การผ่อนบ้านแต่ละหลังนั้นใช้เวลานาน และอาจมีบางช่วงเวลาที่ผู้ซื้อรู้สึกว่าไม่มีกำลังในการผ่อนต่อ วันนี้จึงนำข้อมูลพร้อมขั้นตอนการประนอมหนี้บ้านมาฝากเพื่อเป็นทางเลือก ให้กับผู้ที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ ซึ่งขั้นตอนที่แนะนำ เป็นทางออกสำหรับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านไม่ไหว
การประนอมหนี้ก็คือการขอเจรจรา ในข้อตกลงเรื่องหนี้สิ้นการผ่อนชำระ อย่างเช่นการขอผ่อนผัน การขอลดหย่อน เป็นต้น เพื่อให้เกิดการยืดเวลาในการผ่อนชำระ หรือในบางกรณีอาจจะมีการขอหยุดชำระหนี้เป็นชั่วคราว ซึ่งข้อดีของการขอประนอมหนี้ คือเลี่ยงการโดนฟ้องและยึดสินทรัพย์ อีกทั้งยังช่วยลดภาระในการชำระหนีได้ในระยะหนึ่ง
ขั้นตอนการประนอมหนี้บ้านทั้ง 5 ประเภท
เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุด สำหรับการขอพักชำระหนี้นั้นเป็นมาตรการจากรัฐบาล ที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้เป็นนี้ ฉะนั้นธนาคารในประเทศไทยทุกแห่ง จะมีแผนการช่วยเหลือในส่วนนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ต่อ มีทางเลือกที่มากกว่าการโดนยึดทรัพย์สิน โดยจะแบ่งแยกย่อยเป็น 3 ประเภทดังนี้
สำหรับการพักชำระเงินต้นนั้น สามารถทำได้เฉพาะในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น โดยจะช่วยแบ่งเบาภาระในแต่ละเดือนได้ส่วนหนึ่ง แม้ไม่มากเท่าไหร่นักแต่ก็ถือว่ายังได้ประนีประนอมหนี้ ซึ่งทางธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยเหลืออีกทาง ซึ่งแน่นอนว่าเงินจำนวนต้นจะยังคงเท่าเดิมอยู่ เมื่อครบกำหนดการพักชำระหนี้แล้ว จะต้องกลับมาชำระตามเดิม
เป็นการขอพักชำระหนี้แบบเลื่อนจ่าย ทั้งส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย จึงทางธนาคารจะให้ระยะเวลาประมาณ 3 – 6 เดือนสำหรับการพักชำระประเภทนี้ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระ ให้กับผู้เป็นหนี้ได้หาทางนำเงินมาในช่วงถัด ๆ ไปได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ขอปรับลดเงินผ่อนชำระ
เป็นการขอปรับลดเงินค่างวดลง แต่ยังคงมีการผ่อนชำระทั้งส่วนต้นและดอกเบี้ยตามปกติ ซึ่งการปรับลดเงินลงนั้น จะมีสัดส่วนและต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่ธนาคารกำหนดไว้ และบางธนาคารนั้นจะมีการลดค่างวดพร้อมกับขยายเวลาการพักชำระหนี้ให้ด้วย
ปัจจุบันมีหน่วยงานศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ชื่อย่อว่า ศคง. โดยเป็นช่องทางสำหรับประชาชนทั่วไปและสำหรับธุรกิจรายย่อย ที่มีปัญหาในการชำระหนี้ อย่างเช่นการผ่อนที่อยู่อาศัย เป็นต้น หากได้เคยยื่นเรื่องขอพักชำระหนี้กับทางธนาคารมาก่อน แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ก็สามารถติดต่อที่ศูนย์ช่วยเหลือได้ โดยจะเป็นตัวกลางประสานงานระหว่างผู้ขอพักชำระกับทางธนาคาร ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะผ่านการอนุมัติ
เป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ต้องการประนอมหนี้บ้าน การเจรจากับทางสถาบันการเงิน เพื่อขอปรับโครงสร้างนี้นั้น ทำได้ไม่ยากแล้วในปัจจุบัน และมีหลายวิธีอย่างเช่น การขยายเวลาในการผ่อน การลดจำนวนเงินผ่อนชำระ หรือเลือกเฉพาะจ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นต้น การปรับโครงสร้างหนี้นั้น ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน เพราะหากผิดนัดชำระเพียงแค่ครั้งเดียว ก็จะทำให้โดนยึดทรัพย์สินได้
หรือการขอเปลี่ยนธนาคารขอสินเชื่อบ้าน เพื่อปรับลดดอกเบี้ยลง เป็นอีกหนทางในการประนอมหนี้ ซึ่งดอกเบี้ยบ้านปกติจะไม่แพงใน 3 ปีแรก และต่อจากนั้นจะขึ้นราคาดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ ตามจำนวนปีจนกว่าจะชำระครบทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า ยิ่งหลายปีมากเข้าดอกเบี้ยก็มากโข จนบางครั้งอาจทำให้ไม่สามารถจ่ายไหว โดยเฉพาะเมื่อโดนเศรษฐกิจโดนพิษ Covid – 19 อย่างในปัจจุบัน ซึ่งหนทางแก้ไขด้วยการขอรีไฟแนนซ์ แม้ขึ้นตอนจะยุ่งยากเสียหน่อย แต่จะได้รับการปรับลดดอกเบี้ยที่มากขึ้น ทำให้แบ่งเบาภาระไปได้เยอะ
หากไม่มีทางเลือกแล้วจริง ๆ การโอนบ้านให้ธนาคารเป็นการชั่วคราว ถือว่ายังไม่ได้ขายสิทธิ์ขาด เพียงแค่ฝากเป็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วค่อยซื้อคืนในภายหลัง ซึ่งจะมีการทำสัญญาเช่าเป็นรายปี ตามที่ธนาคารนั้น ๆ จะกำหนดเงื่อนไขในส่วนของค่าเช่า โดยมากจะอยู่ที่ 0.4-0.6% ของมูลค่าทรัพย์สิน
ทั้ง 5 ขั้นตอนสามารถทำได้ทั้งหมดเพื่อขอประนอมหนี้บ้าน ซึ่งทางเลือกประนอมหนี้กับธนาคารถือว่าเป็นทางออกที่ปลอดภัยมากที่สุด หากคิดว่าเริ่มไม่ผ่อนไม่ไหว ให้เริ่มทำเรื่องประนอมหนี้โดยเร็ว เพราะประวัติการผ่อนชำระยังไม่มีปัญหา จึงทำให้ผ่านการอนุมัติได้ง่ายกว่า แต่หากปล่อยเอาไว้นานจนมีการผิดนัดชำระ ก็จะทำให้ธนาคารอนุมัติยากขึ้น หนทางในการขอประนอมหนี้ก็จะมีไม่มาก ทำให้อาจเกินการยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด จะซื้อกลับมาในภายหลังก็ไม่คุ้มเสียแล้ว ฉะนั้นการประนอมหนี้บ้านเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำ หากคิดว่าขณะนี้ไม่พร้อมที่จะผ่อนชำระต่อ