จากมาตรการลดค่าโอนและค่าจดจำนองถึง 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีผลกับบ้านมือสอง ถือเป็นว่าเป็นโอกาสทองของบ้านมือสองกันมากๆ เลยครับ เนื่องจากบ้านมือสองที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านมีตัวเลือกจำนวนมาก ซึ่งนอกจากมาตรการนี้ ทำให้ใครที่จะขายบ้านและซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปี ได้รับผลประโยชน์ช่วยลดภาษีได้ถึง 3 เด้งด้วยกัน
โดยปกติแล้วเมื่อเราขายบ้า เราจะต้อง<<1d723c2ea9b234593da651cee3be2df5>>หลายอย่างด้วยกัน เรียกได้ว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อยกันเลยทีเดียวครับ โดยค่าภาษีที่ต้องจ่ายในการขายบ้านประกอบด้วย
1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะหรือค่าอากรแสตมป์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
3. ค่าธรรมเนียมการโอน
ซึ่งในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนนั้น เมื่อ 21 ธันวาคม 2564 ได้มีการอนุมัติขยายเวลาลดค่าโอนและค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อกันไปอีกจนถึง 31 ธันวาคม 2565 ทำให้ค่าธรรมเนียมการโอนจากที่ต้องจ่าย 2% จะเหลือจ่ายเพียง 0.01% เท่านั้น ตัวอย่างเช่นจากต้องจ่ายค่าโอนบ้านราคา 2 ล้านบาท ปกติต้องจ่ายค่าโอน 4 หมื่นบาท ก็จะเหลือจ่ายแค่ 200 บาทเท่านั้นครับ
หากเราต้องการที่จะซื้อบ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่งหรือบ้านมือสอง เราจะต้องจ่ายค่าโอนและค่าจดจำนองซึ่งแต่ก่อนนั้น ลดค่าธรรมเนียมการโอนจะอยู่ที่ 2% และค่าธรรมเนียมการจำนองจะอยู่ที่ 1% แต่หากเราซื้อบ้านใหม่ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทในปีนี้จะเหลือค่าโอนแค่ 0.01% เท่านั้น เช่นเดียวกับค่าจดจำนองจะเหลือเพียง 0.01% เช่นกัน ตามมาตรการกระตุ้นเศษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ดังนี้
1. ลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% ลงเหลือ 0.01% เช่น ถ้าโอนบ้านราคา 1 ล้านบาท ปกติต้องจ่ายค่าโอน 2 หมื่นบาท ก็จะเหลือจ่ายแค่ 100 บาทเท่านั้นครับ
2. ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง 1% ลงเหลือ 0.01% เช่น ถ้าธนาคารให้วงเงินเต็ม 100% ของราคาซื้อขาย 1 ล้านบาท จากที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1 หมื่นบาท ก็จะเหลือจ่ายแค่ 100 บาทเท่านั้นครับ
ทั้งนี้จะต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน โดยใช้กับการซื้อขายที่อยู่อาศัยซึ่งครอบคลุมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด ที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่สำคัญมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้นนะครับ
หากเราต้องการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากการขายบ้านนั้น เราจะต้องซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปี และจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายน้อยกว่า 1 ปีก็ได้ แต่ระยะเวลาการมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขาย และหลังใหม่ นับถึงวันขาย รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
วิธีการนี้จะทำให้เราสามารถขอคืนภาษีได้ แต่จะต้องไม่มากกว่าราคาบ้านใหม่ที่ซื้อ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 125) เช่น หากบ้านเก่าของเราขายได้ 4 ล้านบาท แล้วเราซื้อบ้านใหม่ในราคา 3 ล้านบาท เราจะสามารถขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้แค่ 2 ล้านบาท เป็นต้น
เมื่อขายบ้านเก่าแล้วซื้อบ้านใหม่ พร้อมมีชื่อในทะเบียนบ้านอย่างน้อย 1 ปีแล้ว เราก็ต้องทำเรื่องขอคืนภาษีจากการขายบ้านครับ โดยมีเอกสารที่เราจะต้องเตรียมดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีเงินได้ฉบับที่กรมที่ดินออกให้
2. สำเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งเดิม
3. สำเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีเงินได้สำหรับอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ (กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งเดิมน้อยกว่า 1 ปี)
สำหรับขั้นตอนในการขอคืนภาษีจากการขายบ้านนั้น ผู้ขายจะต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่กรมที่ดินไปก่อน แล้วเราถึงจะมาทำเรื่องขอคืนภาษีจากการขายบ้าน โดยให้กรอกแบบฟอร์ม ค.10 ณ สรรพากรพื้นที่ แล้วยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมแนบเอกสารที่ให้เตรียมไว้ เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับกับการลดค่าใช้จ่ายในการมีบ้านแบบ 3 ต่อกันเลย เริ่มจากลดค่าโอนจากการขายบ้าน ต่อกันด้วยลดค่าโอนและจดจำนองในการซื้อบ้านไม่เกิน 3 ล้าน และสุดท้ายยังขอภาษีคืนจากการขายบ้านได้ด้วย ดังนั้นใครที่ลังเลจะมีบ้านใหม่อยู่ สามารถมาประกาศขายบ้าน และเลือกซื้อบ้านใหม่และบ้านมือสองได้ที่เว็บไซต์ Baania ของเรานะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://thaipropertymentor.com/archives/16633
https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ขายบ้านเก่า-ซื้อบ้านใหม่-ประหยัดภาษี-8350