การต่อเติมครัวหลังบ้าน มักทรุดตัวจนทำให้มีรอยแตกและต้องแก้ไขบ่อยครั้ง อย่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ลองมาอ่านวิธีเลือกวัสดุ โครงสร้าง การตรวจเช็ก และดูแลให้ห้องครัวมีอายุที่ยาวนาน เตรียมงบประมาณเท่าไหร่ให้ได้มาตรฐาน รวมถึงกฎหมายการเว้นระยะถอยร่นอย่างง่าย ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
การวางแผนออกแบบที่ดีจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้บ้านมากขึ้น โดยเฉพาะครัวหลังบ้าน ถ้ามีการวางสัดส่วนพื้นที่ต่อเติมให้เหมาะสม จะได้พื้นที่ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ได้อีกมาก การต่อเติมบ้านที่ดี นอกจากจะช่วยให้บ้านสวยงาม สะท้อนเอกลักษณ์เจ้าของบ้านแล้ว ยังช่วยทำให้บ้านไม่อึดอัด ไม่เกิดปัญหาภายหลัง
เป็นการต่อเติมแบบเน้นโล่งสบาย โดยจะทำให้ครัวมีการระบายอากาศที่ดีเมื่อมีการทำอาหาร ปกติจะใช้กระจกในการทำให้เกิดความสวยงาม แต่นำความร้อนเข้ามาสู่ส่วนต่อเติมได้ นิยมแก้ไขด้วยการติดกระจกที่สามารถกรองแสงได้และใช้งบประมาณมากยิ่งขึ้น หรือใช้ไม้ระแนงทำเป็นพื้นที่บังสายตาไปด้วย เพื่อช่วยลดความร้อน แต่ครัวอาจมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้ามาในยามวิกาล ทั้งนี้ควรออกแบบให้มีความสอดคล้องกับบ้านด้วย
ทำให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยมากยิ่งขึ้น การต่อเติมครัวแบบนี้มักมียาวได้เพียง 2-3 เมตรไปถึงรั้ว ขึ้นอยู่กับบ้านทาวน์โฮมของผู้ซื้อนั้นอยู่หลังกลาง หรือข้างบ้านที่มีพื้นที่ให้สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ก่อสร้างได้มากน้อยเพียงใด นิยมทำเป็นครัว 2 สเต็ปโดยแยกพื้นที่เป็นส่วนครัว และส่วนระบายอากาศสำหรับตากผ้า ใช้กระเบื้องปิดผนัง และวางเครื่องดูดอากาศให้มีความสูงพอสมควร ไม่ให้การทำครัวส่งกลิ่นไปกระทบบ้านข้าง ๆ และบางกรณีบ้านในโครงการต้องทำระบบน้ำทิ้งตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานอีกด้วย
เพื่อทำให้บ้านปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และง่ายต่อการซ่อมแซมก่อสร้าง โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องความคุมอาคาร และข้อบัญญัติและกฎกระทรวงหรือเทศบัญญัติของท้องถิ่น มีความสอดคล้องกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
ช่วยให้แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน และป้องกันปัญหาดินทรุดตัวในระยะยาว มักใช้กับบ้านที่มีพื้นที่กว้างพอสมควรโดยการแยกเสาเข็มออกมาเป็นของห้องครัวเอง เนื่องจากบ้านมีการลงเสาด้วยปั้นจั่นจึงมีความลึกมากกว่าเสาห้องครัว จะทำให้ดินเกิดทรุดตัวไม่เท่ากันจนเกิดรอยแยกระหว่างบ้านและห้องครัวได้ การเดินระบบง่ายไม่ไปทับกับระบบของบ้าน เมื่อดินยุบตัวจะลงพร้อมกันไปตามระดับ และแก้ไขได้ง่าย อาจเป็นปัญหาในการตกแต่งบ้านเมื่อมีส่วนแยกโครงสร้างออกมา ไม่เป็นตามรูปแบบ หรือลักษณะที่คล้ายคลึงกันจากโครงสร้างบ้านที่ทำไว้ครั้งแรก จึงควรวางแผนให้ดี
การวางโครงมี 2 แบบ คือการลงเสา และไม่ได้ลงเสา มีความต่างกันในเรื่องอายุการใช้งาน และการทรุดตัวของดิน โดยการลงเสาเป็นการต่อเติมครัวแบบแยกออกมาจากตัวบ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน เมื่อดินทรุดตัวจะยังคงห้องไว้อยู่และแก้ไขได้ง่าย แต่มีราคาสูง แบบไม่ได้ลงเสาจะยึดกับตัวบ้านเลย แต่จำเป็นต้องยอมรับในเรื่องการทรุดตัวจะทำให้ครัวที่ต่ออยู่มีการรอยแตกไวกว่าแบบแรกมาก ติดตั้งได้ง่ายและใช้งบน้อย การเลือกเสาควรเลือกจำนวน และขนาดให้ได้มาตรฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ซื้อด้วย
