หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับใบย่านาง ในฐานะส่วนประกอบของเมนูอาหารต่าง ๆ และไม่ได้สนใจไปมากกว่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วต้นย่านางนั้นเป็นพืชสมุนไพรมากสรรพคุณที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้จะมาแนะนำถึงลักษณะเฉพาะของย่านาง ประโยชน์ของย่านางทางด้านโภชนาการ การปลูกย่านางภายในบ้าน รวมไปถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของใบย่านาง
ใบย่านาง เป็นพืชไม้เลื้อยซึ่งมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็คือ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม นั่นเอง ต้นย่านางนั้นใบมีสีเขียวรูปไข่ ปลายใบแหลม เถากลมเล็กมีความเหนียว สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งต้นย่านางนั้นในแต่ละภูมิภาคก็จะมีชื่อเรียกต้นย่านางที่แตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ภาคใต้เรียกว่า ยานนาง เป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชสมุนไพรแล้วต้นย่านางย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากมาย ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ในต้นย่านางมีทั้งเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน โปรตีน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสารแทนนิน
ส่วนในกลุ่มของวิตามินที่มีอยู่ในใบย่านางนั้นประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี จะเห็นได้ว่าแร่ธาตุ และสารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในใบย่านางนั้นล้วนเป็นสารอาหารที่สำคัญ และมีประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้นการทานใบย่านางด้วยวิธีการต่าง ๆ จึงเป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน
ใบย่านางนั้นถูกเรียกว่าเป็นใบไม้ที่สรรพคุณเหลือล้น ทางภาคอีสานนั้นใบย่านางจัดว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในการบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี จนมีคำเรียกทางยาว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” หรือ “หมื่นปีไม่มีแก่” ชื่อนี้ทำให้เห็นภาพสรรพคุณต่าง ๆ ของใบย่านางได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว
ในทางสมุนไพรนั้นใบย่านางจัดว่าเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น หรือเรียกว่าใบย่านางเป็นยาเย็นนั่นเอง ซึ่งใบย่านางนอกจะได้ชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะเนื่องจากในใบย่านางนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากแล้วนั้น ใบย่านางยังมีคลอโรฟิลด์คุณภาพสูงทำให้มีความสามารถในการปกป้อง และฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
นอกจากสรรพคุณต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ในทางยาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลดความอ่อนเพลีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงอวัยวะภายใน รักษาสิว ถอนพิษไข้ บำรุงเส้นผม รักษาฝีหนอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดการปวดกล้ามเนื้อ รักษาโรคตับอักเสบ เป็นต้น
ต้นย่านางไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ใบเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของต้นย่านางล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ รากย่านาง ที่มีสรรพคุณในด้านการถอนพิษไข้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้พิษ ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู นอกจากสรรพคุณในการถอนพิษไข้แล้ว รากย่านางยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของตำรับยาสมุนไพรโบราณที่ชื่อว่า “เบญจโลกวิเชียร” หรือสมุนไพร 5 รากอีกด้วย
