ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีอากาศค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี และมีพันธุ์ไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับการสร้างบ้านอยู่มากมาย บ้านไม้เรือนไทย จึงเป็นสิ่งที่นิยมปลูกสร้างมาแต่โบราณกาล ซึ่งโครงสร้างบ้านไม้ จะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิปัญญาและสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
บทความนี้จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบหลักของเรือนไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น เฉพาะตัว แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคของประเทศ
เรือนไทยแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค แต่เรือนไทยทั้ง 4 ภาค มีลักษณะที่มีความโดดเด่นร่วมกันเป็นองค์ประกอบหลักของเรือนไทย คือ เป็นเรือนไม้ หลังคาทรงจั่ว ยกพื้นสูง มีห้องรวมเป็นกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานต่างกัน มีชานเรือน โถงเรือน เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน พื้นเรือนมีการเล่นระดับเพื่อเปิดทางลมให้พัดผ่านด้านในตัวเรือน แต่ละภูมิภาคมีการจำแนกประเภทของเรือนที่ต่างกัน ดังนี้
เรียกว่า “เรือนกาแล” เป็นเรือนไทยที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะลักษณะตัวเรือนที่เป็นเรือนแฝด โดยตัวเรือนหลักจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือนรอง
ผนังมีลักษณะเลื่อนเปิด-ปิดได้ เพื่อรับลม เรียกว่า “ฝาไหล” หลังคามีขนาดใหญ่คลุมตัวเรือนทั้งหมดเพื่อป้องกันลมแรง
มีส่วนพื้นเรือนที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งหรือนอกชานสำหรับเป็นพื้นที่ใช้งานร่วมกัน เรียกว่า “เติ๋น”
จำแนกลักษณะเรือน หรือ “เฮือน” ตามภาษาถิ่น ได้ 3 ประเภท คือ
จะมีลักษณะยกพื้นเป็นใต้ถุนสูงกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยทำเลพื้นที่เป็นที่ลุ่มแม่น้ำที่จะมีน้ำหลากทุก ๆ ปี จึงจำเป็นต้องยกพื้นสูงกว่าทั่วไป และสามารถใช้ประโยชน์เป็นที่พักอาศัยได้ในตอนกลางช่วงฤดูร้อนได้อีกด้วย ประกอบไปด้วย
เรือนเดี่ยว เป็นเรือนหลักที่เป็นเรือนนอน และโรงครัวที่ด้านหลังแยกจากตัวเรือน เชื่อมตัวเรือนหลักด้วยชาน
เรือนหมู่ ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่แยกเป็นห้องต่าง ๆ ตามประโยชน์การใช้งาน เช่น หอพระ หอนอนหลัก หอนอนรอง หอกลางสำหรับนั่งเล่น และเชื่อมต่อห้องต่าง ๆ ด้วยชานกว้าง กลางเรือนมักยกพื้นสูงเป็นกลางชานมีหลังคาคลุม หรือบางเรือนก็นิยมปลูกไม้ใหญ่ไว้กลางชานเรือน อีกทั้งมีหลังคาทรงจั่วที่แอ่นโค้งประดับปลายจั่วด้วยการแกะสลักไม้คล้ายหางปลา
มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยมีแนวคิด ความเชื่อ ศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นสิ่งจำแนกเรือน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เรือนไทยมุสลิม เป็นเรือนยกพื้นสูง เสาเรือนมีความถี่และเสริมความแข็งแรงด้วยการเสริมท่อนคอนกรีตเพื่อเพิ่มความคงทนจากน้ำหลากเนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดปี หลังคามี 3 แบบ ได้แก่ “ลีมะ” หรือ “ปั้นหยา” “บลานอ” หรือ “มนิลา” และ “แมและ” หรือ “จั่ว” ภายในเรือน กั้นเพียงห้องนอน หรือห้องละหมาด ส่วนอื่น ๆ มักจะเปิดโล่งเชื่อมต่อกันหมด
2. เรือนไทยพุทธ ลักษณะเป็นเรือนไม้ หลังคาใหญ่ทรงปั้นหยาและจั่ว ภายในเรือนมักจะกั้นห้องมิดชิด แบ่งเป็นห้องนอน มีโถงเชื่อมต่อเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นและรับแขก เรือนครัวจะอยู่ด้านหลัง
โครงสร้างบ้านเรือนไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ ที่สะท้อนภูมิปัญญาและความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
โครงสร้างบ้านไม้เรือนไทย จะมีซอกมุมที่ค่อนข้างมาก และตัวเรือนที่มีลักษณะเปิดโล่ง จึงมักจะมีฝุ่นละอองมาเกาะให้สกปรกได้ง่าย ดังนั้น การดูแลบ้านเรือนไทย จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลและใส่ใจอยู่ตลอดเวลา อาทิ
สภาพอากาศของประเทศไทย ค่อนข้างร้อนและชื้นตลอดทั้งปี ดังนั้น บ้านไม้ที่มีโครงสร้างที่ปิดทึบ ไม่มีช่องลมระบาย หลังคาต่ำ จึงไม่เหมาะสมกับการปลูกสร้างในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ ปัจจุบันกระแสของบ้านไม้สไตล์ตะวันตกที่มีลักษณะดังกล่าวมีความแพร่หลายในประเทศไทย จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการปลูกสร้างบ้านไม้โครงสร้างแบบนี้ในบ้านเรา ซึ่งหากจำเป็นที่จะปลูกบ้านไม้ที่มีโครงสร้างเช่นนั้น ก็ควรที่จะติดตั้งระบบปรับอากาศภายในบ้านด้วย
บ้านเรือนไทย มีโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของเรือนไทย ที่มีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นทั้งในเชิงช่างและสถาปัตยกรรม การจะปลูกสร้างเรือนไทย จำเป็นที่จะต้องเลือกชนิดของไม้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน <
ที่มาภาพประกอบ :