เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักตะปู เพราะว่าตะปูนั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการก่อสร้าง และการทำงานช่างต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการยึดวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าตะปูนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน มีการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับตะปุประเภทต่างๆ รวมไปถึงความลับของตะปูที่หลายๆ คนไม่เคยรู้มาก่อน
ตะปูนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานช่าง และการก่อสร้างมาอย่างยาวนาน เมื่อย้อนลงไปมีบันทึกเรื่องการใช้ตะปูตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และมีการใช้ตะปูเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน โดยที่วิวัฒนาการในการในการผลิตตะปูก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ช่างในอดีตผลิตตะปูจากวัสดุต่างๆ ด้วยการสร้างขึ้นมาทีละชิ้น จนมาถึงปี ค.ศ. 1800 ก็มีการสร้างเครื่องจักรเพื่อผลิตตะปูขึ้นมาได้สำเร็จ และมีการพัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องจักรผลิตตะปูอัตโนมัติแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตะปูแต่ละประเภทนั้นมีรูปแบบของการใช้งานที่แตกต่างกันทำให้สามารถแบ่งประเภทของตะปูได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
ด้วยความต้องการในการใช้งานของตะปูที่มีหลากหลายรูปแบบ ใช้กับวัสดุหลากหลายประเภท และหลากหลายขนาด ทำให้ตะปูนั้นมีขนาดความยาวที่แตกต่างกัน โดยขนาดของตะปูที่ใช้งานโดยทั่วไปในแต่ละประเภทนั้นจะมีขนาดดังต่อไปนี้ ตะปูตอกไม้แบบทั่วไป และตะปูตอดสังกะสีจะมีขนาดความยาวตั้งแต่ ½ นิ้ว ไปจนถึง 6 นิ้ว ส่วนตะปูตอกไม้แบบหัวเล็ก หรือตะปูเข็มส่วนมากจะมีขนาดความยาวตั้งแต่ ½ นิ้ว ไปจนถึง 3 นิ้ว สำหรับตะปูตอกคอนกรีตจะมีเริ่มต้นที่ขนาดความยาว 1 นิ้ว ไปจนถึง 4 นิ้ว
ขนาดความยาวของตะปูนั้นจะเพิ่มขึ้นครั้งละ ½ นิ้ว ดังนั้นการเลือกซื้อตะปูเพื่อใช้งานจำเป็นต้องรู้ขนาดของวัสดุที่ต้องการยึดติดเข้าด้วยกันก่อน ถึงจะสามารถเลือกขนาดตะปูที่เหมาะสมได้ เพราะถ้าเลือกใช้ตะปูผิดขนาดไม่ว่าจะสั้นไป หรือยาวไป ล้วนจะส่งผลให้การยึดติดชิ้นงานนั้นไม่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่นถ้าใช้ตะปูสั้นเกินไปก็จะไม่สามารถยึดชิ้นงานได้แข็งแรง แต่ถ้าใช้ตะปูยาวเกินไปปลายของตะปูก็จะโผล่ออกมาทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยเป็นต้น
ตะปูตอกไม้แบบหัวเล็ก หรือตะปูเข็มจัดเป็นตะปูตอกไม้ประเภทหนึ่งที่มีขนาดของหัวตะปูเล็กกว่าตะปูตอกไม้แบบทั่วไป การทำตะปูเข็มที่มีหัวตะปูขนาดเล็กเนื่องจากต้องการให้หัวตะปูนั้นจมลงไปในเนื้อไม้ ทำให้สามารถซ่อนรอยตอกตะปูได้ ซึ่งตะปูเข็มจะใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ หรืองาน DIY ที่ต้องการความเรียบร้อยสวยงามมากกว่าปกตินั่นเอง
วิธีการซ่อนหัวตะปูเข็มลงไปในชิ้นงานไม้นั้นสามารถทำได้โดยการตอกตะปูเข็มลงไปให้แนบสนิทกับชิ้นงาน ใช้เหล็กส่ง หรือตะปูวางลงบนหัวตะปูเข็มแล้วตอกให้ตะปูเข็มจมลงไปในเนื้อไม้ แล้วใช้วัสดุโป๊วไม้อุดรูตะปูให้เรียบร้อย จากนั้นก็ให้ทำทำการขัดลบรอยต่างๆ ให้เรียบก็จะไม่เห็นรอยตะปูเข็มที่ตอกลงไป
