ไม่ว่าคุณจะทำโอที เลิกจากปาร์ตี้ นั่งดูซีรี่ย์ หรือต้องไปส่งแฟนคนดี … อะไรก็ตามที่ทำให้คุณต้องกลับบ้านดึก ก็จะย่อมทำให้เวลานอนของคุณหายไป ก็ใช่ว่าบริษัทจะอนุโลมให้คุณแสกนนิ้วสายได้บ่อยๆ (หรือสำหรับคนที่ทำได้ เราก็ยินดีด้วยครับ) แต่มนุษย์เงินเดือนทั่วไปที่มีกิจกรรมยามวิกาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น ย่อมประสบปัญหา “ชั่วโมงนอนไม่เพียงพอ” และพ่ายแพ้ต่อแรงดึงดูดของที่นอนอันแสนนุ่ม ซึ่งนำคุณไปสู่การตื่นสายในที่สุด
การตื่นสายไม่ใช่อาชญากรรมครับ แต่ที่ทำงานคุณคงไม่ปลื้มแน่ ถ้าต้องเห็นหน้าคุณหลัง 9 โมงเช้าไปแล้วเกือบทุกวัน … คราวนี้ปัญหาเลยกลายเป็นว่า บริษัทต้องการคุณไปทำงาน แต่ร่างกายคุณต้องการพักผ่อน จะมีทางไหนให้คุณได้ทั้งสองอย่างบ้าง Baania มีทางออกมาแนะนำครับ
ถ้าคุณต้องการเวลานอนที่มากขึ้น (อีกสักพอประมาณ) แต่ก็ต้องการไปทำงานให้ทันด้วยเช่นกัน สิ่งที่คุณต้องทำคือ ย่นระยะเวลาการเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งนั่นเองครับ หรือกล่าวคือ คุณต้องการ การเดินทางที่รวดเร็ว คำนวณระยะเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ และมีราคาอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ในกรณีที่ต้องใช้บริการเป็นประจำ สำหรับในกรุงเทพมหานคร สิ่งที่ตอบโจทย์นี้ได้อย่างดีคือ “รถไฟฟ้า” ครับ แล้วด้วยรถไฟฟ้านี่เอง คุณจึงสามารถเดินทางเข้าเมืองได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม … ซึ่งแปลว่า คุณอาจจะเลือกที่อยู่อาศัยในราคาย่อมเยา ที่ถึงแม้จะอยู่ห่างจากตัวเมือง แต่ขอแค่เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้ง่าย ก็ถือว่าดีงามและตอบโจทย์
“ฝั่งธนบุรี” ทำเลดีที่คุณคู่ควร
ด้านล่างนี้คือภาพแสดงราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พร้อมเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่วิ่งเข้าสู่เขต CBD - Central Business District หรือศูนย์กลางย่านธุรกิจของเมือง
>> ดูแผนที่ราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมได้ ที่นี่
จากแผนที่ เราจะพบว่าราคาเฉลี่ยของโครงการในกรุงเทพ (บาทต่อตร.ม.) แสดงด้วยแผนภาพสีไล่จากสีน้ำเงินไปสีแดง สื่อคือช่วงราคาจากน้อยไปมาก ทั้งนี้จุดที่น่าสนใจคือ คอนโดบริเวณรอบรถไฟฟ้าในระยะ 500 เมตรซึ่งง่ายต่อการเดินทาง ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้สามารถวางแผนการเดินทางได้ง่าย
เมื่อเราลองดูภาพรวมราคาโครงการอสังหาในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพให้ละเอียดมากขึ้น เราก็จะพบว่า บริเวณพื้นที่ “ฝั่งธนบุรี” มีราคาที่ถูกกว่า โครงการที่อยู่ในตัวเมืองฝั่งพระนครอย่างเห็นได้ชัด (พื้นที่ ”ฝั่งธนบุรี” ในที่นี้ ครอบคลุมตั้งแต่ข้ามสะพานสาทร หรือตั้งแต่ สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน ไล่ลงมาจนถึง สถานีบางหว้า) ซึ่งที่อยู่อาศัยในราคาจับต้องได้และสามารถเดินทางได้สะดวกย่อมเป็นสิ่งที่ยอดปรารถนาสำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนมากอยู่แล้ว
แต่สถานีไหนล่ะ ที่ทำให้คุณเดินทางได้สะดวก ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้และความสบายในระหว่างการเดินทาง เรารวบรวมมาให้คุณในหัวข้อต่อไปครับ