การเลือกหลังคา มี 2 แบบคือ เมทัลชีท และกระจก ควรพิจารณาจากการออกแบบบ้านเป็นแบบทึบ หรือโปร่ง เพื่อให้ห้องครัวไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเท สำหรับบ้านจัดสรรมักนำไม้ระแนงมาทำผนังผสมกับกระเบื้อง เพื่อให้ตรงตามกฎหมายเว้นระยะถอยร่น
มีให้เลือกด้วยกัน 6 แบบ สามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ซื้อตามความเหมาะสมกับตัวบ้าน ได้แก่
เนื่องจากห้องครัวต่อเติมนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงทำให้การเลือกใช้อุปกรณ์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และสะดวกใช้สอย อุปกรณ์ที่ควรจะมีไว้ในห้องครัวได้แก่
หากมีงบประมาณมากพอก็สามารถเพิ่ม เตาอบไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หรือเครื่องล้างจ้างเข้ามาช่วยในการทำอาหารได้มากยิ่งขึ้น ควรเลือกอุปกรณ์ที่ทำจาก สเตนเลสเพื่อช่วยให้มีอายุการใช้ที่นานยาว และดูแลง่าย
สามารถแบ่งออกมาได้ 4 ชนิดตามความนิยมในการตกแต่งครัว ได้แก่
เพิ่มพื้นที่ทั้งในตัวบ้านและห้องครัวให้กว้างไม่อึดอัด โดยใช้ประตูบานเลื่อนกระจก สามารถเลือกโครง ลวดลาย และลงสีให้เหมาะสมกับสไตล์บ้าน เช่น โครงไม้ หรือโครงเหล็ก จะทำให้มองเห็นการตกแต่งของห้องครัว เพิ่มมิติเมื่อมองจากตัวบ้าน หรือมองออกมาจากห้อง ไม่มีมุมเปิด-ปิดประตูที่ทำให้บริเวณโดยรอบแคบลง สามารถติดประตูมุ้งลวดแบบเลื่อนต่อจากบานกระจกได้ เพื่อให้อากาศภายในถ่ายเท ทั้งนี้ควรมีวัสดุบังแดด หรือกั้นลม ไม่ให้กระจกถูกแดดโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องใช้วัสดุอื่นที่สามารถทนแสงแดด ลม และสายฝนแทน โดยลดความสวยงามของบ้านลงไป
หากคิดโดยรวมทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการทำจะใช้งบประมาณ 115,000-320,000 บาท มีขนาด 2 X 6 X 3 เมตร สามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ส่วนคือ ค่าแรงในการลงเสา สร้างเคาน์เตอร์ ทำระบบท่อ และไฟฟ้าอยู่ 25,000-30,000 บาท ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าอุปกรณ์เครื่องใช้ รวมถึงของตกแต่งทั้งหมด ใช้เวลาในการก่อสร้างอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์ ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่การตกลงของผู้ซื้อกับช่าง และอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง หรือก่อนสร้าง
มีด้วยกัน 3 อย่างในการตรวจเช็กงานต่อเติมครัวหลังบ้านพอสังเขป โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ คือ
สิ่งที่ต้องทำมีทั้งสิ้น 3 ขั้นตอน คือ ทำให้ครัวแห้งอยู่เสมอ เมื่อใช้ครัวเสร็จแล้วจำเป็นต้องล้างทำความสะอาด จุดทำอาหารบริเวณเตาแก๊สให้ใช้ผ้าชุบน้ำอาจผสมน้ำยาล้างจานเล็กน้อยไล่เก็บน้ำ และจุดที่มีกลิ่นให้หมด หากเป็นเครื่องดูดควันให้ใช้สเปรย์จัดการคราบ และอุปกรณ์รับประทานอาหารต้องเช็กด้วยผ้าให้แห้ง ส่วนขยะเปียกให้นำไปทิ้ง เพื่อป้องกันสัตว์มาอยู่อาศัย ปิดทุกอย่างให้หมด ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ เครื่องปรุงทุกอย่างให้แน่นไม่มีกลิ่นออกมา สุดท้ายปลูกต้นไม้ประดับขนาดเล็กที่สามารถนำมาตั้งได้ในครัว เพื่อไล่แมลง หรือสัตว์อันตราย
การ<