การยื่นขอกู้เงินกับสถาบันการเงินแล้วถูก ปฏิเสธการให้สินเชื่อมีสาเหตุหลักๆอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1.การปฏิเสธเนื่องจากผิดวัตถุประสงค์ 2.ปฏิเสธเนื่องจากตัวผู้กู้ (ซึ่งได้กล่าวในบทที่แล้ว) 3.ปฏิเสธเนื่องจากความสามารถชำระหนี้ 4.ปฏิเสธอันเนื่องจากหลักประกัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
ธนาคารปฏิเสธสินเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับความสามารถชำระหนี้
* รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
เหตุผลสำคัญที่ธนาคารจะปฎิเสธการให้สินเชื่อเมื่อผู้กู้มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้จะเป็นเหตุผลหลัก เพราะหากผู้กู้ได้เงินกู้ไปแต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ย่อมทำให้เกิดหนี้มีปัญหา ซึ่งไม่เป็นที่พึงประสงค์ทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้เกณฑ์ในการวัดคืออัตราผ่อนชำระหนี้ควรไม่เกินหนึ่งในสามของรายได้แต่เกณฑ์ดังกล่าวหากผู้กู้มีรายได้อื่นพิเศษหรือเงินออมก็สามารถให้ความยืดหยุ่นได้บ้าง
* รายได้ที่ตรวจสอบไม่ตรงกับข้อมูลจริงและไม่เพียงพอชำระหนี้
ในการพิจารณาข้อมูลที่ลูกค้าแจ้งขั้นต้นจะต้องตรวจสอบกับหลักฐานที่ลูกค้าให้กับธนาคาร ธนาคารอาจต้องมีการสอบยัน (Verification) โดยอาจสอบยันไปยังสถานที่ทำงาน หรือถ้าเป็นการประกอบธุรกิจจำเป็นต้องออกไปเยี่ยมชมกิจการก็เป็นได้ซึ่งในกรณีที่หลักฐานกับข้อมูลไม่ตรงกัน เช่น การให้ข้อมูลที่สูงกว่าความเป็นจริงที่สอบยันได้ก็จะพิจารณาปรับลดลงตามจริง โดยเมื่อพิจารณากับการผ่อนชำระต้องเพียงพอด้วย หรือปฏิเสธสินเชื่อรายนั้น
* เอกสารปลอม
เอกสารที่ถูกปลอมหรือแก้ไขมากที่สุดจะเป็นการเดินรายการบัญชีของธนาคาร (Statement) เนื่องจากเป็นหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของรายได้เอกสารด้านหนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง เอกสารสลิปเงินเดือน และหลักฐานที่แสดงถึงตัวตนของผู้กู้เช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนการค้า และหลักฐานแสดงอาชีพที่มีใบประกอบโรคศิลปะ สถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบจากแหล่งที่มาใน กรณีที่สงสัยและเช็คสอบดูแล้วว ่าข้อมูลขัดแย้งกัน เป็นต้น
* เป็นสินเชื่อพึงระมัดระวัง มีความเสี่ยงสูง
สินเชื่อที่ให้กู้กับบุคคลบางประเภท ที่ ปปง. จัดให้เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง ต้องการการตรวจสอบและรายงาน เช่น กลุ่มค้าวัตถุโบราณ กิจการ แลกเปลี่ยนเงินตรา กิจการทัวร์ กิจการค้าอาวุธยุทธโธปกรณ์และสินเชื่อพึงระมัดระวัง ได้แก่ การให้กู้แก่ นักการเมือง เป็นต้น
* ประวัติผ่อนชำ ระไม่ตรงตามเงื่อนไข
ในกรณีเคยกู้กับสถาบันการเงินอื่น เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลกับเครดิตบูโร หากปรากฏว่ามีประวัติ
การผ่อนชำระไม่ตรงตามกำหนด หรือน้อยกว่าเงื่อนไข ที่กำหนดก็อาจถูกปฏิเสธได้
ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อเกี่ยวเนื่องกับหลักประกัน
* หลักประกันมีสภาพด้อย ในกรณีตรวจสอบว่าหลักประกันมีสถาพด้อย เช่น อยู่ในแนวเขตเสาไฟฟ้าแรงสูง แนวผันน้ำ ที่ดินถูกน้ำกัดเซาะ ใกล้วัด ฯลฯ อาจทำให้มูลค่าหลักประกันด้อยค่าลง ก็อาจถูกปฏิเสธได้
* ราคาซื้อขายไม่น่าเชื่อถือ ในบางกรณีโดยเฉพาะที่ดินในภูมิภาค อาจมีการประเมินราคาสูง
กว่าความเป็นจริง อันเนื่องจากขาดความรู้และเกิดจากการทุจริตได้แต่ปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่จะใช้การรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นผู้ตรวจสอบอีกครั้งก่อนให้กู้ยืม
สาเหตุที่ธนาคารระงับสินเชื่อ
เตรียมตัวขอสินเชื่อกับธนาคารดีแค่ไหน
ในการวางแผนเพื่อเป็นเจ้าของบ้านในฝัน นอกเหนือจาการเลือกทำเล บ้านที่เหมาะกับล์สไตล์ของตนเอง ตลอดจนสำรวจและประเมินความสามารถทางการเงินของตนเอง ทั้งในด้านเงินออม เงินในอนาคตสำหรับผ่อนชำระ รวมทั้งการเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในด้านรายได้ และประวัติการชำระหนี้ ภาระหนี้สินต่อรายได้ ซึ่งผู้ขอกู้ถ้าหากมั่นใจว่าเตรียมพร้อมแล้ว แต่จะมีส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดพลาดจนอาจทำให้ธนาคารปฎิเสธการขอกู้เงินได้ คงต้องมาดูกันว่าสาเหตุที่ถูกธนาคารปฎิเสธสินเชื่อเนื่องด้วยเหตุอันใด
สาเหตุหลักที่ธนาคารปฎิเสธสินเชื่อซื้อบ้าน
โดยทั่วไปธนาคารจะไม่ค่อยปฎิเสธสินเชื่อแก่ผู้ขอกู้ง่าย ๆ หากไม่มีเหตุที่เข้าเกณฑ์ความเสี่ยง และถึงแม้ว่าจะไม่เข้าเกณฑ์ก็จะพิจารณายืดหยุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะยอมได้อยู่แล้ว เพราะการหาลูกค้าทุกรายก่อนนำเสนอสินเชื่อมีต้นทุนในการหาลูกค้าอยู่แล้ว ดังนั้น หากพิจารณาสาเหตุในการปฎิเสธสินเชือเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ แบ่งได้ดังนี้
๐ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ การขอกู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อซื้อบ้าน ไม่ใช่เพื่อเก็งกำไร
๐ เกี่ยวกับตัวผู้กู้ รวมถึงตัวผู้กู้ร่วม(ถ้ามี) หมายถึงคุณลักษณะของผู้กู้ ทั้งในด้านอายุ อาชีพการงาน ประวัติการค้างชำระหนี้ ภาระหนี้ต่อรายได้ ฯลฯ
๐ เกี่ยวกับความสามารถชำระหนี้ หมายถึงรายได้ เงินออม เงินลงทุนของผู้กู้ ที่สามารถผ่อนชำระตามเกณฑ์
๐ เกี่ยวกับหลักประกัน หมายถึงหลักประกันที่คุ้มความเสี่ยง หลักประกันไม่ด้อยคุณภาพ เป็นต้น
ธนาคารปฎิเสธสินเชื่ออันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการกู้
ลูกหนี้เก็งกำไร ในภาวะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู จนถึงขั้นฟองสบู่ คือไม่ได้มีการซื้อไปเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง แต่ซื้อไว้เพื่อขายต่อ ทำกำไรจากการซื้อถูก และนำไปขายแพง ทำให้มีการสร้างบ้านเพิ่มขึ้นมากกว่าความต้องการที่แท้จริง เมื่ออุปทานมีมากเกินไปเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะไม่มีการซื้อขายต่อ เพราะราคาได้ขึ้นไปมาก คนที่ต้องการขายต่อ แต่ขายไม่ได้ก็ไม่มีเงินมาชำระหนี้ ก็ทำให้หนี้มีปัญหา เป็นสาเหตุทำเกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ ธนาคารถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้กู้ไม่ได้มีความจำเป็น แต่ซื้อเพราะต้องการเก็งกำไร ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ธนาคารปฎิเสธสินเชื่อได้
ผิดวัตถุประสงค์ในการกู้ ลูกหนี้ที่ทำธุรกิจโดยใช้อาคารพาณิชย์เป็นสถานประกอบการ ต้องการมาขอกู้เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยเนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ระยะเวลายาวกว่า ซึ่งรายได้ที่มาชำระหนี้เกิดจากการประกอบการโดยใช้อาคารดังกล่าว จะถือว่าเป็นสินเชื่อที่ผิดวัตถุประสงค์ในการขอกู้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ธนาคารปฎิเสธสินเชื่อนั้นได้
ลูกหนี้จัดตั้ง ในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มตกต่ำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหา ขายบ้านไม่ได้ อาจประสบปัญหาทางการเงิน และไม่มีความรับผิดชอบ อาจหาลูกหนี้ที่ไม่ใช่ผู้ซื้อบ้านที่แท้จริง มาเป็นลูกหนี้จัดตั้งมาขอกู้เงินแทน ซึ่งในที่สุดก็จะมีปัญหาในการชำระหนี้ได้ นี่เป็นสาเหตุที่ธนาคารปฎิเสธสินเชื่อรายนั้นได้
สาเหตุธนาคารระงับสินเชื่อ (2)
ในบทก่อนได้กล่าวถึง การวางแผนเพื่อเป็นเจ้าของบ้านในฝัน นอกเหนือจาการเลือกทำเล บ้านที่เหมาะกับสไตล์ของตนเอง ตลอดจนสำรวจและประเมินความสามารถทางการเงินของตนเอง ทั้งในด้านเงินออม เงินในอนาคตสำหรับผ่อนชำระ รวมทั้งการเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในด้านรายได้ และประวัติการชำระหนี้ ภาระหนี้สินต่อรายได้ โดยได้ยื่นขอกู้เงินกับสถาบันการเงินแล้วถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อ ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ 4 ประการ อันได้แก่ การปฏิเสธ เนื่องจากกผิดวัตถุประสงค์ (ซึ่งได้กล่าวในบทที่แล้ว) ปฎิเสธเนื่องจากตัวผู้กู้ ปฎิเสธเนื่องจากความสามารถชำระหนี้ และปฎิเสธอันเนื่องจากหลักประกัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นลำดับดังต่อไปนี้
ธนาคารปฎิเสธสินเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับตัวผู้กู้
๐ ผู้กู้ติดแบล๊คลิสท์ หรือเป็นหนี้มีปัญหา
ธนาคารเป็นสถาบันการเงินที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าซึ่งนำเงินมาฝากกับธนาคารเป็นสำคัญ การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่เคยเป็นหนี้มีปัญหาหรือที่เรียกว่าติด แบล๊กลิสท์ ซีงได้แก่การเป็นหนี้มีปัญหาค้างชำระหนี้ การถูกฟ้องร้อยดำเนินคดีเพื่อบังคับจำนอง การเป็นบุคคลที่ต้องเอาใจใส่เช่นเป็นผู้ถูกแจ้งขอหาในการทุจริตไม่ว่ากรณีใด ๆ หรือเป็นผู้หลอกลวงประชาชน (แชร์ลูกโซ่) เป็นต้น เหตุเหล่านี้ทำให้ธนาคารปฎิเสธสินเชื่อได้
๐ ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนสินเชือ
