“ถังเก็บน้ำ” คืออีกอุปกรณ์หนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับบ้านในปัจจุบัน เพราะน้ำคือสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นประจำทุกวัน หากมีเหตุให้น้ำประปาไม่ไหลและบ้านเราไม่มีการสำรองน้ำไว้ เมื่อนั้นก็จะเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ไม่มีน้ำในการนำมาประกอบอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน ล้างทำความสะอาดสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการติดตั้งถังเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หากใครกำลังสนใจจะเลือกซื้อถังเก็บน้ำไว้ติดบ้าน บทความนี้จะช่วยให้ท่านได้รู้จักกับถังเก็บน้ำประเภทต่าง ๆ และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้าน ด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
ช่วยในการเก็บสำรองน้ำไว้ใช้งาน ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น น้ำประปาไม่ไหล ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากท่อประปารั่วหรือแตกทำให้ไม่สามารถส่งน้ำหรือมีการปิดน้ำเพื่อทำการซ่อมบำรุงหรือตรวจสอบระบบน้ำ เป็นต้น ซึ่งแต่ละครั้งการซ่อมบำรุงอาจใช้เวลานาน ซึ่งหากบ้านหลังใดไม่ได้มีถังเก็บน้ำสำรองไว้ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้
นอกจากจะเป็นการรับประกันว่าบ้านเราจะมีน้ำใช้ในยามที่ต้องการแล้ว ถังเก็บน้ำยังมีประโยชน์ในการช่วยพักน้ำให้ตกตะกอนก่อนที่จะนำไปใช้กิจกรรมต่าง ๆ ปัจจุบันการติดตั้งและการใช้งานถังเก็บน้ำได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ทำให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังมีหลายประเภทให้เลือกตามระดับราคาและความต้องการของแต่ละบ้าน ดังนั้นถังเก็บน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรมีติดไว้ที่บ้านท่าน
ถังเก็บน้ำจะแบ่งออกได้ 2 ประเภทตามลักษณะการติดตั้งคือ คือถังเก็บน้ำบนดิน และถังเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
ตัวถังเก็บน้ำ ทำหน้าที่ กักเก็บน้ำ ซึ่งจะต้องกักเก็บได้ไม่น้อยกว่าผลต่างระหว่างปริมาณน้ำเข้ามาในถังกับปริมาณน้ำที่ถูกสูบออกไปใช้ ดังนั้นต้องเลือกขนาดถังเก็บน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ฝาถังเก็บน้ำ ทำหน้าที่ปิดเพื่อไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมหล่นลงไป หรือเปิดเพื่อให้สามารถเข้าไปทำความสะอาดถังเก็บน้ำได้
ลูกลอย ทำหน้าที่ในการวัดระดับปริมาณน้ำที่คงเหลือ ณ เวลาปัจจุบัน
ท่อภายใน ทำหน้าที่เชื่อมต่อจากท่อประปาเพื่อลำเลียงน้ำจากภายในเข้าสู่บ้านเรือน
รูท่อน้ำเข้า ทำหน้าที่ในการรับน้ำเข้า
รูท่อน้ำออก ทำหน้าที่ในการปล่อยน้ำออก
รูระบายน้ำทิ้ง ทำหน้าที่ระบายน้ำทิ้ง ซึ่งบางบ้านอาจจะเคยเจอปัญหาเรื่องกลิ่นของน้ำ ดังนั้นการมีรูระบายน้ำทิ้งจะช่วยลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ลงได้ และต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
วาล์วเปิด-ปิด ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ
เช็กวาล์ว หรือวาล์วกันกลับ ทำหน้าที่ควบคุมน้ำให้ไหลไปในทิศทางเดียว ไม่มีการไหลย้อนกลับเมื่อปั๊มหยุดทำงาน
ท่อน้ำประปา ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเพื่อจ่ายเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ
ปั๊มน้ำ ทำหน้าที่ช่วยส่งน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จะใช้หลักการหมุนส่งกำลังให้ปั๊มทำงานและเพิ่มแรงดันส่งน้ำไปตามท่อ
ขาตั้ง (บางรุ่น) ทำหน้าที่เป็นฐานรองตัวถังเพื่อยกระดับให้สูงขึ้นเหนือพื้นดิน
ถังชนิดนี้เป็นถังที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยคุณสมบัติของวัสดุ มีรูปทรงที่ดูสะอาดตา ด้านในตัวถังมีความทึบแสงไม่ก่อให้เกิดตะไคร่น้ำ มีความทนทานและอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะกับการใช้ตามบ้านเรือน แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่สูงกว่าถังเก็บน้ำชนิดอื่น ๆ เมื่อเทียบที่ปริมาตรความจุที่เท่ากัน ซึ่งก่อนที่ท่านจะตัดสินใจซื้อ ให้พิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ ประเภทของถังสเตนเลส มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. แบบเรียบ เหมาะกับการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดเรื่องความสูง
