กระแส LGBT กำลังมา ทราบหรือไม่ครับว่าตอนนี้เราสามารถกู้ร่วมกับคนรักไม่ว่าจะเพศไหนๆ ก็ได้แล้ว เรามาอ่านข้อมูลเรื่องนี้กันสักนิดครับว่า กู้ร่วมในปัจจุบันนี้สามารถกู้ร่วมกับใครกันได้บ้าง และมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง
ในสมัยก่อนการกู้ร่วมกันนั้นจะจำกัดผู้ที่กู้ร่วมกันได้ ได้แก่ สามี-ภรรยาที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หรือมีหลักฐานแสดงการเป็นสามีภรรยากัน, พี่น้องท้องเดียวกันที่นามสกุลเดียวกัน, พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลจะต้องแสดงหลักฐาน, พ่อหรือแม่กับลูก, ญาติที่นามสกุลเดียวกัน, พ่อแม่บุญธรรมกับลูกบุญธรรม แต่ในทุกวันนี้ธนาคารต่างได้เปิดรับคู่รักทุกกลุ่มในการกู้ร่วมกันมากขึ้น ซึ่งเปิดให้กลุ่มคู่รัก LGBTQ (กลุ่มคนที่ไม่ได้มีเพศตามคนในสังคมทั่วไป และไม่จำกัดกรอบ) สามารถกู้ร่วมกันได้แล้ว
โดยปกติแล้วการกู้ร่วมสำหรับคู่รักชายหญิงทั่วไปจะต้องมีหลักฐานแสดงการอยู่ร่วมกัน เช่น ทะเบียนหรือมีหลักฐานแสดงการเป็นสามีภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายแต่งงาน บุตร เป็นต้น สำหรับ LGBT ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น
ที่มีสินเชื่อบ้านสำหรับการกู้ร่วมเพศเดียวกัน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งปกติแล้วแต่ละธนาคารไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่านี้คือข้อเสนอสินเชื่อสำหรับ LGBTQ เท่านั้น เพียงแต่ขยายเงื่อนไขและหลักเกณฑ์กำหนดการพิจารณายื่นกู้ร่วมสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่คู่สมรสมากขึ้น โดยผู้กู้ร่วมมีคุณสมบัติพื้นฐานหลักๆ ดังนี้ครับ - ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย - ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี - ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
เตรียมเอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งก็จะมีเอกสารเหมือนๆ กับการกู้ร่วมพื้นฐานครับซึ่งหลักๆ มีดังนี้ครับ
เลือกสินเชื่อ ขั้นตอนนี้จะต้องปรึกษษกับธนาคารที่จะกู้ร่วมกันครับว่ามีตัวเลือกอะไรบ้าง และมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
การกู้ร่วมกันช่วยให้การอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น ได้วงเงินสูงขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคู่รักชายหญิง หรือกลุ่มคู่รัก LGBTQ ก็ต้องใช้ทำความเข้าใจเรื่องการกู้ร่วมให้ดีก่อนนะครับ เพราะหากมีปัญหาหรือเกิดการเลิกรากันจะทำให้มีปัญหาในการกู้ร่วมนี้ได้นะครับ