ทีมงาน Baania Insight ได้ทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ในช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าระหว่าง 7.30 - 8.30 น. เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านเวลา เริ่มจากที่ต้องรอรถไฟเข้าเทียบชานชาลา รวมถึงปริมาณผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวที่ต้องรอเพื่อจะขึ้นโดยสารได้ และระยะเวลาที่ใช้จากสถานีต่างๆ ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายลีลม ตั้งแต่ สุรศักดิ์ - บางหว้า ไปยังสถานีที่มีผู้ใช้หนาแน่น ได้แก่ อโศกและศาลาแดง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน และสถานีช่องนนทรีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT)
เราสามารถสรุปข้อมูลเวลาการเดินทางในระบบรถไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดังนี้
* เวลาการเดินทางข้างต้นไม่รวมเวลาการเดินทางในการเข้าถึงสถานี เช่น เวลาเดินเท้าเพื่อมาถึงสถานี เป็นต้น
หมายเหตุ
คุณอาจคิดว่า ในบางครั้งการเดินทางย้อนกลับ เพื่อไปสถานีที่คนขึ้นน้อยๆ อาจจะประหยัดเวลาการเดินทางได้ แต่ทั้งนี้ หลังจากที่ทีมงานได้ทดลองการเดินทาง ทั้งแบบต่อคิวปกติและนั่งย้อนกลับ กลับพบว่าไม่ได้มีผลแตกต่างมากนัก ในเรื่องของเวลาการเดินทางที่สม่ำเสมอ และ เวลารวมในการเดินทาง
ญี่ปุ่นคือประเทศที่มีโครงข่ายรางรถไฟฟ้าและผู้โดยสารด้วยรถไฟเยอะอันดับต้นๆของโลก จนมีการจัดทำดัชนีแนบเนื้อ หรือ Congestion Rate ขึ้น เพื่อชี้วัดระดับความหนาแน่นของผู้โดยสารบนขบวนรถไฟแต่ละเที่ยว ดัชนีดังกล่าวนี้สามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อพิจารณาแนวโน้มการเดินทางในเมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และคาดการณ์ความเป็นไปในอนาคต โดยการจัดระดับความแน่นดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้ครับ
สำหรับคนกรุงเทพที่ใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำ อาจจะตั้งข้อสังเกตว่า รถไฟฟ้าของบ้านเรายังมีความแน่นเพียงแถวบริเวณประตูทางเข้า-ออก หรือควรมีวิธีการให้ผู้โดยสารกระจายเข้าส่วนกลางขบวน ซึ่งจะทำให้สามารถโดยสารได้มากขึ้นและลดความหนาแน่นลง นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เราอาจเห็นได้ในอนาคต
ความแนบเนื้อของแต่ละสถานีนั้นมีความแตกต่างกันครับ โดยจะแปรผันกับระยะเวลาที่คุณจำเป็นต้องรอขบวนรถไฟฟ้า เพื่อให้ได้เข้าโดยสาร ยกตัวอย่างเช่น สถานีที่มีความแนบเนื้อโดยเฉลี่ยที่ 80% หรือ 100% คือสถานีที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลารอขบวนรถไฟนาน จึงทำให้คุณมีโอกาสที่จะประหยัดเวลาการเดินทางไปทำงาน
ส่วนสถานีที่มีความแนบเนื้อสูง มิได้หมายความว่า คุณจะจำเป็นต้องรอหลายขบวนนะครับ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องจำนวนผู้โดายสารที่ชานชาลามาเกี่ยวข้องด้วย แปลว่า ในบางสถานีคุณมีโอกาสที่จะไม่ต้องรอรถไฟฟ้าหลายขบวน แต่เมื่อเข้าไปแล้ว คุณก็ได้ใกล้ชิดกับคนข้างๆ มากหน่อยเท่านั้นเอง
