การก่อสร้างบ้าน หรืออาคารต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้อระมัดระวัง เพราะว่ามีเรื่องของระยะร่นอาคารเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ก่อนการก่อสร้างบ้าน หรืออาคารทุกครั้งต้องศึกษาสภาพพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึงกฎหมายควบคุมอาคารอย่างละเอียด เพื่อให้การก่อสร้างนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง และไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมไปถึงเรื่องของความปลอดภัยด้วย ดังนั้นในบทความนี้จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับระยะร่นของอาคารประเภทต่างๆ รวมไปถึงข้อกฎหมายที่ควรรู้ก่อนที่จะเริ่มทำการก่อสร้างอาคาร
การก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารประเภทต่างๆ ถึงแม้ว่าจะก่อสร้างบนที่ดินของตัวเอง แต่ก็ไม่สามารถสร้างได้ตามใจ เนื่องจากการก่อสร้างในปัจจุบันนั้นถูกบังคับด้วย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ทำให้การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารต่างๆ ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยมีบทลงโทษที่บัดเจน และรุนแรง ความหมายของระยะร่นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนั้นหมายความว่า
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่หลายๆ คนที่หลายคนรู้จักดีนั้นมีชื่อเต็มๆ ว่า กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งประกาศใช้ในปี 2543 ซึ่งความสำคัญของ พ.ร.บ. นี้คือเป็น พ.ร.บ. ที่มีข้อกำหนดต่างๆ ในการก่อสร้างซึ่งถูกปรับปรุงไว้ล่าสุดบรรจุอยู่นั่นเอง ซึ่งทุกรูปแบบการก่อสร้างอาคารในปัจจุบันต้องกระทำตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.นี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเรียก พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่าเป็นกฎหมายระยะร่นอาคารก็ได้ เพราะว่าใน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการเพิ่มเติมเรื่องระยะร่นอาคารต่างๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของการสร้างอาคารแบบต่างๆ ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
ระยะร่นอาคารที่สำคัญที่นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ โดยนับจากทางสาธารณะ หรือขอบเขตที่ดินของผู้อื่นเป็นสำคัญ ซึ่งระยะร่นอาคารทั้ง 3 ประเภทนั้นได้แก่
อาคารที่มีความสูงมากกว่า 23 เมตรจะเรียกว่าอาคารสูง ซึ่งอาคารสูงนั้นมีข้อกำหนดในเรื่องของระยะร่น และแนวเขตติดกับทางสาธารณะที่แตกต่างจากอาคารประเภทอื่นๆ อยู่พอสมควร เนื่องจากเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการเพิ่มความปลอดภัยยามเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นมา การเข้าถึงของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะสามารถทำได้อย่างสะดวก รายละเอียดของระยะร่น ที่ว่าง ถนน ที่บังคับใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงได้แก่
หน้ากว้างของที่ดินซึ่งปลูกสร้างอาคารสูงนั้นต้องกว้างอย่างน้อย 12 เมตรขึ้นไป ที่ดินซึ่งใช้สร้างอาคารสูงต้องติดถนนสาธารณะที่ความกว้าง 10 เมตรที่เชื่อมไปสู่ถนนที่กว้างกว่า การสร้างอาคารสูงต้องมีระยะร่นทุกทิศทางรอบอาคารให้ห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 6 เมตร ภายในอาคารต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย หากเป็นอาคารที่มีขนาดพื้นที่รวม 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องอยู่ติดถนนสาธารณะที่มีความกว้าง 18 เมตร
หลายคนยังสงสัยว่าว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับที่ 55 ซึ่งกำหนดเรื่องของระยะร่น และที่ว่างไว้อย่างชัดเจนนั้นมีจุดประสงค์อะไร ซึ่งการกำหนดระยะร่น และที่ว่างซึ่งบางครั้งอาจจะดูว่ามากเกินความยำเป็นนั้นมีประโยชน์ในหลายเรื่องๆ ยกตัวอย่างเช่น
กฎหมายต่างๆ นั้นออกมาเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมในอย่างเรียบร้อย และมีความสุข และการฝ่าฝืนไม่ทำตามกฎหมายเหล่านั้นย่อมมีโทษเสมอ สำหรับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนั้นถ้าละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดก็จะมีความผิดเช่นกัน ซึ่งโทษของการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารนั้นคือค่าปรับซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะความผิด และอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารก็อาจจะถูกรื้อถอนได้
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าระยะร่นอาคารรวมไปถึงเรื่องช่องว่างรอบๆ อาคารที่อยู่ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับที่ 55 ปี 2543 นั้นเป็นเรื่องที่สมควรจะปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อกำหนดเหล่านั้นล้วนถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัย และความรับผิดชอบต่อส่วนร่วมทั้งสิ้น ซึ่งรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับระยะร่นของอาคารประเภทต่างๆ ที่อยู่ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับนี้นั้นบทความนี้ได้นำมาให้ศึกษาอย่างครบถ้วน