หากเรากำลังจะนอนหรือพักผ่อนยามค่ำ แต่ดันมีเสียงก่อกวนยามวิกาล ไม่ว่าจะก่อสร้าง ต่อเติม หรือเพื่อนบ้านจัดปาร์ตี้กัน พวกเขาทำได้จริงหรือไม่ ต้องมีใบอนุญาตหรือเปล่า และเราจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อเรียกความสงบกลับคืน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเสียงและแสงในการก่อสร้าง มีดังนี้
ฉะนั้นหากเราเจอเสียงดังจากการก่อสร้าง ต่อเติม หรือรื้อถอนหลัง 4 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้า หรือมีเสียงก่อสร้างดังมากเกิน 75 เดซิเบล ทั้งๆที่เราอยู่ห่างเกิน 30 เมตรไปแล้ว เราควรแจ้งปัญหาเหล่านี้ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง นั่นก็คือ
1. แจ้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของบ้าน, วิศวกรควบคุมงาน หรือสถาปนิกควบคุมงาน
2. แจ้งความเดือนร้อนได้ที่หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเขต, อบต. จังหวัด หรืออำเภอ
3.แจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ เพื่อบังคับให้ผู้ก่อสร้างชดใช้ค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370, 371 หรือฟ้องแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
4. ร้องทุกข์ต่อสภาวิศกร สภาสถาปนิก หรือสมาคมช่างเหมา เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากเสียงก่อสร้างแล้ว เสียงดังรบกวนยามดึกที่เราเจอกันบ่อยๆ ก็คือเสียงดังมาจากเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะปาร์ตี้ ร้องเสียงดัง หรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นความผิดตามกฎหมายได้
1. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ผู้ที่ส่งเสียงดังอันไม่มีเหตุอันสมควรและทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และตามมาตรา 371 หากเป็นการส่งเสียงดังที่คุกคามต่อคนจำนวนมาก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421 ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในด้านชีวิต ร่ายกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการที่เพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนนั้นนั้น ถือว่าส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและละเมิดสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างสงบ ซึ่งหากมีการฟ้องศาล ศาลสามารถออกคำสั่งให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมเสียงดังได้ และเพื่อนบ้านที่ทำเสียงดัง จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหายอีกด้วย
แต่ถ้าหากไม่อยากให้เรื่องใหญ่โต Baania มีวิธีมาแนะนำให้ลองทำตามดูกันครับ
1. ป้องกันเสียงด้วยการพึ่งตัวเอง เช่น ใส่หูฟัง เปิดเพลงทุดโปรดกลบเสียง ใส่ที่อุดหู รูดผ้าม่านปิดเข้ามา ปิดหน้าต่างหรือบานเกล็ด หาซื้อแผ่นซับเสียงมาปิด เป็นต้น
2. ลองพูดคุยกันดีๆ ลองตั้งสติทำใจร่มๆ แล้วลองไปพูดคุยกับเพื่อนบ้านดูว่าจะหาจุดกึ่งกลางของเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง
3. ลองแจ้งนิติบุคคลของโครงการ ให้ช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ให้
4. ถ้าทั้ง 3 ขั้นตอนที่ผ่านมาไม่ได้ผล ก็แนะนำให้แจ้งตำรวจ หรือผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงฟ้องศาล เพื่อใช้กฎหมายเข้าช่วย
เป็นอย่างไรบ้างครับกับการแก้ปัญหาเสียงดังก่อกวนชวนรำคาญใจยามวิกาลที่หลายคนต้องเจอ ลองนำความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และวิธีการแก้ปัญหานี้ไปลองปรับใช้กันดูนะครับ
ขอบคุณข้อมูล :
https://www.moj.go.th/view/75639
https://www.jorakay.co.th/blog/owner/other/next-door-to-increase-the-noise-illegal-or-not