สิ่งที่น่าสนใจคือ เวลาในการเดินทางเพื่อไปทำงาน มิได้แปรผันตามตรงกับระยะนะครับ เพราะ บางสถานีมีผู้โดยสารในขบวนเยอะ จึงทำให้คุณจำเป็นต้องรอขบวนถัดไปแทน ดังนั้น จากการเก็บข้อมูลของ ทีม Baania Insight เราจึงพบว่า สถานีวุฒากาศและตลาดพลู ใช้เวลาใกล้เคียงกับสถานีวงเวียนใหญ่และสถานีกรุงธนบุรีครับ
จากระยะเวลาในการเดินทางด้านบน หลายคนจะสังเกตเห็นว่า การที่เราเเริ่มต้นเดินทางจาก สถานีกรุงธนบุรี หรือสถานีตลาดพลูนั้น แทบไม่ได้ใช้เวลาแตกต่างกันเลย เพราะจำนวนผู้โดยสารและโอกาสที่คุณจำเป็นที่จะต้องรอขบวนรถไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งขบวนนั้นมีสูงกว่าด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนต้องการหาซื้อคอนโดเพื่อไปทำงานเร็วขึ้นครับ เพราะคอนโดที่อยู่ใกล้ตัวเมืองมาก มิได้หมายความว่า จะทำให้คุณเดินทางได้เร็วขึ้น นั่นเอง
เมื่อเราได้นำตารางราคาอสังหา ทั้งที่แบบ ปิดขายไปแล้ว (ในกรณีที่ คุณกำลังตามหาบ้านมือสอง คอนโดเช่า หรือ ซื้อ หรือ แม้กระทั่ง ประมาณการแนวโน้นของคอนโดในอนาคต) และคอนโดที่ยังเปิดขายอยู่มาเปรียบเทียบราคากัน เราจะสังเกตได้ว่าคอนโดที่เหมาะสำหรับคนอยากตื่นสาย ก็คงเป็นสถานีที่เลยสะพานตากสินไปแล้ว แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง ... โครงการบริเวณสถานีตลาดพลูหรือสถานีบางหว้า อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ซึ่งมูลค่าโดยเฉลี่ยถูกกว่าบางสถานีถึง 15 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านเวลาการเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วนที่นำเสนอไปข้างต้นประกอบ
แนะนำคอนโดเปิดขายใกล้สถานีรถไฟฟ้าฝั่งธนบุรี
ทั้งนี้ราคาเปิดขายและปิดขายของบางสถานีมีความแตกต่างกันมาก มีปัจจัยมาจากปีที่เปิดตัวโครงการ และ ข้อมูลจำนวนยูนิตครับ อย่างไรก็ตาม โครงการบริเวณสถานีวงเวียนใหญ่หรือสถานีกรุงธนบุรีน่าจะเหมาะกับผู้ที่สามารถเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วนมากกว่า
สิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆรอบที่อยู่อาศัย
นอกจากในมุมของราคาโครงการอสังหารอบรถไฟฟ้ากับเวลาการเดินทางแล้ว อาจจะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกครับ เช่น สภาพแวดล้อม การขับรถ หรือการเดินทางด้วยการเดิน ซึ่ง Baania ก็ได้มีเครื่องมือให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยที่ไปจำเป็นต้องไปดูพื้นที่เองครับ ก็คือ Living Score นั่นเอง
Baania ได้ประเมิน คะแนนความสะดวกในการใช้ชีวิต (Living Score) ของโครงการคอนโดรอบรถไฟฟ้า สถานี ตลาดพลู และ วุฒากาศ ไว้ที่ 9.8 จาก 10 คะแนน เพราะจัดเป็นทำเลที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยบ และสะดวกต่อการเดินทางเข้าเมือง ด้วยรถยนต์และ ใกล้รถไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากการที่อยู่ใกล้สะพานสาทร ที่เป็นหนึ่งในสะพานหลัก สำหรับชาวกรุงเทพ เพื่อเดินทางจากแหล่งชุมชน เข้าไปทำงานในเมืองครับ
สนใจอ่านเรื่อง Living Score เพิ่มเติมคลิก >> [FAQ] Living Score คืออะไร?
คอนโดเปิดขายรอบๆ รถไฟฟ้าสถานีตลาดพลู และสถานีวุฒากาศ มีอยู่ไม่น้อย ถ้าคุณอยากนอนต่อตอนเช้าก่อนต้องลุกไปทำงานอีกซักนิด ลองดูข้อมูลโครงการจาก Baania ไว้ก่อนก็ไม่เสียหลายครับ