เมื่อเทรนด์ในโลกปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไป Social Media ได้เข้าถึงผู้คนมากยิ่งขึ้น การทำช่องยูทูปเพื่อหารายได้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับใครหลาย ๆ คน ในบทความนี้เรามาไขข้อข้องใจในการสร้าง รายได้จากยูทูป กันดีกว่า ว่าสามารถทำเงินได้จริงไหม มีวิธีการอย่างไรบ้าง
รายได้จากการทำช่องยูทูปสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะขอแบ่งออกเป็น 4 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
1. รายได้จากยูทูป : ค่าโฆษณาและค่าสมัคร YouTube Premium
เจ้าของช่อง YouTube ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ YouTube ตั้งไว้ นั่นก็คือมีผู้ติดตามครบ 1,000 คน และมีจำนวนชั่วโมงการรับชมครบ 4,000 ชั่วโมง ก็มีสิทธิ์ยื่นขอเปิดรับรายได้จาก YouTube
โดยยูทูปจะหา “โฆษณา” ที่เกี่ยวข้องกับ Content ในช่องของเรามากที่สุดมาลงในคลิปให้ ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นโฆษณาสถาบันสอนภาษาอังกฤษ ปรากฎบนคลิปสอนภาษาอังกฤษบ่อย ๆ นั่นเป็นเพราะว่าโฆษณาและ Content มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน
ซึ่งรายได้จากการลงโฆษณาของ YouTube ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ดังนี้
รายได้จากสปอนเซอร์คือรายได้ที่ลูกค้าหรือผู้สนับสนุนจ่ายให้กับเราโดยตรงโดยไม่ผ่าน ยูทูป (YouTube เป็นเพียงแหล่งลง Content เท่านั้น) หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็น YouTuber ที่ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Influencer ได้ทำหน้าที่ในการแนะนำสินค้าหรือบริการที่ช่องของตัวเองในรูปแบบต่าง ๆ
โดยทั่วไปรายได้ส่วนนี้จะได้มากกว่าแบบแรก เพราะเราได้ไปเต็ม ๆ 100% อีกทั้งยังได้ค่าความคิดสร้างสรรค์ ได้ค่าตัว แปรผันไปตาม “คุณค่า” ที่ช่องของเราหรือตัวเรามี
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีแบรนด์ขนมขบเคี้ยวยี่ห้อหนึ่ง ต้องการที่จะสปอนเซอร์ช่องของเราด้วยเงินจำนวน xx,xxx บาท การสร้างสรรค์ Content ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราตกลงกับทางสปอนเซอร์ว่าอย่างไร เช่น จะทำคลิปรีวิวที่พูดถึง Product ตัวนี้แบบเต็ม ๆ หรือจะทำ Vlog ถ่ายชีวิตประจำวัน ถ่ายรายการ แล้วหาวิธีแทรกสินค้าเข้าไปแบบเนียน ๆ เป็นต้น
เรียกได้ว่าการรับรายได้จากสปอนเซอร์ค่อนข้างจะ “วัดเซียน” วัดว่าช่องของเรามีจุดเด่น จุดแตกต่างจากช่องอื่น ๆ อย่างไร วัดไอเดียว่าเราสามารถสร้างสรรค์ Content ได้ดีหรือไม่ ดังนั้นแล้ว YouTuber หรือ Creator ทุกคนจะต้องไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาตัวเองในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถ ด้านภาพลักษณ์ และด้านนิสัย เพราะทุกสิ่งส่งผลต่อการเลือกของลูกค้า
