ภาษีโอนที่ดิน คือค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของที่ดินต้องการยกที่ดินให้กับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะพ่อแม่โอนให้ลูก สามีภรรยาโอนที่ดินให้กัน ปู่ย่าตายายให้หลาน โอนให้ลูกเขยลูกสะใภ้ หรือการโอนให้พี่น้อง รวมถึงซื้อขายธรรมดา ไม่ว่าจะยกที่ดินให้ใครแบบไหนก็ล้วนแต่มีค่าใช้จ่ายในการโอนด้วย เรามาดูกันครับว่า ภาษีโอนที่ดินต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง และเหมือนหรือต่างกันอย่างไรระหว่างโอนให้คนในครอบครัวกับซื้อขายธรรมดา
ในการทำเรื่องโอนที่ดินโดยปกติแล้ว ค่าธรรมเนียมการโอนจะต้องเสีย 2% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย ซึ่งจะต้องใช้ราคาสูงสุดในการคำนวณ แต่ตอนนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนและจดจำนองให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% ในกรณีที่ซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งจะต้องโอนและจดจำนองต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน โดยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563
ในการทำเรื่องโอนที่ดินโดยปกติแล้ว ค่าธรรมเนียมการจดจำนองจะต้องเสีย 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ตอนนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท จากเดิม 1 % เหลือ 0.01 % ในกรณีที่ซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่ง ค่าธรรมเนียมการจดจำนองต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน โดยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563
ภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งจะต้องจ่าย 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้ว ซึ่งหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปีจะไม่ต้องจ่าย ซึ่งหากชำระค่าอากรแสตมป์แล้วจะไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้
สำหรับค่าอากรแสตมป์จะคิดจากราคาซื้อขายหรือราคาประเมินในอัตรา 0.5% โดยหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปีจะไม่ต้องจ่าย ซึ่งหากเสียภาษีธุรกิจจำเฉพาะแล้วจะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์
หากผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้ฯ 1% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย แต่หากเป็นบุคคลธรรมดาแล้วที่ดินที่ได้จากมรดกหรือมีคนให้มาโดยเสน่หาจะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่หากเป็นที่ดินที่ไม่ใช่มรดกหรือไม่ได้มีคนให้มาโดยเสน่หาสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงหรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาการถือครองที่ดินสูงสุด 10 ปี
นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีก เช่น ค่าคำขอ 5 บาท, ค่าพยาน 20 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท
หากพ่อหรือแม่ต้องการโอนที่ดินให้ลูกจะต้องมีค่าใช้จ่ายหลักๆ ตามนี้
สำหรับพ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรสกัน แล้วต้องการจะยกที่ดินแปลงนั้นๆ ให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้เป็นแม่ต้องการจะยกที่ดินให้ลูก โดยลูกจะชอบทางกฎหมายเสมอสำหรับผู้เป็นแม่ การเสียภาษีโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการเสียภาษีโอนที่ดินที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลักๆ ดังนี้
สำหรับพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือผู้เป็นพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่กำเนิด ต่อมาผู้เป็นพ่อต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลักๆ ดังนี้
สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการยกที่ดินให้กับลูกบุญธรรม จะต้องเสียค่าภาษีเหมือนกับญาติพี่น้องครับ เพราะตามกฎหมายจะยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ภาษีธุรกิจจำเพาะ อากรแสตมป์ให้แก่ผู้ที่สืบสันดานตามสายเลือดเป็นหลักครับ ดังนั้นหากพ่อแม่จะโอนที่ดินให้ลูกบุญธรรมจะต้องเสียค่าภาษีโอนที่ดินดังนี้ครับ
การยกที่ดินให้ระหว่างสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสจะต้องเสียค่าภาษีโอนที่ดินดังนี้ครับ
การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด เช่น ปู่ให้หลาน พ่อให้น้อง จะต้องเสียค่าภาษีโอนที่ดินดังนี้ครับ
การยกที่ดินให้กับลูกสะใภ้หรือลูกเขยนั้น จะมีค่าใช้จ่ายค่าภาษีโอนที่ดินแบบซื้อขายทั่วไปดังนี้ครับ
สำหรับการซื้อขายที่ดินทั่วไป หรือการโอนที่ดินให้กับบุคคลอื่นจะมีค่าใช้จ่ายภาษีโอนที่ดินดังนี้
ค่าใช้จ่ายภาษีโอนที่ดินที่ใช้ในการโอนให้คนในครอบครัวกับซื้อขายธรรมดามีความแตกต่างกัน ฉะนั้นก่อนจะทำการโอนที่ดินควรศึกษาและวางแผนค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ดีเสียก่อนนะครับ