2. แบบทรงสูง ด้วยทรงที่สูงและเรียวจึงเหมาะกับการตั้งในพื้นที่แคบ
3. แบบทรงอ้วน เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด
ข้อดี: แข็งแรง ทนทาน สะอาด ดูแลง่าย ไม่เกิดตะไคร่น้ำภายในตัวถัง รวมถึงน้ำหนักที่เบาทำให้เคลื่อนย้ายไปตามจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างสะดวก
ข้อเสีย: ราคาสูงแต่รูปแบบให้เลือกน้อย บรรจุได้เฉพาะน้ำประปาหรือน้ำที่มีค่าเป็นเบสเท่านั้น หากบรรจุน้ำที่มีค่ากรดอาจส่งผลให้เกิดสนิมกับตัวถังได้ เช่นเดียวกับบริเวณรอยต่อหรือรอยเชื่อมก็มีโอกาสที่เกิดสนิมได้เช่นกัน และหากนำถังวางไว้กลางแจ้ง น้ำจะมีอุณหภูมิสูงได้
ข้อแนะนำ: การเคลื่อนย้ายถังเก็บน้ำให้คำนึงถึงขนาดของตัวถังและน้ำหนักถังเพราะอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเคลื่อนย้ายได้ หากใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม
ถังชนิดนี้ทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิด LLDPE Hexene(C6) ซึ่งนิยมใช้ในการเก็บน้ำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากคุณสมบัติที่สะอาด ปลอดภัย ทึบแสง ป้องกันรังสี UV วัสดุไม่ค่อยหลุดล่อน ปราศจากสารปนเปื้อน มีอายุการใช้งานยาวนาน รวมถึงราคาตามท้องตลาดก็ไม่สูงมากนัก จึงเหมาะกับการนำมาใช้ตั้งแต่ในบ้านเรือนไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงวัสดุที่ใช้ผลิตด้วย โดยถังโพลิเมอร์ชนิดทึบแสงนิยมผลิตจากวัสดุดังนี้
ข้อดี: มีหลายรูปทรง สีสันสวยงาม ทันสมัย ไม่เกิดตะไคร่น้ำ กันรังสี UV มั่นใจได้เรื่องความปลอดภัยเพราะเป็น Foodgrade ตั้งกลางแจ้งได้และไม่ขึ้นสนิม
ข้อเสีย: ข้อต่อและวัสดุต่างๆ คนละชนิดกับตัวถัง อาจก่อให้เกิดรอยแตกหรือรอยแยกได้ และด้วยลักษณะก้นถังเรียบจึงทำความสะอาดค่อนข้างยาก
ข้อแนะนำ: ควรระมัดระวังผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบและไม่ได้มาตรฐาน ควรสังเกตสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
ถังชนิดนี้ทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิด LLDPE ด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่เป็นเนื้อพลาสติกที่ไม่มีความทึบแสงจึงทำให้แสงลอดผ่านตัวถังไปสัมผัสน้ำได้ จึงมีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำ ซึ่งต้องพิจารณาข้อดีและข้อเสียเพิ่มเติมดังนี้
ข้อดี: ราคาถูกที่สุด ไม่เกิดสนิมเนื่องจากทำด้วยวัสดุโพลิเมอร์ มีหลากหลายแบบให้เลือกทั้งแบบถังเก็บบนดินและถังเก็บน้ำฝังดิน รวมถึงขนาดที่มีให้เลือกตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้านเรือนไปจนถึงการใช้งานในอุตสาหกรรม
ข้อเสีย: อาจก่อให้เกิดตะไคร่น้ำภายในถังได้ สีซีดเมื่อใช้ไปนาน จึงไม่เหมาะกับการนำถังไปวางกลางแจ้ง อายุการใช้งานก็ไม่นานนัก ข้อต่อต่าง ๆ ใช้ความร้อนเชื่อมจึงอาจก่อให้เกิดรอยแยกหรือแตกร้าวได้ นอกจากนี้ด้วยลักษณะก้นถังที่เรียบจึงค่อนข้างยากในการทำความสะอาด
ข้อแนะนำ: ควรสังเกตสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
เป็นถังน้ำที่ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์ แข็งแรง ทนทาน มีความยืดหยุ่นสูง ปลอดภัยจากสนิม รองรับแรงอัดกระแทกได้ดี สำรองน้ำได้ในปริมาณมาก จึงเหมาะกับการเก็บน้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สถานที่ก่อสร้าง โรงงาน อาคารขนาดใหญ่ หรือระบบประปาหมู่บ้าน เป็นต้น ถังแบบไฟเบอร์กลาสมีทั้งหมด 2 แบบ คือ แบบบนดินและแบบฝังดิน
ข้อดี: บรรจุน้ำได้หลายหลายชนิดไม่ก่อให้เกิดสนิม รวมถึงมีหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้านเรือนไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ตามโรงงานหรืออุตสาหกรรม
