Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

คะน้าผักสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย ทานอร่อย

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

คะน้านั้นจัดว่าเป็นผักที่ทุกคนล้วนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากวิธีปลูกคะน้านั้นสามารถทำได้ง่าย นอกจากนั้นคะน้ายังเป็นผักที่ใช้เป็นวัตถุดิบในหลากหลายเมนูซึ่งเป็นเมนูซึ่งทำได้ง่าย และทานได้บ่อยๆ แบบไม่รู้เบื่อ ไม่ว่าจะเป็นผัดคะน้าน้ำมันหอย คะน้าหมูกรอบ ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว เป็นต้น ในบทความนี้จะพาไปรู้จักคะน้าแบบเจาะลึกถึงที่มา รวมไปถึงวิธีปลูกคะน้าแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง เป็นจำนวน 7 ข้อ ต่อไปนี้

1. ความเป็นมาของคะน้า

คะน้า (Brassica albroglabra) หรือชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Kale จัดว่าเป็นผักที่นิยมปลูกมาในทวีปเอเชีย โดยเชื่อว่าคะน้านั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และได้รับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง ทำให้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย โดยในประเทศไทยนั้นสามารถปลูกคะน้าได้ทุกภาค และให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

ความเป็นมา

2. ลักษณะทั่วไปของคะน้า

คะน้านั้นเป็นผักที่ล้มลุก มีอายุประมาณ 2 ปี มีความทนทาน และแข็งแรงมาก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน โดยลักษณะทั่วไปของคะน้านั้นเป็นผักใบเขียว ส่วนที่นำมาทานคือส่วนใบ รวมไปถึงลำต้น โดยในความเป็นจริงแล้วคะน้าจัดว่าเป็นผักขนาดใหญ่ที่สามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตรเมื่อช่อดอกเจริญเติบโตเต็มที่ แต่การปลูกคะน้านั้นนิยมตัดเพื่อนำมาเป็นอาหารเมื่อเจริญเติบโตประมาณ 40 – 60 วัน หรือมีขนาดประมาณ 30 – 40 เซนติเมตรนั่นเอง

ลักษณะทั่วไป

3. ประโยชน์ของคะน้ามีอะไรบ้าง

คะน้านั้นจัดว่าเป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ต่างๆ มากมายภายในตัวเอง ซึ่งประโยชน์ของคะน้านั้นได้แก่

