สนามบินเปรียบเหมือนประตูบ้านของแต่ละประเทศแต่ละเมือง เราจึงให้ความสำคัญ
สนามบินชางงีของสิงคโปร์ได้รับรางวัลสนามบินที่ดีที่สุดในโลก 2017 Skytrax World Airport Awards เป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัลนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของประเทศที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการบินอย่างแท้จริงในภูมิภาคนี้ ในปีนี้ทางสนามบินชางงีได้ทำการเปิดตัวอาคารผู้โดยสารหลังที่ 4 (T4)
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของสนามบินชางจี ทำให้ผู้โดสารได้รับประสบการณ์ในการเดินทางที่ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและการตกแต่งสไตล์ Boutique เรามารู้จัก 9 นวัตกรรม เกี่ยวกับอาคารผู้โดยสาร T4 ที่ทำให้สนามบินชางจีประเทศสิงค์โปรยังคงความเป็นสนามบินชั้นนำของโลก
1. Airport innovations: สนามบินชางงี T4 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการตกแต่งภายในที่ผสมผสานรูปแบบ Boutique
2. Art on the move: บนพื้นที่ 250,000 ตารางเมตร ของอาคารผู้โดยสารถูกประดับด้วย “Petalclouds” ผลงานประติมากรรมจำนวน 6 ชิ้น
3. Petalclouds ผลงานประติมากรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกล้วยไม้ ดอกไม้ประจำชาติสิงค์โปร งานปฏิมากรรมนั้นดูลื่นไหลราวกับการเต้นไปพร้อมเสียงดนตรีคลาสสิกประกอบโดย OlafurArnalds (เข้าไปดูได้ที่ https://goo.gl/H8Fh4s)
4. Heritage Zone: การตกแต่งผนังที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของร้านค้าที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ในช่วง ค.ศ 1800-1950
5. Immersive Wall: จอ LED ขนาด 70x5 เมตร ออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารเพลิดเพลินกับภาพที่สวยงามขณะผ่านการตรวจหนังสือเดินทางและการรักษาความปลอดภัย
6. Modern technology: หุ่นยนต์แม่บ้านสำหรับทำความสะอาดและคีออส สำหรับบริการตนเอง เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในอาคาร T4
7. Automated boarding: ระบบตรวจผู้โดยสารขาออกแบบใหม่ ทำการตรวจเอกสารเดินทางและจดจำใบหน้าผู้โดยสารไปจนถึงการขึ้นเครื่องด้วยการจดจำใบหน้า
8. Green 'boulevard': ยังไงก็เป็นสไตล์สิงค์โปร ไม่ลืมพื้นที่สีเขียว ในโครงการมีต้นไม้ทั้งไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น จำนวน 582,000 ต้น ตั้งแต่ถนนเข้าสนามบินไปจนถึงทางเดินขึ้นเครื่องบิน
9. A 'test-bed': Poh Li San รองประธานสำนักงานบริหารจัดการบินชางจี T4 กล่าวว่าการออกแบบและนวัตกรรมของ T4 เป็นเครื่องทดสอบเพื่อนำไปใช้กับ ชางจี T5 ที่จะเปิดในปี 2021
เขียนโดย: มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
นักคิด นักเขียน นักเดินทาง นักธุรกิจ
ผู้เชียวชาญด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถาปัตยกรรม
อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต