ใครๆ ก็อยากสัมผัสทะเลหมอก แต่หมอกยามเช้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลขณะนี้ มิใช่หมอกที่มากับฤดูหนาวแต่อย่างใด แต่กลับเป็นภัยร้ายที่ทำลายระบบร่างกายเราได้อย่างคาดไม่ถึงที่เรียกว่า "ฝุ่นพิษ"
ฝุ่นพิษ เป็นฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ลองจินตนาการเทียบกับเส้นผมของคุณก็ได้ เพราะเจ้าฝุ่นนี้เล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่า จนขนจมูกไม่สามารถกรองไว้ได้ แปลว่าเมื่อฝุ่นหลุดเข้าไปที่จมูกมันจะเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ทันที เห็นแบบนี้แล้ว Baania รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยผู้ที่มีที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ฝุ่นมลพิษ จึงได้นำวิธีป้องกันตัวเองมาบอกกันครับ
ก่อนจะไปรู้วิธีป้องกันฝุ่นพิษเมื่ออยู่บ้านหรือคอนโด เราไปทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่นร้ายตัวนี้กันก่อน เพราะเมื่อต้นปีก่อน (พ.ศ. 2561) ฝุ่นพิษนี้เคยดังระเบิดในไทยไปหนึ่งรอบในช่วงหน้าหนาว เนื่องจากอากาศนิ่งและปิด เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนหรือฝนตกถี่ๆ ฝุ่นพิษจึงเบาบางลงไป แต่ในปีนี้เหตุการณ์ฝุ่นพิษกับทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเก่า ซึ่งเหตุที่รุนแรงมากขึ้นก็มาจากมนุษย์ชาวเราสร้างมลพิษขึ้นมานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ รถยนต์ที่ปล่อยควันกันอยู่ทุกวัน รวมถึงการก่อสร้างถนนหนทาง ตึกรามบ้านช่อง หรือระบบคมนาคมต่างๆ รวมถึงยังมาจากพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่งแจ้ง ไปจนถึงควันบุหรี่อีกด้วย
สำหรับพื้นที่อันตรายที่ฝุ่นพิษจัดหนักในตอนนี้ก็คือเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่างๆ โดยสามารถเช็กสถานการณ์ฝุ่นพิษรายวันและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ที่ กรมควบคุมมลพิษ หรือโหลดแอปพลิเคชัน Air Visual มาเลือกจุดมาร์คโลเคชันแล้วเช็กได้ทันที หากพบว่าอยู่ในเกณฑ์สีส้ม ถือว่ามีมลพิษเกินมาตรฐาน ควรป้องกันและหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่นั้นๆ จะดีกว่า
อันตรายที่ต้องระวัง
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) บอกว่า มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 1 ใน 8 ของประชากรโลก และจากการศึกษาของธนาคารโลกชี้ว่า ปัจจุบันมลพิษอากาศในประเทศไทยเป็นตัวการสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึงราว 50,000 รายต่อปี ที่สำคัญผู้คนที่อยู่ในไทยยังต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศในระดับสูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) อย่างต่อเนื่อง
ในปี 2560 ระดับมลพิษในอากาศที่บันทึกโดยสถานีตรวจสอบพบว่า มีพื้นที่ 14 แห่งทั่วไทยที่มีค่ามลพิษเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และในปีนี้คาดว่าระดับมลพิษในอากาศจะทวีสูงขึ้นไปอีกจนเป็นอันตรายมากขึ้น ด้วยฝุ่นที่มีขนาดเล็กและเบามาก ทำให้ฝุ่นลอยเคว้งอยู่ในอากาศ และทำให้คนสูดฝุ่นพิษเข้าไปซึ่งจะเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ภาวะสโตรค ปอดติดเชื้อ และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
อีกทั้งฝุ่นขนาด 2.5 PM ยังแฝงไปด้วย P-A-Hs สารพิษชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง, สารปรอทที่ทำลายระบบประสาท มะเร็ง และความผิดปกติทางพันธุกรรม, สารหนู อาจทำให้เกิดโรคผิวหนัง มึนชา อยากอาเจียน และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ รวมถึงแคดเมียม ซึ่งจะเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งผิวหนัง ปอด ทางเดินอาหาร และกระดูก
สำหรับกลุ่มเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นพิษมากที่สุด 4 กลุ่ม ได้แก่
คนอยู่คอนโดฯ หรือบ้านในเขตฝุ่นมลพิษควรทำอย่างไรดี
สภาวการณ์ฝุ่นพิษจะเบาบางลงได้ เมื่อมีฝนตกลงมา เพราะน้ำฝนจะช่วยชะล้างฝุ่นพิษในอากาศลงสู่พื้นดินแทนที่จะลอยในอากาศให้เราสูดดม ในระหว่างที่ฝนยังไม่ตกบ่อยๆ ทุกคนควรป้องกันตัวเองด้วยหน้ากาก N95 แต่สำหรับคนที่มีที่พักอาศัยอยู่ในเขตมีฝุ่นพิษนั้น วันนี้ Baania มีวิธีมาแนะนำกันครับ
นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ให้ข้อแนะนำว่า การลดภาวะฝุ่นพิษเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน หนทางที่ทำได้เร็วที่สุดในตอนนี้ คือ ลดน้ำในบริเวณบ้าน เพื่อลดฝุ่น ในระยาวจะต้องมีการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยกรองฝุ่น สำหรับโครงการที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดมิเนียม การมีพื้นที่สีเขียว และมีสระน้ำในโครงการจะช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นภายในโครงการได้ ถ้าเป็นคอนโดมิเนียมควรเลือกอยู่ในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไปหน่อย จะช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นได้
แม้ว่าสถานการณ์ฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะขึ้นลงตามสภาพอากาศ แต่อย่างไรเสีย มลพิษทางอากาศบ้านเราคงจะเป็นปัญหาที่จะยังอยู่กับเราไปตลอด ตราบใดที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นตอได้ ทางที่ดีควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไข เมื่อฝุ่นพิษ และมลภาวะทางอากาศก่อให้เกิดอันตรายต่องร่างกายของเราแล้วนะครับ
ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก กรมอนามัย