  • เป็นแหล่งอาหารที่มีราคาถูก คะน้านั้นจัดว่าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ง่าย โตไว ไม่ต้องดูแลรักษามาก อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย ทำให้คะน้ากลายเป็นแหล่งอาหารประเภทผักที่หาได้ง่าย รวมไปถึงมีราคาถูกนั่นเอง
  • อุดมไปด้วยแคลเซียม ถ้าพูดถึงปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในคะน้าแล้วนั้น สามารถเรียกได้ว่าคะน้าคือแหล่งแคลเซียมจากผักชั้นดี เนื่องจากคะน้ามีแคลเซียมเป็นปริมาณที่มากเมื่อเทียบกับผักใบเขียวชนิดอื่นๆ นอกจากนี้แคลเซียมในคะน้ายังช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายที่มีแคลเซียมเกี่ยวข้องนั้นทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบฮอร์โมน ระบบเลือด กล้ามเนื้อต่างๆ เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากปริมาณแคลเซียมที่มีเป็นจำนวนมากในคะน้า ทำให้คะน้ากลายเป็นผักที่มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงกระดูกส่วนต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย
  • เหมาะสำหรับสตรีหลังคลอด หลังคลอดบุตรนั้นผู้หญิงได้สูญเสียแคลเซียมภายในร่างกายไปด้วยหลากหลายปัจจัย ซึ่งแคลเซียมในผักคะน้าสามารถช่วยบำรุงร่างกาย และเสริมแคลเซียมให้กับคุณแม่หลักคลอดได้เป็นอย่างดี
  • มีวิตามินซีสูง คะน้าเป็นผักที่มีวิตามินซีค่อนข้างสูง ทำให้การทานคะน้านั้นจะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซีเพิ่มขึ้น ซึ่งวิตามินซีนั้นจะช่วยบำรุงร่างกายในเรื่องต่างๆ อย่างเช่นเรื่องของระบบประสาท และยังช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย 
    ช่วยให้ผิวสวย ในคะน้านั้นมีสารอาหารต่างๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในคะน้าด้วย ดังนั้นการกินคะน้าจะชวยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย ทำให้เป็นการช่วยบำรุงผิวให้สดใส มีชีวิตชีวาได้อีกด้วย
  • มีน้ำตาลน้อย ตามธรรมชาติของผักแทบทุกชนิดนั้นจะมีแป้งที่สามารถแปรรูปเป็นน้ำตาลได้เป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติ แต่ในคะน้าจัดว่าเป็นผักที่มีน้ำตาลน้อยมากเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นๆ ทำให้คะน้าเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหารได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยระบบขับถ่าย คะน้าก็ไม่แตกต่างจากผักประเภทอื่นๆ ที่มีเส้นใยเป็นส่วนประกอบ ทำให้การทานคะน้าจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ เนื่องจากเส้นใยของคะน้านั่นเอง
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในคะน้านั้นมีธาตุเหล็กที่ค่อนข้างสูง การทานคะน้าจึงช่วยให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น ทำให้ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นนั่นเอง
  • ทานคะน้าแล้วอารมณ์ดี ในคะน้านั้นมีวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมไปถึงมีวิตามินอี และแคลเซียมที่จะช่วยปรับสมดุลทางด้านอารมณ์ได้อีกด้วย ดังนั้นสำหรับสตรีที่มีอาการหงุดหงิดเพราะมีประจำเดือนเมื่อทานคะน้าจะช่วยให้อารมณ์หงุดหงิดลดลงได้

ประโยชน์

4. วิธีการปลูกคะน้าด้วยตัวเอง

ในปัจจุบันความนิยมในการปลุกผักชนิดต่างๆ เพื่อไว้ทานเองภายในบ้านกลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง เนื่องจากการปลูกผักเพื่อทานเองนั้นแม้จะไม่ได้ผลผลิตที่เป็นปริมาณเยอะๆ แต่ก็สามารถรับประกันได้ว่าผักที่ได้มานั้นมีความปลอดภัยแน่นอน ซึ่งคะน้าก็เป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านได้ทั้งการปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง ลองมาดูว่าขั้นตอนในการปลูกคะน้าด้วยตัวเองนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง

  • เตรียมเมล็ด สำหรับการเตรียมเมล็ดคะน้าเพื่อปลูกนั้นไม่มีวิธีการที่ยุ่งยาก เพียงหาซื้อเมล็ดพันธุ์สำเร็จรูปมาใช้ปลูกได้เลย
  • การเตรียมดิน การปลูกคะน้าด้วยตัวเองภายในบ้านนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะคือการปลูกในกระถาง กับการปลูกลงดิน การปลูกในกระถางนั้นควรใช้กระถางขนาด 30 ซ.ม. ส่วนดินในกระถางควรเป็นดินร่วนปนทราย และควรผสมปุ๋ยคอกลงไปด้วย 
    ส่วนการปลูกลงดินภายในบริเวณบ้านนั้นควรเลือกพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง เป็นพื้นที่ซึ่งมีดินร่วนปนทราย ก่อนปลูกควรทำการพรวนดิน ผสมปุ๋ยคอกลงไปในดิน และพลิกหน้าดินขึ้นมาตากไว้เป็นเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงยกร่องให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย
  • วิธีการปลูก ถ้าปลูกในกระถางนั้นสามารถนำเมล็ดคะน้าที่เตรียมไว้มาปลูกได้เลยโดยขุดเป็นหลุมไม่ลึกมา นำเม็ดคะน้าใส่ลงไปประมาณ 2-3 เมล็ด จากนั้นใช้ดินกลบให้มิด เมื่อตะน้าเริ่มโตให้เด็ดต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป โดยให้เหลือไว้เพียงต้นที่แข็งแรงที่สุดเพียงต้นเดียว โดยคะน้าจะงอกต้นอ่อนหลักจากเริ่มปลูกภายในระยะเวลาประมาณ 7 วัน 
    สำหรับการปลูกลงดินนั้นจะใช้วิธีการขุดหลุมแล้วหย่อนเม็ดลงไปแบบการปลูกในกระถางก็ได้ หรือจะเพาะชำกล้าในกระถางก่อน พอคะน้าโตขึ้นมา และมีต้นที่เริ่มแข็งแรงก็นำลงไปปลูกในพื้นที่ที่ได้เตรียมไว้ก็ได้

