HIGHLIGHTS:
ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของประชาชน เป็นหนึ่งในสิ่งที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยให้ความใส่ใจและพยายามแก้ไขมาโดยตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองเคหสถาน กรมประชาสงเคราะห์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 ตามด้วย สำนักงานอาคารสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2493) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2496) และสำนักงานปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมเทศบาลนครกรุงเทพ (ปี พ.ศ. 2503) เพื่อรับมือกับปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเวลานั้น
จนกระทั่งในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) รัฐบาลจึงมีการกำหนดนโยบายให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่อยู่อาศัยและได้จัดตั้ง “การเคหะแห่งชาติ (กคช.)” ขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 โดยมีวัตุประสงค์เพื่อจัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กคช. ได้มีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย – ถึงปานกลาง ออกมามากมาย จากผลสำรวจของ กคช. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทั่วประเทศ 533 โครงการ 313,549 ยูนิต และยังมียูนิตเหลือขาย 22,344 ยูนิต ซึ่งในปัจจุบัน โครงการที่เรารู้จักกันดีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านเอื้ออาทร
โครงการบ้านเอื้ออาทรคือ โครงการที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและอยู่ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม พร้อมทั้งมีระดับราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถรับภาระการผ่อนชำระได้ โดยในปี พ.ศ. 2546 กคช. เริ่มพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 329 โครงการ 280,790 ยูนิต ปัจจุบันมีเหลือขายเพียง 12,210 ยูนิต หรือ 4.3% จะเห็นได้ว่ากว่า 80% ของยูนิตที่เหลือขายของโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นคอนโดมิเนียม
พื้นที่ของยูนิตเหลือขายของโครงการบ้านเอื้ออาทร
โครงการบ้านเคหะประชารัฐ
บ้านเคหะประชารัฐคือ โครงการซึ่งรัฐบาลได้ปล่อยสินเชื่อวงเงิน 70,000 บาทให้กับผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนเพื่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย 30,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย ขณะที่อีก 40,000 ล้านบาทจะเป็นสินเชื่อสำหรับประชาชนซึ่งยื่นกู้ผ่าน ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน แห่งละ 20,000 ล้านบาท มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 2 ปี
ทั้งนี้โครงการบ้านเคหะประชารัฐจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยไม่จำกัดว่าเป็นที่อยู่อาศัยประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ หรือทรัพย์รอการขาย (NPA) จากทั้งสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกรมบังคับคดี อีกทั้งสร้างสามารถเป็นโครงการของเอกชน หรือบ้านที่สร้างบนที่ดินตนเอง หรือที่ดินของรัฐก็ได้ เพียงแต่ต้องมีราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท
ปัจจุบัน โครงการที่เข้าร่วมบ้านเคหะประชารัฐมีทั้งหมด 204 โครงการ 32,759 ยูนิต ซึ่งคงเหลือ 10,134 ยูนิต คิดเป็น 31% โดยสามารถแยกออกตามช่วงราคาได้ดังนี้
พื้นที่ของยูนิตที่เหลือขายในโครงการบ้านเคหะประชารัฐนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑลถึง 49% สำหรับในส่วนของภูมิภาค แยกเป็น ภาคอีสาน 14% ภาคกลาง11% ภาคตะวันออก 10% ภาคใต้ 10% และภาคเหนือ 6%
สำหรับผู้ที่สนใจบ้านและคอนโดมิเนียมที่พัฒนาโดยการคหะแห่งชาติ เขาเปิดจองบ้านเอื้ออาทรและบ้านประชารัญแล้วครับ โดยสามารถจองได้ที่สำนักงานใหญ่ของการเคหะฯ หรือ สำนักงานขายที่มีโครงการตั้งอยู่ และศูนย์ขาย 12 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น.
นอกจากนี้ยังสามารถจองผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ http://house.nha.co.th ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถนำใบจองและบาร์โค้ดไปชำระเงินได้ที่สำนักงานใหญ่ การเคหะฯ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ โดยจะต้องดำเนินการชำระเงินภายใน 7 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิ์ทันที เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้าระบบมาจองได้ใหม่
เพื่อความแน่ใจ เราแนะนำให้ผู้ต้องการซื้อบ้านเอื้ออาทรหรือบ้านประชารัฐ ตรวจคุณสมบัติและเอกสารที่ต้องใช้จองก่อน ดังนี้
คุณสมบัติของผู้จอง
สิทธิพิเศษของผู้จองบ้านเคหะประชารัฐ
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
นอกจากนี้ หากจองบ้านประชารัฐหรือบ้านเอื้ออาทรแล้ว แต่ขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่าน ยังสามารถขอเงินจองคืนได้ในภายหลัง โดยติดต่อที่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานของการเคหะฯ ทั่วประเทศ