ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วสำหรับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป แล้วกฎหมายที่กำลังมีผลบังคับใช้นี้จะมีผลมากน้อยแค่ไหนกับคนที่มีบ้าน คนที่กำลังมองหาบ้านหลังใหม่ และคนที่มีที่ดินสะสมไว้เป็นจำนวนมาก อาจต้องเริ่มวางแผนภาษีกันใหม่
ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของห้องชุด ผู้ครอบครองทรัพย์สินของรัฐ(ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง) โดยหลักๆ กฎหมายฉบับนี้มีผลกับคน 3 กลุ่มที่ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยึดจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นหลัก
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม แบ่งจัดเก็บภาษี ดังนี้
2. ที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้านพักอาศัย แบ่งจัดเก็บภาษี ดังนี้
หากเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกลุ่มที่ใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชยกรรมและอื่นๆ เมื่อประเมินที่ดินแล้วมีมูลค่าอยู่ที่ 0-50 บาท อยู่ในเกณฑ์จัดเก็บภาษี 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท อยู่ที่เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท จัดเก็บ 0.5% และมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท จัดเก็บ 0.6% ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บที่ 0.7%
3. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า สำหรับคนที่ถือที่ดินเปล่าไว้ในมือ หรือที่กฎหมายระบุว่า เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบังคับใช้อย่างเป็นทางการจะต้องเสียภาษี ร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี หากปล่อยทิ้งร้างไว้เกิน 3 ปี เก็บเพิ่มอีกร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุก 3 ปี
ภาพรวมของการประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ในม.ค. 2563 เพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินให้ทันสมัย และแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีเดิม รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขอบคุณภาพประกอบจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง