ความเชื่อในการไหว้พระพรหมนั้นเป็นความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่ได้รับการสืบทอดมาอย่างยาวนานในสังคมไทย จะเห็นได้ว่าในหลายๆ สถานที่ทั่วประเทศไทยนั้นมีการตั้งรูปพรพรหมไว้สักการะกันอย่างมากมาย ในบทความนี้จะมาแนะนำถึงขั้นตอน และวิธีการต่างๆ ในการไหว้พระพรหมอย่างถูกต้อง ที่มาของความเชื่อในเรื่องนี้ รวมไปถึงสถานที่สักการะพระพรหมยอดฮิตในประเทศไทย
ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนในการไหว้พระพรหมนั้นควรรู้ก่อนว่าพระพรหมที่เป็นรูปสักการะนั้นมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ซึ่งการไหว้พระพรหมทั้ง 2 แบบนั้นมีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อ โดยรูปสักการะพระพรหมขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 1 ศอกสามารถอัญเชิญมาตั้งในบ้านได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านั้นต้องทำเป็นสถานสักการะไว้ภายนอกบ้าน
การไหว้พระพรหมที่อยู่ภายในบ้านนั้นให้เริ่มจากการทำเป็นโต๊ะบูชา หรือหิ้งบูชา โดยไม่วางให้ชนิดผนัง คือไม่ควรให้หน้าด้านใดด้านหนึ่งของพระพรหมชิดผนังมากเกินไปนั่นเอง ส่วนขั้นตอนในกรไหว้พระพรหมที่อยู่ในบ้านมีขั้นตอนดังนี้
ส่วนการไหว้พระพหรมที่ตั้งอยู่ภายนอกบ้านนั้นก็ให้ทำตามวิธีการของการไหว้พระพรหมภายในบ้าน แต่ควรไหว้ให้ครบทั้ง 4 ทิศ โดยเริ่มต้นจากหน้าที่อยู่ตรงกลาง และวนไปตามเข็มนาฬิกาจนครบทุกด้านนั่นเอง
ตามความเชื่อในเรื่องการไหว้พระพรหมนั้นพระพรหมทั้ง 4 พักตร์จะมีการให้พรที่แตกต่างกันออกไป และมีวิธีการไหว้แต่ละพักตร์ที่ไม่เหมือนกัน สำหรับผู้ที่ต้องการไหว้ และได้รับพรจากพระพรหมอย่างครบถ้วนนั้นควรไหว้ให้ครบ และการไหว้พระพรหมทั้ง 4 พักตร์ และ 4 ทิศนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้
ด้วยความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ที่ฝังรากลึกลงในสังคมไทยมาอย่างยาวนานทำให้คนไทยที่นับถือความเชื่อในเรื่องพระพรหมอยูเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยมากจะเชื่อว่าพระพรหมนั้นเป็นเทพผู้สร้าง เป็นเทพแห่งความเมตตา รวมไปถึงเป็นเทพผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ให้ดำเนินไปในทิศทางต่างๆ ดังคำที่ว่า “พรหมลิขิต” นั่นเอง ซึ่งการบูชาพระพรหมนั้นเชื่อว่าจะทำให้ผู้ที่บูชามีความสงบสุข มีชีวิตที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจริญรุ่งเรื่องในชีวิต
สำหรับประเทศไทยนั้นมีสถานที่สักการะพระพรหมที่มีชื่อเสียง และมีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้บูชาอยู่หลายสถานที่ ซึ่งแต่ละสถานที่ล้วนแต่ได้รับการยอมรับว่าเมื่อขอพรสิ่งใดแล้วมักจะสมหวังได้ตามคำขอ ไม่ว่าจะเป็น ศาลท่านท้าวมหาพรหม หรือศาลพระพรหมเอราวัณ สี่ราชประสงค์
ซึ่งศาลนี้ถือว่าเป็นต้นแบบการสร้างศาลพระพรหมนอกเทวะสถานของศาสนาพราหมณ์แล้ว ยังมีสถานสักการะพระพรหมอื่นๆ อื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นศาลพระพรหมที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ศาลพระพรหมแยกคลองขวาง หนองแขม และศาลพระพรหมที่อยู่ในเทวะสถานอย่างเช่น พระพรหมในเทวะสถาน(โบสถ์พราหมณ์) หรือพระพรหมในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขกสีลม) เป็นต้น
จากเรื่องราวต่างๆ ในบทความนี้จะเห็นได้ว่าการไหว้พระพรหมนั้นเป็นความเชื่อ และความศรัทธาที่ฝังอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งการไหว้พระพรหมด้วยความศรัทธานั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทุก ทุกวัน และทุกเวลา เพียงแค่สงบจิตและระลึกถึงพระพรหม เพียงเท่านั้นก็ถือว่าเป็นการไหว้พระพรหมแล้ว แต่การไหว้แบบเต็มรูปแบบก็สามารถทำได้ตามคำแนะนำในบทความนี้นั่นเอง