้จัดการมรดกมีดังนี้
การที่ผู้จัดการมรดกนั้นจะสิ้นสุดหน้าที่ลงได้ต่อเมื่อเป็นไปเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าผู้จัดการมรดกนั้นเป็นหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญมากในการจัดการทรัพย์มรดกต่างๆ ให้เรียบร้อยตามเจตนาของผู้เสียชีวิต เพราะในการแบ่งทรัพย์สินนั้นผู้จัดการมรดกจะมีอำนาจในนิติกรรมต่างๆ ได้เสมือนผู้ตายได้ทำด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการลงนามโอนทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นชื่อของผู้ตาย รวมไปถึงการจัดการกับบัญชีเงินฝาก กองทุน พันธบัตร ของผู้ตาย ซึ่งถ้าไม่มีผู้จัดการมรดกทรัพย์สินเหล่านี้จะไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้เลย