ขอแนะนำตัวอย่าง Creator ที่สร้างสรรค์ Sponsored Content ได้ดีทั้งในยูทูป และ Facebook ที่น่าดูไว้เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ เสือร้องไห้, เอ็ด7วิ, บ้านกูเอง, Gog Gag, Riety, อาสาพาไปหลง เป็นต้น
ปัจจุบันอดีตค่ายเพลงที่เคยดังสุด ๆ แห่งหนึ่งได้ผันตัวมาจับธุรกิจด้านการทำ “โฆษณาขายสินค้า” เพราะมองว่าที่ผ่านมากิจการของเขามีศักยภาพในด้านการทำสื่อ (ทั้งทำรายการ ทั้งทำ MV) มาโดยตลอดและประสบความสำเร็จอย่างที่คาดคิดเอาไว้จริง
ช่องยูทูปของเราก็เปรียบเสมือน “สื่อชนิดหนึ่ง” ที่จะบอกเล่าถึงผลิตภัณฑ์ในมือของเราไปยังลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการโฆษณา, การรีวิว หรือการให้ความรู้ก็ตาม ดังนั้นเมื่อเรามีสื่ออยู่ในมือเราก็สามารถนำสินค้ามาขายได้เต็มที่ (ยกเว้นสินค้าผิดกฎหมาย หากทำเช่นนั้นจะโดน YouTube แบน)
เจ้าของ YouTube เป็นเจ้าของเดียวกับ Google หลักการของ Search Engine Optimization ก็มีผลกับยูทูปด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการการเลือกของที่จะขาย, การจับคีย์เวิร์ด, การเขียน Description หรือการควบคุมเนื้อหาก็เป็นประโยชน์ต่อโอกาสนในการเข้าถึงของผู้ค้นหา
ปัจจุบัน YouTuber หรือ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามสูง ๆ ถือได้ว่ามีอิทธิพลเทียบเท่ากับดาราเลยก็ว่าได้ ยกตัวอย่างตัว Top ของวงการยูทูป เช่น บี้ เดอะสการ์, กอล์ฟมาเยือน, Bearhug แน่นอนว่าหาก YouTuber เหล่านี้ถูกขอให้ออกงานอีเวนท์หรือออกรายการต่าง ๆ จะต้องมีค่าตัวอย่างไม่น่าสงสัย
ดังนั้นนอกจากช่องยูทูปและเนื้อหาที่ทำจะสำคัญแล้ว ตัวเราเองก็สำคัญเช่นกัน อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการพัฒนาตัวเองในทุกด้านส่งผลต่อรายได้ เคยมีคนกล่าวไว้อย่างน่าคิดตามว่า “หากเราเป็นเบอร์ท้าย ๆ ราคาจะกำหนดเรา แต่หากเราเป็นเบอร์ต้น ๆ เราจะกำหนดราคา”
แม้วันนี้บางคนจะยังไม่คิดไปไกลถึงจุดนั้นเพราะเพิ่งจะมีผู้ติดตามไม่มากและคิดว่าการเป็นเบอร์ต้น ๆ ช่างห่างไกล แต่อย่าลืมว่าเหล่า YouTuber ตัว Top หลายคนก็เริ่มจากศูนย์เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่จะ “วัดเซียน” ในการทำงานสายนี้ก็คือ “การไม่ยอมแพ้” นั่นเอง
อย่างที่ได้กล่าวไปว่ารายได้ของแต่ละคลิปของแต่ละช่องอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการประมูลโฆษณา, จำนวนโฆษณา ฯลฯ จึงไม่สามารถสรุปออกมาเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ แต่หากจะให้ประมาณการรายได้ก็จะอยู่ที่ล้านละ 10,000-30,000 บาท
กระบวนการสมัครรับรายได้จากยูทูปมีอะไรบ้าง
และทั้งหมดนี้ก็คือการให้ความรู้เกี่ยวกับ รายได้จากยูทูป จะเห็นได้ว่าการหวังพึ่งรายได้จากโฆษณายูทูปอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แถมยังมีกฎจุกจิกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามข้อดีของกฎ YouTube ก็คือเราจะมีอย่างน้อย 1,000 Subscribers ถือเป็นเครดิตที่ดีในการติดต่อขอสปอนเซอร์จากลูกค้านั่นเอง