ต้นย่านางเป็นพืชพื้นบ้านของประเทศไทย ซึ่งทำให้ต้นย่านางนั้นมีคุณลักษณะที่ทนทาน ปลูกง่าย สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน และมีคุณสมบัติเด่นคือ ทนความแห้งแล้งได้ดีมาก สามารถปลูกได้ทั้งลงดิน และปลูกในกระถาง การเตรียมตัวปลูกต้นย่านางไว้กินเองในบ้านนั้นควรเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสม เนื่องจากต้นย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อยทำให้ต้องมีพื้นที่พอให้ต้นย่านางเลื้อยเกาะได้ ต้นย่านางถึงจะเจริญเติบโตได้เต็มที่
ส่วนการเตรียมดินเพื่อปลูกต้นย่านางนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมดินเป็นพิเศษแต่อย่างใด ถ้าปลูกลงดินก็เพียงแค่พรวนดินเตรียมไว้ อาจจะผสมปุ๋ยคอกลงไปด้วยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน รดน้ำทิ้งไว้ให้ดินมีความชุ่มชื้น ส่วนการปลูกในกระถางนั้นควรใช้กระถางขนาดกลางใส่ดินผสมปุ๋ยคอกลงไป แล้วหาเมล็ดพันธุ์ของต้นย่านางมาใส่ก็สามารถปลูกต้นย่านางได้ทันที
การเพาะเมล็ดย่านาง นั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากจนเกินไป ซึ่งเมล็ดย่านางนั้นอาจจะใช้เมล็ดสำเร็จรูปแบบที่มีวางขายทั่วไป หรือใช้เมล็ดสดที่ได้จากการเก็บผลแก่ของย่านางมาเอาเมล็ดก็ได้ ซึ่งผลแก่ของย่านางนั้นจะมีสีเหลือง หรือถ้าเป็นผลสีแดงก็สามารถเพาะได้เช่นกัน แต่เมื่อเก็บผลมาแล้วต้องเพาะภายใน 1 สัปดาห์
วิธีการในการเพาะเมล็ดย่านางนั้นเริ่มต้นที่ภาชนะ จะใช้เป็นถุงปลูกขนาดเล็ก หรือกระถางก็ได้ เมื่อได้ภาชนะแล้วให้นำดินปลูกที่เตรียมไว้ใส่ลงไปแล้วด้านบนให้ใช้ทรายกลบหน้าหนาประมาณ 5 ซ.ม. จากนั้นนำเมล็ดย่านางที่เตรียมไว้กดลงไปในดิน โดยให้ทรายกลบไว้ทั้งหมด การเพาะเมล็ดย่านางนั้นต้องรดน้ำทุกวัน แล้วต้นอ่อนย่านางจะงอกขึ้นมาภายในเวลา 30 – 45 วัน
ในระหว่างที่เพาะเมล็ดย่านางนั้นความชื้นในดิน หรือการรดน้ำจัดว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าขาดการรดน้ำ หรือรดน้ำน้อยเกินไป ต้นอ่อนจะใช้เวลานานมากขึ้นอาจจะเป็น 45–60 วันจึงจะเริ่มงอก และอีกหนึ่งเคล็ดลับคือการเพาะเมล็ดย่านางนั้นไม่จำเป็นต้องโดนแสงแดดจัด แค่ให้โดนแสงแดดส่องรำไรก็เพียงพอแล้ว เมื่อต้นย่านางเริ่มแข็งแรงก็สามารถย้ายต้นอ่อนไปลงไปปลูกในดิน หรือในกระถางได้
วิธีการปลูกย่านางอย่างง่ายด้วยตัวเองนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้นย่านางนั้นสามารถปลูกได้ 4 วิธีการด้วยกัน การปักชำยอด การขุดหัวใต้ดินมาปลูก การเพาะเมล็ด และวิธีสุดท้ายคือการใช้เถาย่านางแก่ที่ติดหัวมาปลูก
การปลูกต้นย่านางที่ง่ายที่สุดคือ การเพาะเมล็ด ซึ่งเมื่อเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงดีแล้ว จึงย้ายต้นอ่อนย่านางนั้นมาลงกระถาง หรือลงดินที่เตรียมไว้ หมั่นรดน้ำให้สม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องถึงกับให้มีน้ำขัง บริเวณที่ปลูกย่านางต้องเป็นพื้นที่ซึ่งมีแดดส่องถึง
ต้นย่านางนั้นเป็นพืชที่ดูแลง่าย เมื่อนำต้นย่านางที่ผ่านการเพาะเมล็ดจนเป็นต้นกล้าแล้วนำมาลงดิน หรือปลูกในภาชนะที่ต้องการแล้ว นอกจากการรดน้ำเป็นประจำทุกวันในตอนเช้า-เย็น และปลูกในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงแล้ว ต้นย่านางแทบไม่ต้องดูแลอะไรเพิ่มเติมเลย ถ้าในดินมีธาตุอาหารเพียงพอการใส่ปุ๋ยก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าต้องการให้โตไวก็สามารถใส่ปุ๋ยคอกรอบ ๆ โคนต้นได้ตามความเหมาะสม
