ภาษีมรดก ภาษีที่เราจะต้องจ่ายเมื่อเราได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่ถึงแก่กรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน หุ้น เงินฝาก หรือรถยนต์รวมถึงหนี้สิน ซึ่งถ้ามูลค่ารวมนั้นไม่ถึง 100 ล้านก็ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะไม่ต้องเสีย แต่หากเกินกว่า 100 ล้านล่ะก็ เราต้องจ่ายตามอัตราที่กำหนดไว้ เรามาดูกันครับว่าภาษีมรดกคืออะไร มรดกแบบไหนที่ต้องจ่ายภาษี จ่ายเท่าไร คำนวณยังไง จ่ายที่ไหนและเมื่อไรบ้าง
ภาษีการรับมรดก หรือภาษีมรดก (Inheritance Tax) เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ได้รับมรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โดยจะเก็บตามสัดส่วนมูลค่าของมรดกที่แต่ละคนได้รับ หากมูลค่ามรดกสุทธิมารวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับมูลค่ามรดกสุทธิในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599-1600 บอกไว้ว่า เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้น ย่อมตกทอดแก่ทายาททันที มรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมถึงสิทธิ หน้าที่ ภาระหนี้สิน และความรับผิดต่างๆ ด้วย ซึ่งขอบเขตความรับผิดชอบจะต้องไม่เกินมูลค่าของมรดกที่ตนได้รับมา
สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีการรับมรดก ได้แก่
ทรัพย์สินมรดกที่ต้องเสียภาษีมรดก ประกอบไปด้วย
ตามหลักแล้วมรดกของผู้ถึงแก่กรรมย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ซึ่งได้แก่
สำหรับภาษีมรดกจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าสุทธิของทรัพย์สินมรดกรวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก ดังนี้
อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่า ภาษีมรดกจะเกิดขึ้นรือต้องเสียก็ต่อเมื่อมูลค่าสุทธิของทรัพย์สินมรดกรวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งผู้รับมรดกจะเป็นผู้เสียภาษีมรดก โดยจะต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท โดยอัตราภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกสุทธิที่ต้องเสียภาษี
สำหรับวิธีการคำนวณภาษีจะมีหลักการคำนวณภาษีมรดก โดยให้นำมูลค่ามรดกทั้งหมดมาหักลบภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดก หากมีมูลค่ามรดกไม่ถึง 100 ล้านก็จะไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่หากมูลค่ามรดกเกิน 100 ล้าน ให้นำมูลค่ามรดกทั้งหมดที่ได้รับมาลบ 100 ล้าน เหลือมูลค่าเท่าไร ให้นำมูลค่าที่เกินมานั้นไปเสียภาษีมรดกตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้
หากผู้รับมรดกที่คำนวณแล้วว่าต้องเสียภาษีมรดก แต่ไม่จ่าย ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด รวมถึงการให้ข้อมูลไม่ตรงกับความจริง ผู้เสียภาษีมรดกจะต้องจ่ายบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
ผู้เสียภาษีมรดกจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก หรือ ภ.ม.60 และต้องชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก โดยสามารถดาวน์โหลดแบบแสดงรายการภาษีหรือ ภ.ม.60 ได้ที่นี่
สำหรับสถานที่ในการยื่นแบบภาษีมรดกให้ไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งหรือ ณ สถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกำหนด
หากผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดกตายก่อนครบกำหนดเวลายื่นแบบ และยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมรดกให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นทำหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี พร้อมจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระแทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งจะทำให้ไม่โดยเบี้ยปรับเพิ่ม
หากผู้เสียภาษีมรดกตายเมื่อครบกำหนดเวลา และยังไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมรดกให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นทำหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี พร้อมจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระแทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยจะต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่ม 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งเงินที่ต้องเสี่ยเบี้ยปรับเพิ่มนั้นให้คำนวณตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
ผู้จัดการมรดกนั้นมีหน้าที่ในการดำเนินการแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีมรดก ซึ่งจะต้องแต่งตั้งให้ภายใน 180 วัน แต่หากไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็สามารถให้ทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 180 วันได้
หากมีทายาทหลายคนก็ให้ทายาทตกลงร่วมกัน โดยให้มอบอำนาจให้ทายาทสักคนหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่หากตกลงกันไม่ได้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
หากมรดกที่ได้รับนั้นเป็นที่ดินจะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายหลักๆ ดังนี้ครับ
หากเป็นการโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานหรือระหว่างคู่สมรส จะต้องจ่ายภาษีตามราคาประเมินคือ ร้อยละ 0.5 แต่หากเป็นกรณีอื่นๆ จะอัตราค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ร้อยละ 2 ของราคาประเมิน
หากเป็นมรดกที่สืบทอดไปยังผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายจะไม่ต้องเสียภาษี แต่หากไม่ใช่จะการคิดคำนวณภาษีเหมือนการโอนที่ดินเพื่อขายทั่วไป
หากเป็นมรดกที่สืบทอดไปยังผู้สืบสันดานที่ชอบด้วยกฎหมายจะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่หากไม่ใช่จะการคิดคำนวณภาษีเหมือนการโอนที่ดินเพื่อขายทั่วไป
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยมรดกหรือโดยเสน่หาจะเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.5% ของราคาขายหรือราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์
หวังว่าสรุปความรู้เรื่องภาษีมรดกในทุกเรื่องทุกประเด็นที่เล่ามา คงจะทำให้ใครที่กำลังหาความรู้หรือกำลังเป็นผู้ต้องเสียภาษีมรดกที่ดินจะนำไปวางแผนการเสียภาษีได้อย่างถูกต้องนะครับ