LTV ใหม่ประกาศใช้ไปแล้ว 3 เดือน จะเห็นได้ว่ายอดการปล่อยกู้ของธนาคารต่างๆ ลดลง ซึ่งไม่พียงแค่มาตรการที่เปลี่ยนไป แต่ความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคยังไม่ชัดเจนพอ Baania จึงคัดสรรความรู้จำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับ LTV ใหม่มาให้ พร้อมยังมีช่องทางปรึกษาเรื่องนี้แบบฟรีๆ มาบอกกันครับ
ทำไมต้องขึ้น
จากข้อมูล Big data เป็นรายสัญญา ผู้กู้รายคน อสังหาริมทรัพย์รายประเภท ของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า สถิติหนี้เสียหรือ NPL มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการซื้อเพื่อนำไปเก็งกำไร เพราะมีการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2, 3 หรือ 4 พร้อมกัน ทั้งที่หลังแรกยังผ่อนไม่หมด อีกทั้งความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อก็มีลดลง ซึ่งในอนาคตจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน คือมียอดการโอน แต่ไม่มีคนเข้าอยู่อาศัยจริง รวมถึงยังเกิดอุปสงค์เทียม ทำให้ราคาบ้านและคอนโดเพิ่มสูงจนเกิดเป็นฟองสบู่แตกได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Macroprudential) Loan to Value Ratio หรือ LTV เพื่อกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ขึ้นมา และประกาศใช้ไปแล้วในวันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา
มีการปรับอย่างไรบ้าง
1. ซื้อบ้านหรือคอนโดหลังที่สอง ในราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท มีข้อกำหนดอยู่ 2 กรณี
2. ซื้อบ้านหรือคอนโดที่ราคาเกิน 10 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังแรกหรือหลังที่สอง ธนาคารจะปล่อยกู้ให้ไม่เกิน 80% ซึ่งต้องวางเงินดาวน์ 20%
3. ซื้อบ้านหรือคอนโดเป็นหลังที่สาม ไม่ว่าจะราคาใดก็ตาม ธนาคารจะปล่อยกู้ให้ไม่เกิน 70% ซึ่งต้องวางเงินดาวน์ถึง 30%
4. ผู้กู้ร่วม ให้นับว่าผู้กู้ร่วมเป็นผู้ขอสินเชื่อด้วย เท่ากับว่าถ้าต้องการจะขอกู้เองก็จะถือว่ากู้ในสัญญาที่สอง
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขปลีกย่อยที่ธนาคารต้องนำไปปฏิบัติ เช่น บังคับใช้กับสัญญาสินเชื่อใหม่, การ Refinance, การปล่อยกู้ จะต้องนับรวมสินเชื่อทั้งหมดที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเป็นวงเงินก้อนเดียวกัน แต่ไม่นับรวมสินเชื่อสำหรับชำระค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เบี้ยประกันชีวิตผู้กู้ และสินเชื่อเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจด้วย
หลังประกาศสถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง
หลังประกาศใช้มาตรการนี้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ปล่อยกู้ในวงเงินที่ลดลง เช่น เคยปล่อยกู้ได้ 100% ของราคาบ้าน ก็จะเหลือ 70-90% ทำให้ผู้ซื้อต้องใช้เงินดาวน์บ้านมากขึ้น นอกจากนี้การประเมินของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า จำนวนลูกค้าที่ได้รับสินเชื่อปล่อยใหม่ในเดือนเมษายนลดลงประมาณ 8% โดยกลุ่มที่ผ่อนที่อยู่อาศัยพร้อมกันตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไปลดลงถึง 23% ในขณะที่สินเชื่อปล่อยใหม่ของผู้ที่กู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกยังขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน
ยังสงสัย LTV ปรึกษาใครได้บ้าง
นอกจากมาตรการที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความเข้าใจและการรับรู้ข่าวสารเรื่อง LTV ใหม่ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อหรือไม่กล้าตัดสินใจซื้อ เนื่องจากคิดว่าปล่อยกู้ยาก ต้องวางดาวน์เยอะ
วันนี้ Baania จึงนำช่องทางดีๆ ที่พร้อมให้คำปรึกษาคุณฟรีๆ ในเรื่อง LTV ใหม่ และสินเชื่อต่างๆ นั่นก็คือ ช่องทางของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยคุณสามารถขอคำแนะนำเรื่อง LTV ใหม่ หรือสินเชื่อบ้าน ที่เหมาะกับแต่ละบุคคล ทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าผู้ประกอบการได้ที่นี่ ซึ่ง ธอส. มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะกับทุกคน หลายรูปแบบ ได้แก่
รวมสินเชื่อบ้านต่างๆ เช่น สินเชื่อบ้าน Happy Life, สินเชื่อบ้าน All Home ปี 2562, โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรักปี 2562, สินเชื่อบ้านสุขสันต์ (Refinance in) ปี 2562 เป็นต้น ซึ่งหากสนใจสามารถคลิกอ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
รวมสินเชื่อบ้านเฉพาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อบ้านพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน, สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage), สินเชื่อปลูกสร้างบ้านภายใต้สมาคมฯ ปี 2562 เป็นต้น ซึ่งหากสนใจสามารถคลิกอ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
รวมสินเชื่อบ้านสำหรับผู้ที่ประกอบกิจการ เช่น โครงการสร้างบ้านสร้างอาชีพ (สำหรับผู้ประกอบการอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า), โครงการสินเชื่อบ้านเช่าเป็นต้น ซึ่งหากสนใจสามารถคลิกอ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
หากต้องการปรึกษาเรื่อง LTV ใหม่ หรือ สนใจขอสินเชื่อกับ ธอส. คลิก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
Inbox : m.me/GHBank
ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2645-9000