ข้อเสีย: น้ำหนักมากจึงไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้าย หากนำไปใช้กลางแจ้งตัวถังอาจจะกรอบและแตกร้าวได้ง่ายกว่าปกติและล้างทำความสะอาดยาก รวมถึงอาจจะมีการส่งกลิ่นของสารเคลือบผิว
ข้อแนะนำ: โปรดสังเกตสินค้าลอกเลียนแบบหรือไม่ได้มาตรฐาน เพราะอาจจะมีการหลุดล่อนของเส้นใยไฟเบอร์ปนเปื้อนลงไปในน้ำ
การเลือกถังเก็บน้ำไว้ใช้ที่บ้านนั้น ควรเริ่มต้นด้วยการคำนวณปริมาณการใช้น้ำของเราเอง ซึ่งโดยทั่วไปกำหนดอยู่ที่ 200 ลิตรต่อวัน (ประเภทที่พักอาศัย บ้านเช่า ตึกแถว คอนโด หรืออาคารพาณิชย์) กำหนดจำนวนผู้ที่พักอาศัยในบ้าน และกำหนดจำนวนวันที่ต้องการเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น หากบ้านที่มีจำนวนสมาชิก 5 คนต้องการเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ 3 วัน ก็สามารถคิดคำนวณได้ ดังนี้
ขนาดถังเก็บน้ำ = ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อวัน x จำนวนผู้ที่พักอาศัยต่อบ้าน x จำนวนวันที่ต้องการเก็บสำรองน้ำ
ขนาดถังเก็บน้ำ = 200 ลิตร/วัน * 5 คน/บ้าน * 3 วัน
ขนาดถังเก็บน้ำ = 3,000 ลิตร
ดังนั้น ท่านต้องเลือกซื้อถังเก็บน้ำขนาด 3,000 ลิตร จึงจะเพียงพอต่อการเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ 3 วัน
ต่อมาแบบถังเก็บน้ำจะแบ่งออกเป็น แบบบนดินและแบบใต้ดิน ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความแตกต่างและความเหมาะสมในการนำมาใช้ดังนี้
ถังแบบบนดิน เป็นแบบวางอยู่เหนือพื้นดิน เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอต่อการวางถัง ประเภทถังที่นิยม คือ แบบสเตนเลส และถังพลาสติก สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่อุณหภูมิน้ำก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าแบบใต้ดิน
ถังแบบใต้ดิน เหมาะกับบ้านพื้นที่จำกัด ประเภทถังที่นิยมคือ ถังคอนกรีตและถังพลาสติกใต้ดิน ซึ่งอุณหภูมิน้ำจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่สูงและการเคลื่อนย้ายที่ยาก
โดยทั่วไปจะแบ่งการติดตั้งถังเก็บน้ำและปั๊มไว้ 2 ระบบสำหรับที่พักอาศัย ได้แก่
ระบบที่ 1: ติดตั้งไว้ชั้นล่างของบ้าน อาจจะเป็นพื้นที่หลังบ้าน ซึ่งจะพิจารณาเดินท่อน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน หลักการติดตั้งจะวางถังเก็บน้ำผ่านมิเตอร์หน้าบ้าน แล้วต่อมายังปั๊ม ซึ่งระบบปั๊มจะทำงานเมื่อเริ่มเปิดใช้ และหยุดเมื่อไม่มีการใช้งาน ระบบนี้เหมาะกับบ้านเดี่ยวหรือบ้านสองชั้น
ระบบที่ 2: ติดตั้งไว้ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง เหมาะกับที่พักที่มีคนอยู่อาศัยเยอะ เช่น อาคารสูงหลายชั้น จะมีการเดินท่อคล้ายกับระบบ 1 แต่เพิ่มเป็น 2 จุดคือบนและล่าง เพื่อให้ปริมาณการสูบน้ำเพียงพอต่อจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการทำงานจะต่างกันเล็กน้อย เพราะในระบบที่ 2 ปั๊มด้านล่างจะทำงานเมื่อปริมาณถังเก็บน้ำด้านบนลดลง เพื่อสูบน้ำเติมกลับเข้าไปซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟมากกว่าแบบแรก
ควรจะทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ทุก 6 เดือน) เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่เราใช้เป็นประจำสะอาด ปลอดภัย ไร้สิ่งสกปรก สำหรับการทำความสะอาดตลอดจนการดูแลรักษาถังเก็บน้ำมีดังนี้
เพียงแค่นี้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น เราจะมั่นใจได้ว่าน้ำที่กักเก็บไว้ในถังสะอาดเหมาะแก่การใช้งานตามความต้อง
ทั้งหมดนี้คือวิธีการเลือก “ถังเก็บน้ำ” ตั้งแต่ในส่วนของรายละเอียดต่าง ๆ ประโยชน์ของถังเก็บน้ำ ส่วนประกอบ ประเภทการใช้งาน การคำนวณ และการติดตั้งตลอดจนการดูแลรักษา เชื่อมั่นว่ารายละเอียดที่ท่านได้ศึกษาไปในแต่ละข้อ จะช่วยให้ท่านเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับถังเก็บน้ำมากขึ้นและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือกถังเก็บน้ำไว้ใช้ในบ้านของท่านได้อย่างเหมาะสม