การตอกตะปูเพื่อยึดวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกันนั้นบางครั้งก็ต้องใช้เทคนิคเล็กน้อย เพราะบางวัสดุนั้นมีความแข็งมากกว่าปกติอย่างเช่นคอนกรีต ทำให้ไม่สามารถตอกตะปูเข้าไปได้ง่ายเหมือนการตอกกับวัสดุที่เป็นไม้ การตอกตะปูคอนกรีตที่ถูกวิธีจะทำให้ผนังคอนกรีตนั้นไม่แตกร้าว และสามารถตอกเข้าได้โดยง่าย
วิธีการตอกตะปูคอนกรีตที่ถูกต้องนั้นเริ่มต้นด้วยการนำสก็อตเทปมาแปะบริเวณที่ต้องการตอกตะปูประมาณ 2 – 3 ชั้น ซึ่งการแปะสก็อตเทปนั้นจะช่วยไม่ให้ปูนที่ฉาบผนังอยู่แตกในขณะที่ตอกตะปูเข้ากับผนังคอนกรีต จากนั้นค่อยๆ ตอกตะปูคอนกรีตลงไปเบาๆ เพื่อให้ผนังนั้นเป็นรูทีละน้อย เมื่อผนังเป็นรูจนส่วนหัวของตะปูคอนกรีตสามารถจมเข้าไปในผนังได้แล้วจึงค่อยเพิ่มแรงในการตอก เพียงเท่านี้การตอกตะปูคอนกรีตโดยที่ผนังไม่แตกร้าวก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
การที่จะต้องยึดวัสดุ 2 ประเภทคือไม้กับปูนเข้าด้วยกันนั้นสำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านงานช่างอาจจะไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เพราะตะปูตอกไม้ก็ไม่สามารถเจาะเข้าไปในผนังคอนกรีตได้ ตะปูตอกคอนกรีตก็เจาะเนื้อไม้ได้ไม่ดี วิธีการติดไม้เข้ากับผนังปูนแบบง่ายที่สุดคือการใช้ตะปูเกลียวนั่นเอง
การใช้ตะปูเกลียวยึดไม้เข้ากับผนังปูนนั้นทำได้โดยนำไม้ที่เราต้องการยึดติดกับผนังปูนมาทาบบริเวณผนังที่ต้องการติด จากนั้นใช้สว่านเจาะไม้ทะลุถึงผนังปูนเพื่อให้ผนังปูนเป็นรอยมาร์ค โดยรูที่เจาะต้องขนาดเล็กกว่าขนาดของตะปูเกลียวที่จะใช้ จากนั้นให้ใช้สว่านเจาะผนังปูนตามรอยมาร์คให้ได้ความลึกตามต้องการแล้วผังพุกคอนกรีตลงไป นำไม้มาวางตามตำแหน่งที่กำหนดไว้แล้วใช้ตะปูเกลียวไขยึดให้แน่น เพียงเท่านี้ก็สามารถยึดไม้ติดกับผนังปูนได้เรียบร้อย
การที่เจาะรูที่ไม้ในครั้งแรกต้องเจาะเป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดของตะปูที่จะใช้เพราะว่าเวลาที่ทำการไขตะปูเกลียวลงไปจะได้ไม่หลวม ถ้าเจาะรูใหญ่เกินไปตะปูเกลียวจะไม่สามารถยึดไม้ได้แน่นนั่นเอง และความยาวของตะปูเกลียวที่ใช้ต้องยาวกว่าความหนาของไม้ 1 นิ้วเป็นอย่างน้อย ยกตัวอย่างเช่นถ้าไม้มีความหนา 1 นิ้ว ต้องใช้ตะปูเกลียวยาว 2 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อให้การยึดติดเป็นไปอย่างแข็งแรง
การตอกตะปุประเภทต่างๆ นั้นจะว่าเป็นงานที่ง่ายก็ไม่เชิง แต่จะบอกว่าเป็นงานที่ยากเกินไปก็ไม่ใช่ การตอกตะปูเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ และความชำนาญพอสมควร ซึ่งเทคนิคต่างๆ ในการตอกตะปูเพื่อให้สามารถทำงานได้ง่าย และงานออกมาสมบูรณ์มีดังนี้
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับตะปูที่ได้นำเสนอในบทความนี้ จะเห็นได้ว่าตะปูนั้นเป็นอุปกรณ์ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างมาตั้งแต่ครั้งอดีต และตะปูยังสามารถแบ่งตามประเภทการใช้งานได้อีกหลากหลายประเภท รวมไปถึงมีเทคนิคสำหรับการตอกตะปูในแต่ละวัสดุที่แตกต่างกันออกไป