การรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนมีบ้านและกำลังผ่อนให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่จะช่วยยืดระยะเวลาการผ่อน และลดค่าผ่อนบ้านได้หรือบางคนติดปัญหาทางการเงิน ก็ใช้บ้านมาเป็นหลักทรัพย์แม้ว่าจะยังผ่อนบ้านไม่หมดก็สามารถรีไฟแนนซ์ได้
การรีไฟแนนซ์บ้านอธิบายง่าย ๆ ก็คือ การที่ผ่อนบ้านยังไม่หมดแต่นำไปเป็นหลักทรัพย์ยื่นกู้ใหม่โดย ใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ใหม่อีกครั้ง ว่าง่าย ๆ ก็เหมือนการกู้เงินใหม่มาโปะยอดค้างเก่านั่นเอง เรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านนั้น สามารถทำได้ทั้งกับสถาบันการเงินเก่าที่เป็นหนี้ผ่อนบ้านอยู่หรือจะเปลี่ยนสถาบันการเงิน ก็สามารถทำได้
ปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่ง มีโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการ วงเงินด่วนหรือวงเงินฉุกเฉิน และพร้อมที่จะนําสินทรัพย์มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ บางคน ประสบปัญหาทางการเงินแม้ว่าจะยังผ่อนบ้านไม่หมด สามารถนำมาเป็นสินทรัพย์ยื่นกู้ใหม่ โดยเปลี่ยนสถาบันการเงินซึ่งวิธีการเลือกสถาบันการเงินที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้านนั้น จะเลือกแบบไหนดีเรามีคำตอบ
ก่อนทำการรีไฟแนนซ์เราขอแนะนำให้ทุกท่านเปรียบเทียบและขอข้อมูลเพิ่มเติมจากทางสถาบันการเงินที่สนใจก่อนที่จะตัดสินใจทำรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อที่จะได้วงเงินเพียงพอกับความต้องการและค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือน ไม่หนักจนเกินไป
ปัจจุบันมีค่านิยมในกลุ่มคนผ่อนบ้านว่าจะต้องรีไฟแนนซ์ทุก 3 ปีเพื่อหนีอัตราดอกเบี้ยการผ่อนบ้านในปีที่ 4 ขึ้นไปซึ่ง เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยใน 3 ปีแรกซึ่งเราอยากจะบอกว่าเป็นค่านิยมที่ผิด เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นควรทำต่อเมื่อมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นต้องการเงินหมุนเวียนหรืออยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินแต่ไม่อยากให้บ้านถูกยึดหรือเสียเครดิตกับสถาบันการเงินต่าง ๆ
การรีไฟแนนซ์บ้านจะเป็นทางออกที่ทำให้ได้เงินสูงพอที่จะปลดภาระหนี้อื่น ๆ แล้วเหลือเพียงแค่ภาระค่าผ่อนบ้านอย่างเดียว หากให้ตอบว่า ใครควรทำรีไฟแนนซ์บ้าน ก็คงต้องดูที่ความต้องการทางการเงิน และความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้านประกอบกัน
อาจกล่าวได้ว่า การรีไฟแนนซ์บ้านนั้น เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ยื่นขอสินเชื่อที่ประสบปัญหาทางการเงินจนอาจนำมาซึ่งข้อพิพาททางกฎหมายที่ส่งผลร้ายต่อความน่าเชื่อถือของตัวท่านต่อสถาบันการเงิน ดังนั้น การรีไฟแนนซ์บ้าน จึงเป็นวิธีการประนีประนอมที่ส่งผลดีต่อทั้งคู่ แต่สำหรับผู้ยื่นกู้ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวัตถุประสงค์นอกเหนือจากนี้ อาจต้องทบทวนถึงผลกระทบให้ถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจ
ในการรีไฟแนนซ์บ้านแม้ว่าจะให้ประโยชน์ แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีข้อดีแต่เพียงอย่างเดียวหรือมีแต่ข้อเสีย เรามาดูกันว่าข้อดี-ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นเป็นอย่างไร
แม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะเป็น การยืดอายุการเป็นหนี้ ในการผ่อนบ้านที่นำไปกู้ใหม่นั้น บางคนอาจจะเลือกยืดระยะเวลาการผ่อนแต่ลดจำนวนเงินค่าผ่อนบ้านลงจากเดิมเพื่อความสะดวกในการหมุนเวียน วงเงินเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นก็มีข้อดี เช่น
รับทราบข้อดีกันไปแล้ว ที่นี้มาดูข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้านกันบ้างว่ามีอะไรที่ควรทราบและจะได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
นี่เป็นข้อดีข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้านที่เห็นได้ชัดที่สุด ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและความเหมาะสมในการเลือกรีไฟแนนซ์บ้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวงเงินส่วนต่างนั้น ควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะไม่ทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านกลายเป็นหนี้หรือกลายเป็นเพิ่มภาระโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา
สำหรับขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านนั้น หลักเกณฑ์ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้กำหนดแต่หลักเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปก็จะคล้ายกัน คือ
นี่คือขั้นตอนคร่าว ๆ ในการยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านซึ่งแต่ละสถาบันการเงินอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปอีกขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่มีระบุไว้
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำการรีไฟแนนซ์บ้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่เราแนะนำมาทั้งหมดนี้คือ ข้อมูลที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงการรีไฟแนนซ์บ้านได้มากขึ้น แต่อย่าลืมเปรียบเทียบข้อมูลของสถาบันการเงินที่คุณสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวงเงิน อัตราดอกเบี้ย ขั้นตอนเงื่อนไขเอกสารต่าง ๆ และนำให้ศึกษาอย่างละเอียด หากไม่เข้าใจสอบถามจากพนักงานของสถาบันการเงินนั้น ๆ จะได้ข้อมูลในเชิงลึกที่ละเอียดและทำให้คุณเข้าใจมากขึ้น
จริง ๆ แล้วทุกสถาบันการเงินยินดีให้คำปรึกษากับลูกค้า ดังนั้นก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมใด ๆ ลงไป ควรทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อสามารถรีไฟแนนซ์บ้านให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และยังเหลือวงเงินส่วนต่างจากการปลดหนี้เก่าเพื่อนำไปใช้เสริมสภาพคล่องทางการเงิน หรือทำให้คุณมีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รีไฟแนนซ์บ้านคือทางออกที่ดีของผู้ที่ต้องการลดภาระ ค่าผ่อนบ้าน ในแต่ละเดือนหรือต้องการวงเงินหมุนเวียน เพื่อมาเสริมสภาพคล่องทางการเงิน แต่ควรจะต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยยึดหลักของความจำเป็นและความเหมาะสมเป็นสำคัญ เพราะการกู้ใหม่เพื่อโปะหนี้เก่าอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการรีไฟแนนซ์เสมอไป เพราะหากผู้อยู่อาศัยใช้เงินผิดประเภท การรีไฟแนนซ์บ้านก็อาจเป็นเหตุให้ต้องพบกับความสูญเสียอันคาดไม่ถึงก็เป็นได้