เมื่อต้นย่านางเริ่มโตให้ทำร้านไว้สำหรับย่านางให้เลื้อยไปเกาะ เพราะว่าต้นย่านางนั้นเป็นเลื้อยการเจริญเติบโตจึงต้องมีหลักให้เลื้อยนั่นเอง ถ้ามีวัชพืชบริเวณรอบ ๆ โคนต้นก็ต้องหมั่นถอนออกให้หมด
ต้นย่านางหลังจากลงแปลงปลูกแล้วจะสามารถเก็บใบย่านางเพื่อมาใช้ประโยชน์ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างได้เมื่อปลูกจนมีอายุประมาณ 18 เดือนโดยการเก็บเกี่ยวใบย่านางนั้นจะเป็นการเฉพาะส่วนใบไปใช้ เมื่อเก็บใบย่านางแล้วนั้นการเก็บรักษาใบย่านางเพื่อให้คงความสดไว้ได้นานคือการเก็บเข้าตู้เย็นช่องธรรมดาโดยไม่ต้องล้าง
โดยก่อนเก็บเข้าตู้เย็นต้องเด็ดแยกใบดี ใบเสียออกก่อน จากนั้นเรียงใบในถุงพลาสติกให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้ใบช้ำ ห่อภายนอกด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ 2–3 ชั้น เมื่อต้องการนำมาใช้ค่อยล้างเฉพาะส่วนที่จะใช้ เพราะว่าถ้าล้างก่อนเก็บเข้าตู้เย็นจะทำให้ใบย่านางเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น และการเก็บใบย่านางในตู้เย็นนั้นเหมือนกับการเก็บรักษาผักประเภทอื่น ๆ คือไม่ควรเก็บนานเกินไป
เมนูอาหารต่าง ๆ ที่ปรุงด้วยใบย่านางนั้นมีมากมาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นการนำน้ำคั้นใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็น แกงเห็ด แกงเปรอะ น้ำใบย่านาง หรือข้าวผัดใบย่านางเป็นต้น ซึ่งเมนูต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเนื่องจากมีรสชาติที่ดี อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
ซึ่งเมนูต่าง ๆ ที่มีใบย่านางเป็นส่วนประกอบนั้นสามารถพลิกแพลงได้ตามความเหมาะสม และจินตนาการ แต่ในตอนนี้ลองมาดูกันว่าเมนูที่ขึ้นชื่อเหล่านี้มีขั้นตอนในการทำอย่างไร
น้ำใบย่านางนั้นสามารถนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งน้ำใบย่านางนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะใช้แก้ไข้ ตัวร้อน ลดน้ำตาลในเลือด รักษาอาการตกเลือด รักษาโรคเกาต์ รวมไปถึงไปถึงเป็นยาบำรุงร่างกาย และบำรุงผิวพรรณอีกด้วย น้ำสมุนไพรจากใบย่านางที่นิยมทำกันมากคือ น้ำใบย่านางแบบคั้นสด น้ำใบย่านางเตยหอม เป็นต้น
น้ำใบย่านาง นั้นมีกลิ่นเฉพาะที่ค่อนข้างเหม็นเขียว ดังนั้นน้ำสมุนไพรย่านางที่ทำเองจึงสามารถใช้สมุนไพร หรือดอกไม้ประเภทต่าง ๆ ลงไปผสมเพื่อแต่งรส และกลิ่น รวมไปถึงดับกลิ่นเหม็นเขียว ไม่ว่าจะเป็นใบเตยหอม ดอกอัญชัน ใบบัวบก ดอกเก๊กฮวย หรือน้ำตาลจากหญ้าหวาน เป็นต้น
ความเป็นสมุนไพรของย่านางนั้นไม่ได้มีแค่เพียงสรรพคุณในการรักษา แต่ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้เกิดโทษได้ เช่น
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยถ้าหากต้องการใช้สมุนไพรอย่างใบย่านางรักษาโรคอย่างจริงจังควรจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรก่อน แต่ถ้าเป็นการทานอาหารที่มีส่วนผสมของใบย่านาง หรือดื่มน้ำคั้นใบย่านางก็สามารถทำได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงมีการหยุดทานเป็นระยะเพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพอีกด้วย
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าสมุนไพรที่มีสรรพคุณเหลือล้นอย่างใบย่านางนั้น มีคุณประโยชน์มากมายเพียงใด นอกจากนั้นยังมีการแนะนำให้รู้ถึงวิธีการปลูกต้นย่านางอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนซึ่งสามารถนำไปทำเองได้ที่บ้าน รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ต่างๆ จากสรรพคุณเหล่านั้นทำอย่างไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร และการทำน้ำสมุนไพรจากใบย่านาง