การที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลเนื่องมาจากการตายที่ลดลง ในขณะที่อัตราเกิดยังคงสูงอยู่มากในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก ที่เรียกว่า “การสูงวัยของประชากร” องค์การสหประชาชาติได้ประมาณว่าประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีมากถึง 16% ของประชากรทั้งหมดในอีก 35 ปีข้างหน้า เท่ากับว่าในเวลานั้นจะมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 1,600 ล้านคนอยู่ในโลกของเรา
ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ จริงๆประเทศไทยเราได้เข้าสู่สังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว โดยจำนวนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 7% ของประชากรทั้งหมด และในอนาคตประชากรสูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่า ในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” เพราะมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึง 14% ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 จะกลายเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึง 20%
ประเทศไทยในรอบ 20-30 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรเพิ่มช้าลงๆ โครงสร้างอายุได้เปลี่ยนรูปไปในทิศทางที่มีอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการลดลงของภาวะเจริญพันธุ์ และการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น คนไทยมีลูกกันน้อยลง จาก ที่ผู้หญิง 1 คนมีลูกเฉลี่ย 5 คน ปัจจุบัน มีอัตราเฉลี่ย 1.6 คนเท่านั้น
จากผลการสำรวจที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปัจจุบันพบว่า
ซึ่งแน่นอนว่า คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อสภาพที่อยู่อาศัย นำมาสู่แนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ขนาดพื้นที่ที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 204.77 ตร.วา โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอง และ อยู่อาศัยในที่อยู่ปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 20 ปี ซึ่งอาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกับลูกหลาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ไม่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย เช่น อากาศไม่ดี เสียงดัง ปัญหาเพื่อนบ้าน มีเพียง 20.3% ที่คิดในเรื่องการย้ายจากที่อยู่ปัจจุบัน 79.3 % ไม่เคยคิดย้ายจากที่อยู่ปัจจุบันเพราะรักและผูกพันอยู่กับที่เดิม แต่ต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิม มีวงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 409,147 บาท
จากสาเหตุที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนำมาซึ่งแนวคิด การออกแบบ ที่อยู่อาศัย เพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ สามารถนำมาประยุกต์ได้ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม
ขอบคุณภาพประกอบ : เพอร์เฟคเพลส พระราม 9 - กรุงเทพกรีฑา
ลักษณะบ้าน
ขอบคุณภาพประกอบ : ลุมพินี วิลล์ ราชพฤกษ์ - บางแวก
ห้องนั่งเล่น
ห้องครัว
ห้องนอน
ขอบคุณภาพประกอบ : ลุมพินี วิลล์ ราชพฤกษ์ - บางแวก
ห้องน้ำ
ประตู
อ่านบทความเกี่ยวกับบ้านผู้สูงอายุเพิ่มเติมได้ที่นี่
RECOMMENDED PROJECT
ลุมพินี วิลล์ ราชพฤกษ์-บางแวก
“ลุมพินี วิลล์ ราชพฤกษ์-บางแวก” สะดวกทุกการเดินทาง เข้า - ออกโครงการได้ 4 ทิศ ตั้งอยู่บนทำเลที่มีศักยภาพในการเดินทาง เชื่อมต่อถนนหลักได้หลายเส้น ไม่ว่าจะเป็น กาญจนาภิเษก บรมราชชนนี เพชรเกษม พุทธมณฑลสาย 1 หรือตัวถนนหลักอย่างถนนราชพฤกษ์เองก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่นำความเจริญเข้ามาสู่บางแวก ซึ่งโครงการนี้ ทาง “ลุมพินี” รูปแบบใหม่ได้พัฒนาเป็น “ชุมชนน่าอยู่สำหรับผู้สูงวัย” ตามแบบฉบับ “LPN Design” แก่คนทุกวัยภายใต้แนวคิด Universal Design โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก , วัยรุ่นและวัยทำงาน , ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้ โดยทาง LPN ได้จัดทำทั้งพื้นที่ส่วนกลางและภายในห้องชุดสำหรับผู้สูงวัย ดังนี้
สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับผู้สูงวัยนั้น ได้รับความร่วมมือจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้รองรับผู้สูงที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยจะออกแบบไว้เพื่อใช้ในห้องชุด และพื้นที่ส่วนกลาง