ในการพิจารณาสินเชื่อรายย่อย ซึ่งมีข้อมูลให้พิจารณาจากการให้ข้อมูลของลูกค้า มีปัจจัยต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องให้กับสถาบันการเงิน ในแต่ละปัจจัย เช่น อายุ เพศ การศึกษา อายุงาน ประเภทอาชีพ ที่มารายได้ ฯลฯ ในปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่ได้นำข้อมูลแต่ละปัจจํยมาประมวลผลจากข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ ของลูกค้าจำนวนมาก ที่มีผลทั้งด้านการเป็นลูกค้าดีและด้านลูกค้าเป็นหนี้มีปัญหา มาประมวลผลหาเกณฑ์ว่าข้อใด มีความเสี่ยงมากหรือน้อยเพียงใด โดยรวมเป็นเกณฑ์พิจารณาคะแนนสินเชื่อ เรียกว่า Credit Scoring ซึ่งหากลูกค้ารวมคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารก็จะปฎิเสธสินเชื่อก็ได้ หรือหากไม่ผ่านเกณฑ์ถ้าจะอนุมัติก็จะมีเงื่อนไขกำหนด เช่นผู้กู้หลักไม่ผ่านคะแนนก็อาจให้เพิ่มผู้กู้ร่วมอีก เป็นต้น
๐ ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำพิจารณาสินเชื่อ
ในการพิจารณาสินเชื่อ ธนาคารจะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการพิจารณาในแต่ละปัจจัย เรียกว่า เกณฑ์ขั้นต่ำพิจารณาสินเชื่อ (Minimum Credit Parameters) เช่น อายุผู้กู้ต้องไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และ ไม่เกินกว่า 65 ปี ต้องไม่เคยถูกฟ้องร้องโดยธนาคาร ไม่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงมาก เป็นต้น หากผู้กู้ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำก็อาจถูกปฎิเสธสินเชื่อได้
๐ ผู้กู้ติดเครดิตบูโร มีปัญหา
ผู้กู้ต้องลงนามยินยอมให้ธนาคารรับทราบผลการตรวจสอบเครดิตบูโร ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเก็บข้อมูลลูกค้าของสมาชิก ซึ่ง หากปรากฏผลการตรวจสอบ เป็นลูกค้าที่มีผลค้างชำระเกินกว่ากำหนด ซึ่งเข้าข่ายเป็นหนี้มีปัญหา หากไม่มีเหตุสมควรและยังไม่ชำระหนี้ที่ค้างเพื่อให้หมดปัญหา ธนาคารก็จะปฎิเสธสินเชื่อได้
๐ ไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดทางราชการ เช่น กม.ฟอกเงิน การก่อการร้าย
หากธนาคารตรวจสอบข้อมูลการขอสินเชื่อที่เข้าเกณฑ์กฎหมายฟอกเงิน หรือการก่อการร้าย ธนาคารก็จะปฎิเสธการให้สินเชื่อได้
๐ ความสัมพันธ์ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม ไม่เกี่ยวข้องกัน
ในการขอกู้เงินสำหรับผู้กู้บางราย อาจมีปัญหาตัวผู้กู้ดังกล่าวข้าง ต้น หรือมีมีปัญหาในด้านความสามารถในการผ่อนชำระ อาจขอเพิ่มผู้กู้ร่วมเพื่อแก้จุดอ่อนในตัวผู้กู้เดิม แต่เหตุผลในการเพิ่มผู้กู้ร่วมถ้าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นเป็นบิดามารดา- บุตร สามี- ภรรยา หรือพี่น้องที่ได้เกี่ยวข้องกับการเข้าอยู่อาศัย ก็จะเป็นเหตุผลที่เชื่อได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่หากเป็นเพื่อน หรือไม่มีส่วนเกี่ยวพัน เช่นไม่ได้มาผ่อนชำระจริง ไม่ได้อยู่อาศัยในบ้านจริง ก็จะถูกธนาคารปฎิเสธสินเชื่อได้
ผู้เขียน : มีชัย คงแสงชัย
ผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยของไทย
อดีตผู้จัดการสายสินเชื่อบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์
ปัจจุบันเป็นกรรมการและเหรัญญิก สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย