บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำว่า “Less is More” ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ Minimalism แล้วอาจสงสัยกันว่าอะไรที่มันน้อยๆ นี่จะเยอะได้อย่างไร ไม่ต้องเอาปรัชญาลึกซึ้งมาพูดคุยกัน แค่เพียงคิดตรงไปตรงมาว่าความเรียบง่ายของชีวิตมักมีส่วนช่วยให้เรามีเวลาเพิ่มมากขึ้น เท่านี้การใช้ชีวิตแบบMinimalism Lifestyle นี้ก็น่าจะเข้ามาครองใจของเราแล้ว
บ้าน Tuath Na Mara และ บ้าน Dupli Casa
จุดแรกของชีวิตเรียบง่ายต้องเริ่มต้นที่การอยู่อาศัยแบบพอเพียง ด้วยการออกแบบที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยที่ไม่ต้องสนใจรายละเอียดอาคารและการตกแต่งภายในที่มาก จนกลายเป็นรกรุงรังไปในที่สุด แต่เลือกที่จะใช้วัสดุและการออกแบบอาคารและการตกแต่ง ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นมีความสวยงามแข็งแรง หรูหรา การตกแต่งที่เน้นเนื้อแท้ของวัสดุ ใส่ใจในการออกแบบที่รายละเอียดรอยต่อระหว่างวัสดุแต่ละประเภท และแพทเทิร์นของวัสดุปิดผิวที่ลงตัว การใช้แสงสว่าง ลม แสงแดดจากธรรมชาติตามที่ควรจะเป็น เพื่อการใช้สอย เหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางของ Minimalism นั่นเอง
Hariri & Hariri Pool House-USA
นอกจากรูปแบบบ้านที่เป็นสไตล์ Minimal แล้ว การตกแต่งห้องในสไตล์ Minimalism เราต้องแน่ใจว่าการตกแต่งจะไม่มีข้าวของที่ไร้ประโยชน์มาอยู่ในบ้าน และเมื่อตกแต่งแล้วบรรยากาศในห้องต้องดูดีขึ้น โดยการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปแบบที่อินเทรนด์ ซึ่งสามารถหาดูตัวอย่างได้จาก Decoration Magazineหรือค้นหาทาอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญคือควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จะใช้ในห้องให้มีโทนสีและสไตล์ของที่กลมกลืนกันในห้องที่เชื่อมต่อกัน สีพื้นหรือสีโทนอุ่นอย่างเอิร์ธโทนน่าจะอยู่รวมกัน ในขณะที่สิ่งของสีสันสดใสที่สร้างจุดเด่นให้กับบ้าน ก็นำมาวางในส่วนเดียวกันเช่นกัน และก่อนจะเลือกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่เราจะต้องเลือกสี ห้อง ผ้าม่าน รูปภาพและดวงโคมต่างๆ เสียก่อน เป็นการคุมธีมการออกแบบในภาพรวมเพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องแปลกใจที่บ้านแบบพอเพียงของเราจะออกมาสวยงามน่าอยู่อย่างที่ใจต้องการเลยล่ะค่ะ
ที่มา: http://www.propertypal.com/property-news/10-breathtaking-minimalist-homes-from-around-the-globe
ผู้เขียน : มัลลิกา บุณฑริก
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาปนิกที่หลงไหลการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้และประสบการณ์ในชีวิต
มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม และภาพลักษณ์จากอดีตสู่ปัจจุบัน