วิธีการปลูก

5. วิธีการดูแลคะน้า

คะน้านั้นจัดว่าเป็นผักที่มีความทนทานค่อนข้างสูง ทำให้ปัญหาสำคัญของคะน้านั้นไม่ใช่สภาพอากาศ แต่เป็นเรื่องของแมลงต่างๆ ที่จะเข้ามารบกวน ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรหมั่นสังเกตว่าคะน้าที่ปลูกไว้มีแมลงศัตรูพืชต่างๆ เข้ามารบกวนหรือไม่ ส่วนการรดน้ำ และใส่ปุ๋ยนั้น ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ให้ชุ่ม เนื่องจากคะน้าเป็นผักที่โตเร็ว การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ห้ามละเลย ส่วนปุ๋ยให้ใส่ได้ตามความเหมาะสม โดยเน้นที่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลัก

การเก็บเกี่ยวคะน้านั้น เมื่อถึงเวลาประมาณ 45 – 60 วันก็สามารถเก็บคะน้ามากินได้ โดยช่วงเวลาที่สามารถลูกคะน้าแล้วได้ผลผลิตดีที่สุดคือตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเมษายน เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เหมาะสม ไม่มีฝนตกมากจนเกินไป 

วิธีการดูแล

6. ข้อควรระวังเกี่ยวกับคะน้า

คะน้านั้นถึงแม้ว่าจะเป็นผักที่อุดมไปด้วยประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การทานคะน้ามากเกินไป หรือทานติดต่อกันนานเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ ถ้าเป็นคะน้าที่ไม่ได้ปลูกเองนั้นก่อนนำมาทานควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างผักที่สามารถล้างสารเคมีได้ดี เนื่องจากคะน้าจัดว่าเป็นผักอีกหนึ่งประเภทที่มีความเสี่ยงเรื่องยาฆ่าแมลงตกค้างค่อนข้างสูง

นอกจากนี้สาร Goitrogen ในคะน้ายังทำให้เกิดอาการท้องอืดเมื่อทานมากเกินไป รวมไปถึงทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติอีกด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกทานคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ทานติดต่อกันมากจนเกินไป

ข้อควรระวัง

7. เมนูยอดนิยมจากคะน้า

คะน้าจัดว่าเป็นผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายอย่าง และเป็นยังเป็นผักที่พบมากในเมนูอาหารจีน ซึ่งเมนูต่างๆ ที่นิยมใช้คะน้ามาเป็นส่วนประกอบได้แก่ ยำคะน้ากุ้งสด คะน้าผัดน้ำมันหอย คะน้าหมูกรอบ ผัดคะน้ากรอบ ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว ข้าวผัดคะน้าปลาเค็ม เป็นต้น 

เมนูยอดนิยม

จะเห็นได้ว่าวิธีปลูกคะน้าด้วยตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องยาก และยังช่วยให้สามารถมีคะน้าที่สะอาด และปลอดภัยไว้รับประทานเองภายในบ้านอย่างไม่ต้องกังวลกับสารตกค้างต่างๆ และประโยชน์ที่มีมากมายของคะน้านั้นยังช่วยบำรุงสุขภาพในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการเริ่มปลูกผักต่างๆ ไว้ทานเองภายในบ้านจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษา และควรทดลองทำดูในเวลาว่าง 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร